เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกีฬาฮิตในปี 2018 สำหรับกีฬาปั่นจักรยานที่มีอัตราขยายตัวสูงทั้งตัวเลขยอดขายอุปกรณ์กีฬา และจำนวนผู้ลงทะเบียนแข่งกันกีฬาประเภทนี้ รวมถึงไตรกีฬา ที่ไม่ว่าจัดการแข่งขันที่ใดในโลก ก็จะท่วมท้นด้วยตัวเลขผู้สนใจลงแข่งมากมาย รวมถึงกองเชียร์อีกโขยงใหญ่ ซึ่งนอกจากความเฮฮาสนุกสนานหน้างานแล้ว ยังมีภาพหลังงาน คือเรื่องของอาการบาดเจ็บของร่างกายที่เกิดตามมาหลังการปั่นจักรยานได้ เรามาดูกันว่า อาการบาดเจ็บที่เสี่ยงต่อกีฬาปั่นจักรยานมีอะไรบ้าง
1. อาการปวดบริเวณหลังช่วงล่าง หรือ lowerback เป็นอาการที่มักเกิดกับกลุ่ม “เสือหมอบ” ซึ่งจะมีท่าทางเฉพาะที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณแกนกลางหลังและกระดูกสันหลังรับภาระหนัก ซึ่งจะทวีความเจ็บปวดมากขึ้น หากต้องปั่นจักรยานไต่ขึ้นเขาที่มีความชันสูง หรือมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อไม่เพียงพอก่อนการแข่งขัน
2. อาการ ITB หรือ iliotibial band syndrome เป็นอาการอักเสบข้อเข่าด้านนอก ที่เกิดจากการต้องย่อขาและเหยียดขาอย่างต่อเนื่องเพื่อปั่นจักรยาน เป็นอาการที่พบบ่อยเมื่อ route ปั่นจักรยานเป็นทางชันต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ต้องออกแรงมากขึ้นเป็นเท่าตัว อาการนี้หากปล่อยไว้นาน ๆ จะทำให้เสี่ยงต่ออาการผิดรูป ทั้งที่ขา (ขาโก่ง) และเท้า (เท้าบิดออกด้านนอก) ด้วย
3. อาการปวดไหล่ช่วงที่เชื่อมต่อกับกระดูกไหปลาร้า หรือเรียกว่า AC joint เนื่องจากการตกหลุม หรือมีการกระแทกจักรยานกับโขดหินหรือสิ่งกีดขวาง แล้วส่งผลให้กล้ามเนื้อส่วนแขนและข้อมือที่เกร็งจับแฮนด์จักรยานอยู่เกิดการเกร็งและอักเสบ ซึ่งจะลามมาสู่เอ็นที่หัวไหล่ได้ หากเกิดการกระแทกอย่างรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเอ็นฉีกขาด ทำให้ต้องพักรักษาตัวนานขึ้นด้วย
4. การบาดเจ็บที่เกิดจากการเสียดสีผิวหนังส่วนง่ามขาและก้นกับที่นั่งปั่นจักรยาน หรือที่เรียกว่า saddle sore เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยกับนักปั่นจักรยานมือใหม่และการปั่นทางไกล ทั้งนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้กางเกงสำหรับปั่นจักรยานโดยเฉพาะมาสวมใส่ เพราะจะมีดีไซน์และเทคโนโลยีเพื่อรองรับส่วนก้นและง่ามขาโดยเฉพาะ ทั้งควรเลือกเบาะจักรยานที่เข้ากับสรีระของนักปั่นแต่ละคนด้วย
5. อาการเท้าชา เป็นผลจากการสวมรองเท้าไม่ได้ขนาด สำหรับกีฬาปั่นจักรยานนั้นมีเทคนิคที่รองเท้าต้องไม่มีคำว่า “เผื่อ” ต้องพอดีกับรูปเท้า จึงจะไม่มีปัญหาในการปั่นจักรยานต่อเนื่องที่เกิดจากรองเท้าคับหรือหลวมเกินไป ทั้งต้องดูที่การตั้งอานจักรยาน ขนาดรถจักรยานที่ใช้ และการตั้งคลีทจักรยานที่หากระดับไม่เหมาะสม เทเยื้องไปด้านหน้าเกินไปก็จะทำให้เกิดอาการเท้าชาเพราะการถ่ายเทน้ำหนักไม่สมดุลได้
จะเห็นได้ว่า นอกจากต้องมีฝีมือในการปั่นจากการฝึกซ้อมแล้ว หากจะสนุกได้ยาวนานและไม่ทรมานกับอาการเจ็บในกีฬาปั่นจักรยาน ต้องใส่ใจกับอุปกรณ์และเทคนิคต่าง ๆ สำหรับกีฬานี้โดยเฉพาะด้วย
ไม่พลาดทุกกิจกรรม วิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา
กด #Seefirst และ #Following กันไว้ ที่
?facebook.com/wheretorunwhentoride
ค้นหางานแข่งวิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา ทั่วไทย
ง่าย สะดวก พร้อมบทความสาระดีๆ ที่
?www.vrunvride.com
อัพเดท Running, Cycling,
Triathlon, Gadget, Food ได้ที่
?instragram.com/vrunvride
มาซ้อม วิ่ง ?♂️ปั่น ?♂️ว่าย ?♂️ให้สนุกกันที่
?strava.com/clubs/vrunvride
[AD]
?บัตรเครดิต KTC ที่สุดของคอกีฬาตัวจริง
รับส่วนลดแบรนด์กีฬาชั้นนำสูงสุด 25% Nike, ASICS, Under Armour สนใจสมัครบัตร
? http://bit.ly/P000389
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming