รู้หรือไม่ งานวิจัยพบว่าการวิ่งช่วยกระตุ้นสมองให้ดีขึ้นได้ 8 ด้าน
การวิ่ง จะทำให้เกิดการกระตุ้นสมองตั้งแต่การหลั่งเอนโดฟินออกมาเป็นจำนวนมาก เพื่อกระตุ้นความครีเอทีฟและสมาธิของเรา ไปจนถึงการช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อม และในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าทำไมการวิ่งถึงสำคัญกับสมองของเรา
1. ช่วยให้เราฉลาดมากขึ้น
คุณกำลังมีนัดประชุมครั้งสำคัญที่ต้องใช้ความคิดหรือต้องตัดสินใจใช่หรือไม่? ถ้างั้นรีบหยิบรองเท้าออกไปวิ่งเลยดีกว่า เพราะมีนักวิจัยของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ค้นพบว่า การวิ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการคิดแบบใช้เหตุผล ในขณะที่มหาวิทยาลัยกีฬาแห่งชาติไต้หวันได้ระบุว่า ควรมีการออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที ถือว่าเป็นช่วงเวลาและระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ทันทีหลังจบการออกกำลังกาย
แต่เราอาจจะไม่ต้องรอให้เกิดผลลัพธ์หลังจบการวิ่งเสมอไป เพราะล่าสุดมีการวิจัยจากมหาวิทยาลัยอเบอร์ดีนพบว่า ในขณะที่เรากำลังวิ่งมันจะทำให้เกิดการกระตุ้น “วิธีคิดแบบครีเอทีฟ” อ้างอิงข้อมูลจากนักวิจัยมันมีกลไกดังนี้คือ การคิดแบบครีเอทีฟมันจะเกิดขึ้น “เมื่อสมองของเราทำการเชื่อมโยงการเคลื่อนไหวของเราเข้ากับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต”
การวิจัยยังพบอีกว่าเพื่อที่จะให้เห็นผลลัพธ์สูงสุด เราควรจะวิ่งไปในเส้นทางที่เรารู้จักเป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้มีความกังวลเรื่องเส้นทางเข้ามารบกวน นอกจากนี้ยังควรใช้ระดับความเข้มข้นแบบ Easy เพราะการต้องคอยรักษาความเร็วและการคอยจับเวลาจะเป็นตัวกีดกันไม่ให้เกิดความครีเอทีฟขึ้น
2. เกิดอาการ Runner’s High
หากว่าการช่วยเพิ่มความฉลาดยังไม่พอที่จะทำให้เพื่อนๆยิ้มมีความสุขได้ล่ะก็ บางทีอาการ Runner’s High อาจช่วยเราได้ เพราะนักวิจัยชาวเยอรมนีพบว่าบางบริเวณของสมองจะสร้างสารเสพติดทางธรรมชาติขึ้นมาในขณะที่เรากำลังวิ่ง (สมองส่วนนี้จะทำงานในตอนที่เรามีความรัก) การวิจัยอื่นพบว่ามีวิธีการที่จะทำให้เราหลั่งเอนโดรฟินออกมาอย่างมากคือ การออกกำลังกายแบบ Hard ในระดับที่ยังสบายๆ (เช่น วิ่งเทมโป) ในขณะที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดพบว่า การออกกำลังกายเป็นกลุ่มหลายคนจะช่วยให้เกิดการหลั่งเอนโดรฟินมากขึ้น
และยังมีสารแห่งความสุขชนิดอื่นที่ถูกหลั่งออกมาอีกคือ สารสื่อประสาทกลุ่ม Endocannabinoids ซึ่งช่วยสร้างความรู้สึกสงบ การออกกำลังกายในระดับความเข้มข้น 70-85% จะทำให้มีการหลั่งสารนี้ออกมา
3. ช่วยให้มีความสุขตลอดเวลา
ต่างจากสารเคมีต่างๆที่เป็นทางลัดในการสร้างความสุข การวิจัยพบว่าการวิ่งเป็นประจำจะช่วยลดระดับความเครียดและช่วยยกระดับอารมณ์ในระยะยาว การวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Medicine & Science in Sports & Exercise ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับระดับสารทริพโตเฟน (tryptophan) ที่เพิ่มขึ้นในร่างกายของนักวิ่ง การเพิ่มขึ้นของทริพโตเฟนจะทำให้มีการเพิ่มขึ้นของเซโรโทนินที่จะช่วยยกระดับอารมณ์ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of Sports Medicine and Physical Fitness พบว่าการออกกำลังกายจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถลดอาการซึมเศร้า , ลดความวิตกกังวลและระดับความเครียดได้
ยังมีอีกงานวิจัยที่พบว่าการวิ่งจะออกฤทธ์เป็นเหมือนกับ ยาต้านอาการซึมเศร้า (หรือมากกว่านั้น) โดยจะทำหน้าที่แบบเดียวกับยาที่ช่วยทำให้เซโรโทนินและนอร์อิพิเนฟรินอยู่ในระบบร่างกายนานขึ้น
นักประสาทวิทยาชื่อว่า “Ben Martynoga” ได้กล่าวถึงการวิจัยที่มีการสแกนภาพสมอง ซึ่งคนที่เป็นผู้ควบคุมการวิจัยนี้คือ David Raichlen จากมหาวิทยาลัยแอริโซนา พบว่าการทำสมาธิและการวิ่งจะส่งผลลัพธ์แบบเดียวกันกับสมอง ถ้าหากเราเป็นนักวิ่งมันก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าการวิ่งส่งผลต่อสมอง และพวกนักประสาทวิทยาก็กำลังพยายามค้นหาคำตอบกันอยู่
ในขณะที่เราวิ่งสติของเราจะจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน จะมีการโฟกัสไปที่สภาวะร่างกายและลมหายใจ ซึ่งไม่ต่างจากการทำสมาธิเลย
4. ช่วยเอาชนะความอยากอาหาร
ระดับสารเคมีในสมองที่เกิดจากการวิ่ง จะช่วยในการ “หักห้ามใจตัวเอง” มหาวิทยาลัย University of Western Australia ได้ค้นพบว่า การฝึกที่มีความเข้มข้นแบบ Interval training มีประสิทธิภาพในการลดความอยากอาหารได้มากที่สุด โดยนักวิจัยคาดว่าการวิ่งจะช่วยลดระดับฮอร์โมนเกรลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความหิว
อีกหนึ่งงานวิจัยพบว่า การออกกำลังกายในอากาศร้อนมีประสิทธิภาพในการลดระดับความหิวมากกว่าในสภาพอากาศอื่นๆ ดังนั้นถ้าหากการควบคุมแคลอรี่คือสิ่งสำคัญที่สุดของเราในตอนนี้ ก็ควรจะวิ่งบน Treadmill ในช่วงฤดูหนาว (จะได้ไม่ต้องไปเจออากาศเย็นข้างนอก)
ยังไม่หมดแค่นี้ ยังมีการวิจัยกับคนติดบุหรี่ด้วย พบว่าการวิ่งจะทำให้สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “อาการเสพติด” ทำงานลดลงหลังจากที่ออกกำลังกายเสร็จแล้ว
5. ช่วยเพิ่มความจำ
การวิ่งส่งผลดีต่อสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการสร้างความทรงจำระยะยาว มีอยู่หนึ่งงานวิจัยของนักวิจัยชาวญี่ปุ่นซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร International Journal of Sports Medicine พบว่า การออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นปานกลางเป็นประจำ จะช่วยให้สมองส่วนฮิปโปแคมปัสของหนูทดลองทำงานได้ดีขึ้น
และที่น่าสนใจคือ หนูที่ออกกำลังกายหนักเกินไป (วิ่งเร็วว่าเพซ Lactate threshold) ไม่ได้มีความจำเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับหนูที่นักวิจัยควบคุมระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกาย นักวิจัยคิดว่าความตึงเครียดจากการออกกำลังกายหนักนี่แหละ ที่เป็นตัวทำให้ร่างกายของหนูเสียเวลาไปกับการพยายามฟื้นฟูร่างกาย แทนที่จะไปเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสมอง และพวกเขาคิดว่าร่างกายคนก็เป็นแบบนั้นเหมือนกัน
6. เพิ่มพลังสมอง
การวิ่งไม่เพียงแค่เป็นเหมือนการหยอดน้ำมันให้สมองเท่านั้น แต่มันยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์สมองขึ้นใหม่อีกด้วย การออกกำลังกายจะช่วยเร่งการสร้างเซลล์ประสาท (neurogenesis) และเซลล์หลอดเหลือด (angiogenesis) , ควบคู่ไปกับการเพื่อปริมาณเนื้อเยื่อสมอง อ้างอิงข้อมูลจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่านี่เป็นเรื่องที่สำคัญมาก , เพราะการวิจัยค้นพบว่าพวกเราจะเริ่มมีการสูญเสียเนื้อเยื่อสมองตั้งแต่ตอนอายุ 20 ปลายๆ
และยิ่งกว่านั้นมีการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences พบว่าการออกกำลังกายจะช่วยให้สมองส่วนฮิปโปแคมปัสมีขนาดใหญ่ขึ้น 2% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ออกกำลังกาย ซึ่งฮิปโปแคมปัสเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการสร้างความทรงจำระยะยาว นี่ถือว่าเป็นข่าวใหญ่เพราะที่ผ่านมาเป็นที่เข้าใจกันว่าสมองส่วนสีเทาจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้อีกหลังจากที่เราผ่านช่วงชีวิตในวัยเด็กไปแล้ว
7. ช่วยในการรักษาสภาพสมอง
การรักษาความฟิตเมื่อมีอายุมากขึ้นนั้นมีความจำเป็นต่อการรักษาสภาพสมอง ผลการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร rontiers in Aging Neuroscience พบว่ายิ่งระบบหลอดเลือดและหัวใจของผู้สูงอายุมีความฟิตมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งส่งผลต่อการทำงานที่ดีของสมองทุกส่วนมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความรู้ความเข้าใจขั้นสูง
และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสได้มีการค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างความฟิตของร่างกายกับการทำหน้าที่ด้านความคิดความเข้าใจ (Cognitive function) ในกลุ่มคนวัยกลางคน ซึ่งเชื่อว่าระดับความฟิตจะส่งผลต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงสมองนั่นเอง
แต่อย่ารอช้าที่จะเริ่มการออกกำลังกาย เพราะมีการวิเคราะห์ข้อมูลจากชายหญิง 1,000 คน นักวิจัยจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยบอสตันได้ค้นพบว่า ใครก็ตามที่มีระดับความฟิตของร่างกายน้อยในตอนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีเนื้อเยื่อสมองลดลงภายใน 20 ปีต่อไป , ดังนั้นควรเริ่มออกกำลังกายนับแต่บัดนี้เพื่อสภาพสมองที่ดีในช่วงบั้นปลาย
8. ประโยชน์ในระยะยาว
การวิจัยเกี่ยวกับการเติบโตของร่างกายได้แสดงให้เห็นว่าผลตอบแทนในระยะยาวจากการลงทุนด้วยการวิ่ง อาจจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อม มีอยู่หนึ่งงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Medicine and Science in Sports and Exercise พบว่าการวิ่งบน Treadmill เป็นประจำไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ตอนอายุยังน้อยหรืออายุมากแล้วก็ตาม จะช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง และปรับปรุงการทำงานสมองของพวกหนูทดลองที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์
ในปี ค.ศ.2015 ได้มีการแสดงผลการวิจัยในการประชุมนานาชาติของสมาคมอัลไซเมอร์ ซึ่งพบว่าการออกกำลังกายอาจเป็นวิธีรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่มีประสิทธิภาพ แถมยังช่วยลดอาการทางจิตของโรคอัลไซเมอร์อีกด้วย มีการวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร The Lancet พบว่าการไม่ออกกำลังกาย เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นอัลไซเมอร์ที่อันตรายที่สุดในประเทศอังกฤษ , ยุโรปและสหรัฐอเมริกา
งานวิจัยส่วนใหญ่จะโฟกัสไปที่สมองส่วนฮิปโปแคมปัส แต่การวิ่งไม่ได้แค่ช่วยในเรื่องของความจำเท่านั้น แต่ยังช่วยในการเข้าถึงความทรงจำอีกด้วย มีการสแกนสมองของคนที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้นพบว่า คนที่มีการออกกำลังกายจะมีการทำงานของสมองส่วน Caudate nucleus ซึ่งเป็นสมองที่เกี่ยวข้องกับวงจรของความทรงจำ การวิ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพในการส่งสัญญาณในวงจรของความทรงจำ และนี่ก็คือหนึ่งในเหตุผลที่ว่าทำไมการวิ่งจึงเป็นตัวเลือกที่ฉลาดที่สุดในการออกกำลังกาย
ที่มา : https://bit.ly/2IVHO8b
เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน
🏃 ♂ bit.ly/VRUNGROUP
.
[AD]
แจกจริง แจกหนัก GARMIN, SUUNTO, FITBIT 122 วัน 122 เรือน
เพียงใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต KTC คลิก bit.ly/ฺBNC122
.
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling#Triathlon#Swimming