วันอังคาร, กรกฎาคม 1, 2025
  • Login
  • หน้าแรก
  • บทความ
    • วิ่งมาราธอน
    • ปั่นจักรยาน
    • ไตรกีฬา
    • สุขภาพ
  • Review
  • News
  • Training
  • Stories
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี
  • หน้าแรก
  • บทความ
    • วิ่งมาราธอน
    • ปั่นจักรยาน
    • ไตรกีฬา
    • สุขภาพ
  • Review
  • News
  • Training
  • Stories
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี
No Result
View All Result
Home Fitness & Health

10 ประโยชน์ของขมิ้น สมุนไพรต้านการอักเสบ

thip by thip
20/04/2021
in Fitness & Health
0
10 ประโยชน์ของขมิ้น
  • FacebookFacebook
  • XTwitter
  • LINELine

10 ประโยชน์ของขมิ้น สมุนไพรต้านการอักเสบ

เชื่อกันว่าขมิ้นมีคุณสมบัติช่วยต้านอาการอักเสบ แต่เพื่อนๆ รู้ไหมว่ามันมีประโยชน์กับร่างกายส่วนไหนมากที่สุด บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จัก 10 ประโยชน์ของขมิ้น ว่าดีต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ขมิ้นคืออะไร

ขมิ้นคือสมุนไพรที่มีสารเคอร์คูมิน (Curcumin) สารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านอาการอักเสบซึ่งเชื่อกันว่าดีต่อสุขภาพ (รวมไปถึงเรื่องความสวยความงามด้วย) แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังคงต้องมีการวิจัยเกี่ยวกับสารนี้ต่อไป เพราะตอนนี้ยังไม่รู้ว่าร่างกายคนควรได้รับสารนี้วันละเท่าไหร่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีทางสุขภาพ แต่ในตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญก็แนะนำให้เราทานขมิ้นเพราะเหตุผลดังต่อไปนี้

1.ขมิ้นอาจช่วยส่งเสริมการลดน้ำหนัก

มีการวิจัยที่พบว่าสารเคอร์คูมินช่วยในเรื่องการลดน้ำหนักและช่วยลดค่า BMI อ้างอิงข้อมูลจาก Patricia Bannan นักโภชนาการของนครลอสแองเจลิส ระบุมาว่าการทานขมิ้นมากขึ้นไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แม้ว่ามันจะช่วยลดอาการอักเสบซึ่งมีความเชื่อมโยงกับโรคอ้วนก็ตามแต่เราควรได้รับขมิ้นผ่านการทานอาหารมากกว่า เช่น การทานไก่ผัดใส่ขมิ้น เป็นต้น แต่หากต้องการทานอาหารเสริมก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะมันอาจจะออกฤทธิ์ต้านยารักษาโรคบางตัว

2.ขมิ้นช่วยบรรเทาอาการโรคข้ออักเสบ

สารเคอร์คูมินเป็นโพลิฟีนอล ซึ่งเป็นประเภทของสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้ขมิ้นมีคุณสมบัติในการต้านอาการอักเสบ มีหลายงานวิจัยที่ชี้ว่าสารเคอร์คูมินช่วยลดอาการเจ็บปวด , ความฝืดและบวมในข้อต่อ ซึ่งเกิดจากโรคข้อต่ออักเสบ

มูลนิธิโรคข้ออักเสบของอเมริกาแนะนำให้ผู้ที่เป็นข้อต่ออักเสบทานสารสกัดเคอร์คูมินใส่แคบซูล 500 มิลลิกรัม สองครั้งต่อวัน แต่อย่างไรก็ตามนักโภชนาการชื่อ Jonathan Valdez ซึ่งเป็นโฆษกของสถาบันโภชนาการและสารอาหารแห่งรัฐนิวยอร์กออกมาเตือนว่า การทานเข้าไปถึง 500 มิลลิกรัมอาจจะเกิดการยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กที่มีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจน ทั้งยังเตือนมาว่าควรทานอาหารเสริมเคอร์คูมินพร้อมกับพริกไทยดำ ไม่อย่างนั้นร่างกายจะดูดซึมได้ยาก

นอกจากนี้มูลนิธิโรคข้ออักเสบยังเตือนว่าการได้รับเคอร์คูมินมากเกินไปอาจทำให้ท้องไส้ปั่นป่วนได้ และไม่ควรรับประทานสารนี้หากมีการใช้ยา Warfarin (Coumadin) สำหรับคนที่ต้องผ่าตัด , สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยโรคถุงน้ำดี

3.ขมิ้นอาจช่วยให้เราอารมณ์ดีขึ้นได้

สารเคอร์คูมินอาจส่งผลในการต้านอาการซึมเศร้าด้วย มี 10 การวิจัยเกี่ยวกับสารเคอร์คูมินและอาการซึมเศร้าที่ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ.2019 พบว่ามันช่วยให้อาการวิตกกังวลและซึมเศร้าดีขึ้นได้ แม้แต่กับคนที่ใช้ยาต้านซึมเศร้าอยู่แล้วก็ยังสามารถมีอาการดีขึ้นได้อีก

4.น้ำตาลในเลือดสูงเกินไปขมิ้นอาจช่วยได้

มีคนจำนวนกว่า 100 ล้านคนในอเมริกาที่เป็นเบาหวานหรืออยู่ในภาวะก่อนเบาหวาน โรคเบาหวานประเภทที่สองนั้นเกิดขึ้นจากพันธุกรรมและรูปแบบไลฟ์สไตล์ คนที่เป็นเบาหวานก็มีถึง 90-95% ที่เป็นเบาหวานประเภทที่สอง

การวิจัยเกี่ยวกับเคอร์คูมินพบว่ามันช่วยลดหรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่สอง ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น ปลายประสาทอักเสบ และไตผิดปกติจากเบาหวาน

นักวิจัยแนะนำว่าเคอร์คูมินสามารถป้องกันหรือทำให้อาการเบาหวานประเภทที่สองช้าลงได้แต่ยังคงต้องมีการวิจัยเรื่องนี้กันต่อไป

5.ขมิ้นอาจช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์

ประชากรในอินเดียมีคนป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์กันน้อยมากเมื่อเทียบกับยุโรปและในอเมริกา ขมิ้นมักถูกนำมาใช้กับทางอายุรเวท (Ayurveda) ซึ่งเป็นระบบการรักษาที่ถือกำเนิดในอินเดียมาตั้งแต่พันปีก่อนและยังคงได้รับความนิยมอยู่จวบจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ขมิ้นยังถูกใช้ไปทำอาหารอินเดีย มันก็เลยมีทฤษฎีออกมาว่า ขมิ้นสามารถช่วยยับยั้งความเสียหายของเซลล์ประสาทในสมองได้

อย่างไรก็ตามขมิ้นอาจส่งเสริมความจำ การทานขมิ้น 1 กรัมทุกวันอาจช่วยเพิ่มความจำและ Cognitive function โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เป็นภาวะก่อนเบาหวาน 

6.ขมิ้นอาจมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง

นี่เป็นอีกเรื่องที่อาการอักเสบเข้ามามีบทบาท ในช่วงแรกของการวิจัยในสัตว์เพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างความสามารถในการต้านอาการอักเสบของสารเคอร์คูมินกับมะเร็ง เป็นที่เชื่อกันว่าเคอร์คูมินมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดอาการบวมและอาการอักเสบ ถึงแม้ว่าการทดลองในสัตว์บางครั้งก็ไม่ได้ผลเดียวกับในมนุษย์ แต่การวิจัยก็ยังมุ่งเน้นไปที่เคอร์คูมินและผลกระทบของมันต่อโรคมะเร็ง

การวิจัยในปี ค.ศ.2019 ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Nutrients พบว่าเคอร์คูมินอาจจะมีความสามารถในการต้านมะเร็งเพราะมันไปรบกวนเส้นทางการส่งสัญญาณของเซลล์มะเร็งที่ปลูกในห้องปฏิบัติการและมันก็ถูกตรวจสอบแล้วหลายครั้ง อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการวิจัยกับเรื่องนี้กันต่อไป (และการทานขมิ้นก็มีผลข้างเคียงอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ , ท้องเสีย , ปวดหัวและอุจจาระเป็นสีเหลืองได้)

10 ประโยชน์ของขมิ้น

7.ขมิ้นอาจลบล้างอาการที่เกิดกับโรคลำไส้แปรปรวนและโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับผู้ป่วยเป็น IBS (Irritable Bowel Syndrome) หรือ โรคลำไส้แปรปรวนจะต้องเจออาการปวดท้อง, ท้องอืด, ท้องร่วง, และอาการไม่พึงประสงค์อีกหลายอย่าง และขมิ้นก็อาจช่วยบรรเทาอาการบางอย่างไปได้ อ้างอิงจากผลการวิจัยในปี 2018 ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of Clinical Medicine มีการเฝ้าดูคนไข้โรคลำไส้อักเสบซึ่งได้รับยา Mesalamine ก็พบว่าเคอร์คูมินสามารถใช้ได้ผลมากกว่าการให้ยาหลอก

8.ขมิ้นอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล

ผลลัพธ์ในการลดคอเลสเตอรอลนั้นไม่คงเส้นคงวา แต่ขมิ้นก็สามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นไขมันที่อยู่ในเลือดเมื่อเราได้รับแคลอรี่มากกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญได้ และเมื่อเวลาผ่านไปมันก็จะพัฒนาไปเป็นไขมันเลว (LDL) ซึ่งทั้งสองอย่างนี้สามารถทำให้ผนังเส้นเลือดแข็งตัวได้ เพิ่มโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดในสมอง , หัวใจวาย , โรคหลอดเลือดและหัวใจได้ การวิจัยพบว่าคนที่ทานขมิ้นหรือเคอร์คูมินจะมีระดับไตรกีลีเซอไรด์และ LDL น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ทาน

9.ขมิ้นอาจช่วยลดโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจ

องค์การอนามัยโลกระบุว่าโรคกลุ่มนี้เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ในการเสียชีวิตของคนทั่วโลก ส่วนสาเหตุอื่นๆ ก็จะเป็นโรคหลอดเลือดในสมองและโรคหัวใจ และยังมีอีกหนึ่งปัญหาหลักก็คืออาการอักเสบ มีการวิจัยในปี ค.ศ.2020 ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Biotechnology Advances ชี้ให้เห็นว่าเคอร์คูมินอาจใช้ในการรักษาโรคหลอดเลือดและหัวใจได้ดี 

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นที่ชี้ว่าความสามารถในการลดอาการอักเสบของขมิ้นอาจเป็นตัวช่วยในการป้องกันโรคเกี่ยวกับเส้นเลือด การวิจัยยังพบว่าเคอร์คูมินป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดได้

10.เคอร์คูมินอาจช่วยบล็อคโมเลกุลที่เป็นอันตรายได้

เคอร์คูมินสามารถป้องกันสารอนุมูลอิสระซึ่งเป็นอันตรายต่อโมเลกุลอื่นๆ มีงานวิจัยเกี่ยวกับเคอร์คูมินและโรคตับ ในระยะยาวความเสียหายจะลูกลามไปสู่เส้นเลือด , เนื้องอกจะโตขึ้น , แถมยังเป็นสาเหตุหลักของการมีริ้วรอย

สารต้านอนุมูลอิสระเช่นเคอร์คูมิน จะช่วยปกป้องเราจากสารอนุมูลอิสระด้วยการเติมอิเล็กตรอนและทำให้โมเลกุลที่เป็นอันตรายกลายเป็นกลางได้ (โดยที่ไม่ทำให้ตัวมันกลายเป็นสารอนุมูลอิสระไปเสียเอง)

ที่มา : https://bit.ly/2PwqPQ5 


เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน
🏃 ‍♂ bit.ly/VRUNGROUP
.
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming

  • FacebookFacebook
  • XTwitter
  • LINELine

Related

Tags: Health FoodNutritionTurmericขมิ้นอาหารสุขภาพโภชนาการ
Previous Post

ECCO BIOM 2.0 ใหม่! สนีกเกอร์เติมเต็มลุคสตรีทสไตล์ มอบความสบายเหมือนเดินเท้าเปล่า

Next Post

Impossible Is Nothing อาดิดาสจุดประกายผู้คนทั่วโลกมองเห็นทุกความเป็นไปได้ ผ่านซีรีส์ภาพยนตร์สร้างแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่

thip

thip

Related Posts

วางแผนชีวิตผู้หญิงยุคใหม่ด้วยแพ็กเกจแช่แข็งไข่ !

วางแผนชีวิตผู้หญิงยุคใหม่ด้วยแพ็กเกจแช่แข็งไข่ !

27/06/2025
5 ประโยชน์ของการจัดเรียงไขมันใต้ตา เพื่อดวงตาที่สดใส

5 ประโยชน์ของการจัดเรียงไขมันใต้ตา เพื่อดวงตาที่สดใส

27/06/2025
อาการขาดโปรตีน

6 สัญญาณ “อาการขาดโปรตีน” ที่ไม่ควรมองข้าม!

17/06/2025
ยาฆ่าเชื้อ ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ?

ยาฆ่าเชื้อ ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ?

04/06/2025
มนุษย์เงินเดือน vs ฟรีแลนซ์ ใครเสี่ยงกว่า ถ้ายังไม่มีประกันสุขภาพ?

มนุษย์เงินเดือน vs ฟรีแลนซ์ ใครเสี่ยงกว่า ถ้ายังไม่มีประกันสุขภาพ?

04/06/2025
ฟอกสีฟัน Zoom ต่างจากฟอกสีฟันแบบอื่นอย่างไร?

ฟอกสีฟัน Zoom ต่างจากฟอกสีฟันแบบอื่นอย่างไร?

04/06/2025
Next Post
Impossible Is Nothing อาดิดาสจุดประกายผู้คนทั่วโลกมองเห็นทุกความเป็นไปได้ ผ่านซีรีส์ภาพยนตร์สร้างแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่

Impossible Is Nothing อาดิดาสจุดประกายผู้คนทั่วโลกมองเห็นทุกความเป็นไปได้ ผ่านซีรีส์ภาพยนตร์สร้างแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่

ติดตาม และร่วมสนุกไปกับเรา

  • 34.2k Subscribers
  • 1.4k Followers

เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน

บทความน่าสนใจ

วัย 93 แต่ยังแข็งแกร่ง คุณปู่จอมพลังวิ่งเกือบ 4 พันกิโลข้ามทวีป

วัย 93 แต่ยังแข็งแกร่ง คุณปู่จอมพลังวิ่งเกือบ 4 พันกิโลข้ามทวีป

by Por the Irondad
18/09/2018

วิ่งก่อนหรือหลังออกกำลังกาย อันไหนดีกว่ากัน

วิ่งก่อนหรือหลังออกกำลังกาย อันไหนดีกว่ากัน

by thip
06/02/2022

Adidas Ultraboost 21 "Tokyo Collection"

Adidas Ultraboost 21 “Tokyo Collection”

by VRUN VRIDE
26/08/2021

วิ่งรอบโลก : งานแข่งวิ่ง Jungfrau Marathon – ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วิ่งรอบโลก : งานแข่งวิ่ง Jungfrau Marathon – ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

by thip
08/09/2019

5 ประโยชน์จากการฝึก Cross-Training

5 ประโยชน์จากการฝึก Cross-Training

by thip
22/04/2021

สมัครบัตรเครดิต KTC REV รับส่วนลดสูงสุด 25% แบรนด์ Nike, HOKA, Saucony, REV RUNNR

KTC REV CREDIT CARD
วิ่ง, ปั่นจักรยาน, ไตรกีฬ

วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี รวบรวมทุกรายการ วิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา ครอบคลุมทุกรายการแข่งขันไว้ที่นี่ พร้อมข่าวสารวงการวิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา รองเท้าวิ่ง จักรยานเสือหมอบ รถไตรกีฬา ให้เรื่องกีฬาใกล้ตัวคุณ ต้องการประชาสัมพันธ์กิจกรรม การแข่งขันวิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของท่าน

ติดต่อเรา: vrunvride@gmail.com

แท็กยอดนิยม

5K adidas ASICS cycling Exercise Exercises Fun Run Garmin Health Marathon Nike Nutrition Other Running Road Cycling run runner running Running Guide Running Plan Running Program running shoes Running Training Plan workout การวิ่ง งานวิ่ง งานแข่งวิ่ง ตารางซ้อมวิ่ง ตารางฝึกวิ่ง ท่าฝึกกล้ามเนื้อ ท่าออกกำลังกาย นักวิ่ง ปั่นจักรยาน มาราธอน รองเท้าวิ่ง วิ่ง วิ่งมาราธอน สุขภาพ ออกกำลังกาย อาดิดาส แผนซ้อมวิ่ง แผนฝึกวิ่ง โปรแกรมซ้อมวิ่ง โปรแกรมฝึกวิ่ง ไตรกีฬา ไนกี้

ประเภทยอดนิยม

  • Cycling (172)
  • Fitness & Health (373)
  • News (875)
  • Review (126)
  • Running (944)
  • Stories (201)
  • Training (465)
  • Triathlon (109)

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
Loading...
No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • บทความ
    • วิ่งมาราธอน
    • ปั่นจักรยาน
    • ไตรกีฬา
    • สุขภาพ
  • Review
  • News
  • Training
  • Stories
  • ติดต่อเรา

© WHERE TO RUN WHEN TO RIDE : วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี