วันอังคาร, มีนาคม 28, 2023
  • Login
  • หน้าแรก
  • บทความ
    • วิ่งมาราธอน
    • ปั่นจักรยาน
    • ไตรกีฬา
    • สุขภาพ
  • Review
  • News
  • Training
  • Stories
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี
  • หน้าแรก
  • บทความ
    • วิ่งมาราธอน
    • ปั่นจักรยาน
    • ไตรกีฬา
    • สุขภาพ
  • Review
  • News
  • Training
  • Stories
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี
No Result
View All Result
Home Fitness & Health

น้ำตาลทำให้เราเสพติดได้หรือไม่

Thip by Thip
28/01/2023
in Fitness & Health
0
น้ำตาลทำให้เราเสพติดได้หรือไม่
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

เคยสงสัยไหมว่า “อาการเสพติดน้ำตาล” มีอยู่จริงหรือไม่ ทำไมอยู่ๆเราจึงนึกอยากทานของหวานขึ้นมาเฉยๆ และเป็นบ่อยจนแทบจะเหมือนอาการเสพติด บทความนี้จะชวนทุกคนมาไขข้อสงสัย โดยอ้างอิงจากผลงานวิจัยที่เชื่อถือได้ อาการเสพติดน้ำตาลมีจริงไหม น้ำตาลทำให้เราเสพติดได้หรือไม่ และวิธีจัดการกับความอยากน้ำตาล ต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกัน

อาการเสพติดน้ำตาลมีจริงไหม

ไม่ว่าน้ำตาลจะถูกผลิตหรือมีที่มาอย่างไร แต่น้ำตาลก็คือน้ำตาลอยู่วันยังค่ำ และการตอบสนองของร่างกายที่มีต่อน้ำตาลนั้นก็เหมือนเดิมเสมอ ไม่ว่าคุกกี้จะใส่น้ำตาลแบบไหน มันก็คือน้ำตาล แต่ถ้าพูดถึงอาหารอย่างพวกผลไม้กับนมที่มีน้ำตาลธรรมชาติเหมือนกัน แล้วทำไมเราจึงไม่เสพติดอาหารประเภทนี้ล่ะ มาหาคำตอบกัน

น้ำตาลทำให้เราเสพติดได้หรือไม่

น้ำตาล แบ่งออกเป็น 6 ประเภท

อันที่จริงน้ำตาลนั้นมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันมากกว่า 60 ชื่อเลยล่ะ แต่เมื่อพูดถึงเรื่องวิทยาศาสตร์ เราจะพูดถึงน้ำตาล 2 ประเภท คือ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว และน้ำตาลโมเลกุลคู่ โดยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก็เป็นน้ำตาลเดี่ยวๆนี่ล่ะ แต่ถ้าเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่มันก็จะประกอบไปด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 ชนิดมารวมกัน

น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (โมโนแซ็กคาไรด์)

  1. กลูโคส
  2. ฟรักโทส (น้ำตาลจากผลไม้)
  3. กาแล็กโทส

น้ำตาลโมเลกุลคู่ (ไดแซ็กคาไรด์)

  1. แลคโตส (น้ำตาลจากนม)
  2. ซูโครส (น้ำตาลทราย)
  3. มอลโทส (จากธัญพืช)

น้ำตาลที่พบในลูกอมและอาหารเติมความหวาน (กลูโคส) มักจะไม่มีสารอาหารอื่นๆอยู่เลย มันจึงถูกย่อยอย่างรวดเร็ว และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงได้ในทันที ในขณะที่ผลไม้นั้นมีไฟเบอร์อยู่ด้วย ทำให้กระบวนการย่อยน้ำตาลฟรักโทสมันช้าลง ส่วนนมก็มีโปรตีนและไขมันอยู่ด้วย จึงทำให้กระบวนการย่อยแลคโตสช้าลง สรุปว่าน้ำตาลทำให้เราเสพติด หรืออาหารทำให้เราเสพติดกันแน่? ไปดูหัวข้อต่อไปเลย

น้ำตาลส่งสัญญาณไปกระตุ้นความสุขให้กับสมอง

มีบางงานวิจัยที่พบว่าอาหารที่อร่อยจะทำให้มีอาการเสพติด และจะส่งสัญญาณกระตุ้นเส้นทางในสมองที่เกี่ยวข้องกับการโหยหาความสุข แต่ในทางกลับกันการควบคุมน้ำตาลอย่างเคร่งครัด หรือการจำกัดการได้รับน้ำตาล “จะเพิ่มการตอบสนองต่อความสุขมากขึ้น” แม้ว่าจะเป็นตอนที่ไม่ได้หิวก็ตาม ซึ่งนี่อาจเป็นผลที่ได้จากการจำกัดอาหาร เมื่อมีการตัดอาหารบางอย่างออกไป จึงทำให้มีความรู้สึกอยากกินมากกว่าเดิม

การอดและการได้รับน้ำตาล อาจส่งผลต่อการตอบสนอง

มีอีกหนึ่งงานวิจัยกับหนูเพื่อชี้วัดความต้องการใช้และการเสพติดน้ำตาล พบว่าเฉพาะหนูที่ขาดน้ำตาล 12 ชั่วโมงที่จะรู้สึกดื่มด่ำกับน้ำตาลในช่วงกรอบเวลาที่ได้รับอาหาร แต่พวกหนูที่มีโอกาสได้รับน้ำตาลตลอด 24 ชั่วโมงจะควบคุมการกินของพวกมันได้ แต่อย่างไรก็ตามพบว่าหนูทั้งสองกลุ่มพยายามลดการบริโภคลงเพื่อชดเชยการได้รับแคลอรี่มากเกินไป น้ำหนักตัวของพวกมันจึงเหมือนเดิม

พวกหนูกลุ่มแรกที่รู้สึกดื่มด่ำกับน้ำตาลนั้นเป็นกลุ่มที่ถูกจำกัดน้ำตาลแต่แรก จึงพอจะชี้ให้เห็นว่า การไดเอทแบบจำกัดจะนำไปสู่การทานอาหารมากเกินไปและรูปแบบการกินที่ไม่เป็นระเบียบ

การได้รับรางวัล รสชาติ และความอิ่ม น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนในการบริโภคน้ำตาล

แทนที่จะเชื่อว่าอาหารหวานจะเป็นอาหารที่ทำให้เสพติด แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า “มูลค่าของรางวัลและศักยภาพในการสร้างความรู้สึกพึงพอใจ” นั่นล่ะที่มันเป็นตัวขับเคลื่อนให้ผู้คนกลับมาทานอาหารหวานอีกเรื่อยๆ นี่หมายความว่าการทานประเภทนี้มากเกินไปเกิดจากรสชาติอร่อย โดยที่ไม่ได้มีส่วนผสมของอาหารที่ทำให้รู้สึกอิ่ม อย่างพวกโปรตีนและไฟเบอร์ (ก็เลยกินได้เรื่อยๆ)

มีอีกการวิจัยเกี่ยวกับสมองที่พบความเหมือนที่เกิดการทำงาน เมื่อพวกอาสาสมัครที่เข้าร่วมการทดลองได้เห็นอาหารที่มี น้ำตาลสูง , มีคาร์บสูง , ไขมันสูง สมองจะมีการทำงานเหมือนกับคนที่ใช้สารเสพติด

การวิจัยที่แตกต่างกันไป เรื่องน้ำตาลทำให้เสพติดหรือไม่?

มีบางหลักฐานที่ชี้ว่าน้ำตาลไม่ได้สร้างการตอบสนองด้านการเสพติดเหมือนเหล้าและยาเสพติด แต่ในทางตรงกันข้ามก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ที่ให้การสนับสนุนผลการวิจัยที่ชี้ว่าน้ำตาลทำให้เกิดอาการเสพติดอาหารได้

อะไรทำให้เรารู้สึกอยากน้ำตาล?

อาการอยากน้ำตาลนั้นเกิดขึ้นเวลาไหนก็ได้ และเกิดได้ด้วยหลายสาเหตุทั้งทางร่างกายและจิตใจ บางทีความอยากน้ำตาลอาจเป็นแค่การที่ร่างกายตอบสนองต่อความหิว แต่อย่างไรก็ตาม มันก็มีหลายสาเหตุที่ทำให้เราอยากทานอะไรหวานๆ และที่ต้องระวังคือในบางกรณีความอยากน้ำตาลอาจหมายถึงปัญหาทางสุขภาพบางอย่างได้ด้วย

สมองตอบสนองต่อน้ำตาล

น้ำตาลเป็นพลังงานหลักของสมอง น้ำตาลทุกประเภทจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานที่คอยซัพพอร์ตการทำกิจกรรมตลอดทั้งวัน เมื่อเราทานอาหารที่มีน้ำตาลจะเกิดการหลั่งอินซูลิน และจะมีการส่งสัญญาณเพื่อให้เซลล์เม็ดเลือดเริ่มทำการดูดซึมน้ำตาล เพื่อลำเลียงไปทั่วทั่งร่างกาย

นอกจากนี้อาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตสูง ยังเป็นแหล่งพลังงานชั้นดี เมื่อเพื่อนๆทานของหวาน ระบบให้รางวัลในสมองจะทำให้มีการหลั่งโดพามีน (เราสามารถติดมันได้)  ซึ่งมันเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกดี และคอยทำให้คนเรามีแรงบันดาลใจ มีความรู้สึกได้รับรางวัล และมีแรงผลักดันทางจิตใจ

แม้แต่การจินตนาการว่าได้ทานอะไรหวานๆ ก็ยังทำให้เกิดการหลั่งโดพามีนได้ ซึ่งระบบได้รับรางวัลในสมองจะทำให้เรารู้สึกอยากได้รับรางวัลไปอีกเรื่อยๆ จนเหมือนติดยาเลย และนี่คือเหตุผลที่ทำให้หลายคนเชื่อว่าน้ำตาลทำให้เกิดอาการเสพติดได้

อย่างไรก็ตามคาร์บและน้ำตาลก็มีความสำคัญต่อมื้ออาหาร แต่ยังไงก็ควรเลือกทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (มีในผักผลไม้และธัญพืช) และน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (ในน้ำผลไม้และลูกอม)

เพื่อนๆอาจคิดว่าเป็นไอเดียที่ดี หากเราจะตัดน้ำตาลออกจากมื้ออาหารไปให้หมดเลย แต่บางทีเราอาจแค่ต้องลดจำนวนการทานน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวลง และไปทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและมีไฟเบอร์สูงให้มากขึ้น

ถ้าหากไม่มีน้ำตาลและคาร์บในอาหารเลย เมื่อเราทานคีโตก็จะทำให้เกิดภาวะสมองล้าและรู้สึกเฉื่อยชาอย่างมาก เนื่องจากการที่เรางดน้ำตาลจะทำให้สมองต้องใช้คีโตนเป็นพลังงานแทน ซึ่งจะต้องใช้เวลากว่าจะปรับตัวได้

เบาหวาน

หากเพื่อนๆเป็นเบาหวาน ก็สามารถมีอาการอยากน้ำตาลได้เหมือนกัน หากสงสัยว่าตัวเองเป็นเบาหวานหรือไม่ ก็ให้ไปตรวจได้ที่โรงพยาบาล

อาการซึมเศร้าและอาการผิดปกติทางอารมณ์อื่นๆ

อาการอยากน้ำตาลตอนที่อารมณ์กำลังย่ำแย่นั้นมีอยู่จริง แล้วก็ยังมีหลักฐานที่ชี้ว่าอาหารส่งผลต่ออารมณ์ของเราด้วย การที่เราทานน้ำตาลและคาร์บมากขึ้น ทานผักผลไม้น้อยลง อาจทำให้สภาวะอารมณ์แย่ลงได้ นักวิจัยยังพบด้วยว่าการทานของหวานส่งผลต่ออารมณ์ เพียงแต่ว่ายังหาข้อสรุปไม่ได้ในตอนนี้ ว่าสาเหตุที่เราทานน้ำตาลมากขึ้นมาจากอารมณ์ไหนกันแน่

แต่สิ่งที่เรารู้แล้วนั่นก็คือ การทานน้ำตาลส่งผลต่อระบบการให้รางวัลในสมองแน่นอน

อีกหนึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้

บางครั้งการจัดอาหารโดยตัดน้ำตาลออกมากเกินไปจนไม่สมดุล ก็ทำให้เรามีความรูสึกคิดถึงของหวานที่เคยทานได้ เคยมีการวิจัยในกลุ่มผู้หญิงที่กำลังลดน้ำหนัก คนที่กำลังไดเอทอยู่จะมีระดับความยากน้ำตาลที่ต้านทานได้ยากกว่าคนที่ไม่ได้กำลังอยู่ในช่วงไดเอท และมีโอกาสสูงที่จะรู้สึกอยากทานอาหารที่ตัวเองกำลังงดมากขึ้นด้วย

น้ำตาลทำให้เราเสพติดได้หรือไม่

วิธีจัดการกับความอยากน้ำตาล

โดยเฉลี่ยแล้วคนที่อยู่ในวัยกลางคนจะทานน้ำตาลวันละ 17 ช้อนชา ซึ่งมันมากเกินกว่าที่กระทรวงเกษตรสหรัฐกำหนดมาว่า ควรได้รับวันละ 10 ช้อนชาเท่านั้น และจากนี้ไปคือเคล็ดลับในการลดน้ำตาล

  1. อ่านฉลากก่อนซื้อ อย่าลืมว่าน้ำตาลนั้นมีชื่อเรียกหลายแบบเลย
  2. อย่าดื่มน้ำอัดลมและน้ำผลไม้ ดื่มน้ำเปล่าแทน
  3. ทานอาหารมีน้ำตาลในปริมาณที่น้อยลง
  4. หลีกเลี่ยงการให้รางวัลตัวเองด้วยการทานของหวาน
  5. ปรึกษานักโภชนาการเพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม

เมื่อไหร่จึงควรไปหาหมอ

มีวิธีสังเกตอาการตัวเองตามนี้ หากมีอาการตามนี้ควรรีบไปหาหมอได้เลย

  1. มีความหิวหรือกระหายน้ำในระดับรุนแรง
  2. มีอาการขาดน้ำอย่างรุนแรง
  3. ปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะออกมาโดยไม่ตั้งใจ
  4. เหนื่อยล้า
  5. น้ำหนักลดแบบไม่มีสาเหตุ

บทสรุปส่งท้าย

ไม่ว่าน้ำตาลจะทำให้เสพติดได้จริงหรือไม่ ยังคงไม่ชัดเจนในตอนนี้ แต่ข้อเท็จจริงคือหลายคนมีอาการเสพติดของหวาน หากเพื่อนๆมีอาการเหมือนกันก็ควรหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไรและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นโดยตรง

แหล่งที่มา : https://bit.ly/3vYvoV1


เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน
🏃 ‍♂ bit.ly/VRUNGROUP
.
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Tags: HealthNutritionสุขภาพโภชนาการ
Previous Post

เราควรออกกำลังกายฝึกกลุ่มกล้ามเนื้อกี่ครั้งต่อเซ็ต

Next Post

วิธีทำเวลาวิ่งระยะทาง 10K ให้ได้ภายในเวลา 55 นาที

Thip

Thip

Related Posts

พฤติกรรมการทานอาหาร ที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่าช่วยลดน้ำหนักได้จริง

5 พฤติกรรมการทานอาหาร ที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่าช่วยลดน้ำหนักได้จริง

15/03/2023
ซุปเปอร์ฟู้ด (Superfoods) ที่จะช่วยชะลอวัย

6 ซุปเปอร์ฟู้ด (Superfoods) ที่จะช่วยชะลอวัยสำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป

11/03/2023
เคล็ดลับง่ายๆ เพื่อลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น

6 เคล็ดลับง่ายๆ เพื่อลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น

01/03/2023
เอ็นโดรฟินคืออะไร และ 5 วิธีในการเพิ่มเอ็นโดรฟิน

เอ็นโดรฟินคืออะไร และ 5 วิธีในการเพิ่มเอ็นโดรฟิน

27/02/2023
สาเหตุที่ทำให้เกิดไขมันหน้าท้อง

6 สาเหตุที่ทำให้เกิดไขมันหน้าท้อง

24/02/2023
อัลมอนด์ดีต่อการลดน้ำหนักหรือไม่

อัลมอนด์ดีต่อการลดน้ำหนักหรือไม่?

20/02/2023
Next Post
วิธีทำเวลาวิ่งระยะทาง 10K ให้ได้ภายในเวลา 55 นาที

วิธีทำเวลาวิ่งระยะทาง 10K ให้ได้ภายในเวลา 55 นาที

ติดตาม และร่วมสนุกไปกับเรา

  • 12.4k Subscribers
  • 1.4k Followers

เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน

บทความน่าสนใจ

เคล็ดลับท่าฝึกกล้ามเนื้อแกนกลาง 10 นาทีของ Nick Hauger นักวิ่งระดับ Elite จากค่าย Hoka One One

เคล็ดลับท่าฝึกกล้ามเนื้อแกนกลาง 10 นาทีของ Nick Hauger นักวิ่งระดับ Elite จากค่าย Hoka One One

by Thip
01/08/2020

วิธีประคบร้อน ประคบเย็น (Hot and Cold Therapy) เพื่อลดอาการบาดเจ็บ

วิธีประคบร้อน ประคบเย็น (Hot and Cold Therapy) เพื่อลดอาการบาดเจ็บ

by Thip
28/07/2019

Nike Air Zoom Pegasus 37 VT

Nike Air Zoom Pegasus 37 VT รุ่นพิเศษ เฉดสีรับวันวาเลนไทน์

by Thip
10/02/2021

แผนการฝึกวิ่ง 5k ขั้นสูง ใช้เวลา 10 สัปดาห์

แผนการฝึกวิ่ง 5k ขั้นสูง ใช้เวลา 10 สัปดาห์

by Thip
28/05/2019

เคล็ดลับในการทานอาหารของเหล่านักกีฬาระดับโลก

เคล็ดลับในการทานอาหารของเหล่านักกีฬาระดับโลก

by Thip
30/08/2021

สมัครบัตรเครดิต KTC REV รับส่วนลดสูงสุด 25% แบรนด์ Nike, HOKA, Saucony, REV RUNNR

KTC REV CREDIT CARD
วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี

วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี รวบรวมทุกรายการ วิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา ครอบคลุมทุกรายการแข่งขันไว้ที่นี่ พร้อมข่าวสารวงการวิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา รองเท้าวิ่ง จักรยานเสือหมอบ รถไตรกีฬา ให้เรื่องกีฬาใกล้ตัวคุณ ต้องการประชาสัมพันธ์กิจกรรม การแข่งขันวิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของท่าน

ติดต่อเรา: vrunvride@gmail.com

แท็กยอดนิยม

5K adidas ASICS cycling Exercises Fun Run Health Marathon Nike Nutrition Other Running Road Cycling run runner running Running Guide Running Plan Running Program running shoes Running Training Plan Smart watch SmartWatch workout การวิ่ง งานวิ่ง งานแข่งวิ่ง จักรยาน ตารางซ้อมวิ่ง ท่าออกกำลังกาย นักปั่น นักวิ่ง ปั่นจักรยาน มาราธอน รองเท้าวิ่ง ลดน้ำหนัก วิ่ง วิ่งมาราธอน สุขภาพ ออกกำลังกาย อาดิดาส แผนซ้อมวิ่ง โปรแกรมซ้อมวิ่ง โภชนาการ ไตรกีฬา ไนกี้

ประเภทยอดนิยม

  • Cycling (171)
  • Fitness & Health (346)
  • News (739)
  • Review (126)
  • Running (830)
  • Stories (201)
  • Training (336)
  • Triathlon (109)
No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • บทความ
    • วิ่งมาราธอน
    • ปั่นจักรยาน
    • ไตรกีฬา
    • สุขภาพ
  • Review
  • News
  • Training
  • Stories
  • ติดต่อเรา

© WHERE TO RUN WHEN TO RIDE : วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
Loading...