ส่วนสูงนั้นมีผลต่อการประสบความสำเร็จในการเล่นกีฬาหลายอย่าง เช่นนักกีฬาบาสเก็ตบอล NBA จะมีส่วนสูงที่มากกว่าคนปกติ นักกีฬาวอลเล่ย์บอลก็สูงกว่าคนทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันพวกนักกีฬาขี่ม้าก็มักจะตัวไม่สูงและมีน้ำหนักน้อย เพียงแค่ 3 ตัวอย่างนี้เราคงจะเห็นแล้วว่ากีฬาแต่ละอย่างต้องใช้นักกีฬาที่มีส่วนสูงต่างกันไป
แล้วส่วนสูงจะมีผลต่อความเร็วในการวิ่งหรือไม่? คนที่ตัวสูงจะวิ่งระยะทางไกลได้ดีกว่าเพราะมีขายาวกว่าจริงไหม? แล้วนักวิ่งที่ตัวเตี้ยกว่าจะสามารถวิ่งมาราธอนได้ดีกว่าหรือไม่?
ในบทความนี้เราจะมาคุยกันว่า ส่วนสูงส่งผลต่อความเร็วและสมรรถนะของนักวิ่งมาราธอน และนักกีฬาวิ่งเร็วหรือไม่ ไปอ่านกันเลย
คนตัวสูงวิ่งได้เร็วกว่าคนอื่น ๆ จริงไหม?
โค้ชคนหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่าเขาได้เคยทำงานร่วมกับนักกีฬาที่มีระดับความฟิต อายุ และส่วนสูงแตกต่างกันไป ซึ่งก็พบว่ามันมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิ่งจริงๆ นั่นแหละ
ยกตัวอย่างเช่น ผู้ชายจะวิ่งได้เร็วกว่าผู้หญิง เพราะมีกล้ามเนื้อลีนมากกว่า และมีสัดส่วนไขมันน้อยกว่าผู้หญิง และในขณะเดียวกันพวกคนอายุน้อยก็จะวิ่งได้เร็วกว่า การมีอายุเยอะมากขึ้นจะส่งผลทำให้สมรรถนะในการวิ่งลดลงไปเรื่อยๆ นั้นก็เพราะว่ามันทำให้เรามีมวลกล้ามเนื้อน้อยลง แถมคนที่มีอายุก็มักจะมีรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวออกกำลังกายอีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม โค้ชก็บอกว่ามีนักวิ่งอยู่หลายคนที่คิดว่า คนตัวสูงจะวิ่งเร็วกว่า เพราะว่ามีขาที่ยาวกว่า
คนตัวสูงกับคนตัวเตี้ย คนไหนวิ่งเร็วกว่ากัน?
มันก็จริงที่ระยะการก้าวขาขึ้นอยู่กับความยาวขา แต่อยากให้ดูตัวอย่างระหว่างนักวิ่ง 2 ท่านนี้ก่อน คนแรกคือนักวิ่งชื่อดัง ยูเซน โบลต์ ซึ่งเป็นแชมป์โอลิมปิกที่มีส่วนสูงถึง 195 เซนติเมตร แต่ในขณะเดียวกันนักวิ่งมาราธอนระดับแนวหน้าคนที่สองชื่อ เมบ เคฟลีซิกี ก็มีส่วนสูงเพียง 165 เซนติเมตรเท่านั้น และในขณะเดียวกันมันก็จะมีทั้งนักวิ่งโอลิมปิกที่เป็นทั้งคนสูงและคนเตี้ยเมื่อเทียบกับส่วนสูงมาตราฐาน
พวกนักวิ่งที่ตัวสูงกว่าก็จะมีขาที่ยาวกว่า ก็เลยทำให้สับขาได้ช้ากว่า แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้สูญเสียความเร็วในการวิ่งเพราะมีขาที่ยาว และในขณะเดียวกันพวกนักวิ่งที่ขาสั้นกว่าก็จะมีจำนวนการก้าวขาในการวิ่งมากขึ้นตามไปด้วย เพราะว่ามีขาที่สั้นนั่นเอง ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่าส่วนสูงจึงไม่ได้สร้างความเหลื่ยมล้ำระหว่างคนสูงกันคนเตี้ยเลยแม้แต่น้อย
ผลจากการวิจัยพบว่าระยะการก้าวและความถี่ในการก้าวขาล้วนแต่ส่งผลต่อการวิ่งทั้งสิ้น และมีการค้นพบด้วยว่ายิ่งมีระยะการก้าวขาที่ไกลจะยิ่งเพิ่มโอกาสในการได้รับบาดเจ็บให้มากขึ้น เพราะจะได้รับแรงกระแทกมากกว่า ในขณะที่การสับขาวิ่งให้เร็วขึ้นสัก 5-10% จะช่วยลดโอกาสในการได้รับบาดเจ็บได้ แถมยังช่วยลดการใช้พลังงานในการวิ่งอีกด้วย

ส่วนสูงส่งผลต่อความเร็วในการวิ่งหรือไม่
เราสามารถคำนวนความเร็วในการวิ่งได้จากการเอาจำนวนการก้าวขาไปคูณกับระยะทางการก้าวขา เพราะฉะนั้นนักวิ่ง 2 คนที่เป็นคนตัวสูงกับคนเตี้ยจะสามารถวิ่งไปถึงเส้นชัยได้โดยใช้เวลาใกล้เคียงกัน โดยที่คนตัวสูงจะมีการก้าวขาไกลกว่า แต่คนตัวเตี้ยจะสับขาได้มากกว่านั่นเอง
แทนที่การวิจัยจะพบว่าส่วนสูงมีผลต่อการวิ่ง แต่กลับพบว่ามันมีปัจจัยอื่นด้วย เช่น การออกแรงในการวิ่ง (ออกแรงดันเท้าขึ้นจากพื้น) , พลังในการวิ่ง ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเร็วในการวิ่งได้ดีกว่าส่วนสูง
ดังนั้นส่วนสูงกับความยาวขา จึงส่งผลต่อความได้เปรียบในการวิ่งน้อยมาก แต่ในขณะเดียวกัน “พลังในการวิ่ง” ต่างหากที่เป็นตัวช่วยเพิ่มความเร็ว และการฝึกออกกำลังกายแบบไพโรเมตริก เช่น ท่า Box Jump , Bounding และท่า Burpee จะช่วยทำให้เราวิ่งเร็วขึ้นได้
นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นที่จะช่วยเพิ่มพลังในการวิ่งได้ อย่างเช่น การฝึก Interval ในระดับความเข้มข้นสูง เช่น ฝึกวิ่งขึ้นเนิน หรือฝึก Strength Training เพื่อเสิรมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่าการฝึกวิ่งในบางรูปแบบจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับใยกล้ามเนื้อได้ เช่น การฝึกวิ่งระยะไกลโดยใช้เพซช้าๆแบบ Easy จะช่วยเพิ่มปริมาณของกล้ามเนื้อกระตุกช้าได้ ส่วนการฝึก Strength นั้นจะช่วยเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อกระตุกเร็ว
ยิ่งเรามีกล้ามเนื้อกระตุกเร็วมากเท่าไหร่ จะยิ่งมีพลังในการวิ่งมากเท่านั้น แต่ปัญหาคือกล้ามเนื้อกระตุกเร็วมันจะเหนื่อยล้าได้ง่าย ต่างจากกล้ามเนื้อกระตุกช้าที่มีประสิทธิภาพมากกว่านั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีวิธีฝึกเพื่อเพิ่มอัตราการสับขาอีกด้วย เช่น ฝึกกระโดดเชือก , ฝึกวิ่งลงจากเนิน , ฝึกท่าดริลต่างๆ เป็นต้น
การจัดท่วงท่าในการวิ่งให้ถูกต้องก็ส่งผลต่อความเร็วเช่นกัน เราควรวิ่งตัวตรงและในตอนวิ่งขึ้นเนินก็ควรเอนตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย การแกว่งแขนอันทรงพลังจะช่วยสร้างแรงผลักขาไปด้านหน้า ยิ่งสับแขนเร็วก็ยิ่งสับขาได้เร็วขึ้น
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัย เช่น ระดับความยืดหยุ่นของร่างกาย โดยเฉพาะกับกล้ามเนื้อข้างในสะโพกจะส่งผลต่อระยะทางการก้าวขาด้วย คนที่มีกล้ามเนื้อสะโพกแน่นจึงมักจะวิ่งก้าวขาได้สั้นกว่าที่ควรเป็น และอาการกล้ามเนื้อแน่นที่กล้ามเนื้อหลังส่วนล่างก็จะส่งผลต่อระยะการก้าวขาเช่นกัน นักวิ่งจึงควรฝึกเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อหรือคลายกล้ามเนื้อด้วย เช่น การใช้โฟมโรลเลอร์ การเล่นโยคะ หาทางเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ทั้งกล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อน่อง ข้อเท้า ก้นรวมไปถึงกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง
แหล่งที่มา : https://bit.ly/4bnhNKj
เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน
🏃 ♂ bit.ly/VRUNGROUP
.
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming