Nike Zoom VaporFly FlyPrint
Racing | Zoom X | Carbon Plate | 3D Printing
จาก VaporFly 4%
แล้ว VaporFly Elite
มาเป็น VaporFly Elite “3D Top”
หรือ ชื่อทางการ VaporFly FlyPrint
หลายคนรู้จัก VaporFly 4% กันอยู่แล้ว
พูดรวมถึง VaporFly 4% Flyknit ด้วย ในฐานะรองเท้าวิ่งสาย racing ตัวท็อปของค่าย Nike ที่ออกวางขายในตลาดทั่วไป (ถึงเมืองไทย จะมีขายน้อยมากก็เถอะ)
หลายคนที่ได้ลอง VaporFly 4% แล้ว ชอบมาก (ส่วนตัวก็เช่นกัน) ส่วนผสมของ ความเบา (เบามาก) โฟม ZooM X ที่ “เบา นุ่ม เด้ง” มาก และ Carbon Plate ที่ฝังไว้ทำให้เราโน้มตัวไปข้างหน้า ส้นเท้าดีดขึ้น พอจับจังหวะได้แล้ว ควงขาได้ง่ายขึ้นมาก
ใครเคยลอง Zoom Fly แล้วชอบ แนะนำให้ลอง VaporFly 4% ถือเป็น ก้าวกระโดดที่ชัดเลย
ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดอีกอย่าง คือ 7 จาก 18 คน ของ Top 3 ของ Marathon Majors (รวมทั้ง 6 รายการ) ปี 2018 ของฝ่ายชาย ใส่รองเท้า VaporFly 4%
(อ่านเพิ่มเติม VaporFly 4% Flyknit ได้ที่ https://goo.gl/RsTu2v)
VaporFly Elite
รองเท้าที่ Eliud Kipchoge ใช้ ตั้งแต่ Breaking 2 Project และ แชมป์อีกหลายสนาม marathon major จนล่าสุด ทำสถิติโลก 2:01:39 ชม ที่ Berlin Marathon 2018
เทียบกับ VaporFly 4% ที่เป็นรองเท้าที่ออกวางขายในตลาดปรกติ (general release) รุ่น VaporFly Elite คือ รุ่นที่ขยับขึ้นไปอีก 1 ระดับในแง่ exclusivity หรือ จำนวนที่ผลิตออกมา และ นักกีฬาคนไหนจะได้ใส่รุ่นนี้
หลักๆ คือ ผลิตมาให้ นักกีฬา Elite ของค่าย Nike ใส่เท่านั้น สังเกตจากตอน Breaking 2 Project (ดูสารคดี ที่ทำได้ดีมาของ National Geography ได้ที่ https://youtu.be/V2ZLG-Fij_4) นักวิ่ง Elite 3 คน ใส่ VaporFly Elite ขณะที่ Pacer ใส่ VaporFly 4%
รวมถึงตามการแข่งขัน มาราธอนระดับโลกด้วย มีเพียงนักกีฬาไม่กี่คน ที่จะได้รองเท้า VaporFly Elite ที่เหลือจะใส่ VaporFly 4%
แสดงให้เห็นถึง ความ exclusive (หรือ อีกแง่นึงคือ tier) ของรองเท้ารุ่นนี้
หน้าตาของ VaporFly Elite มองเผินๆ จะคล้าย VaporFly 4% (ด้วยความตั้งใจ) ที่ Nike มักทำสีของ 2 รุ่นนี้ออกมาคู่สีเดียวกัน เช่น เนื้อผ้าสีส้ม Bright Crimson กับ Swoosh สีเทา Silver แล้วยิ่ง VaporFly4% ออกรุ่น Flyknit ออกมายิ่งคล้ายกัน มากขึ้นไปอีก
ในแง่ appearance ที่ต่างกัน หลักๆ มีดังนี้
– ทรงรองเท้า ดู aerodynamic มากขึ้น
– Swoosh ข้างเท้าด้านนอก (ด้านที่เราเห็นกัน) ของ VaporFly 4% จะพาดจากหน้าเท้าจนถึงกลางเท้า อยู่บนเนื้อผ้า upper ทั้งหมด ส่วนของ VaporFly Elite จะอยู่ที่ช่วงกลางเท้า โค้งจากเนื้อผ้า upper ลงไปจนถึงพื้นโฟม
– พื้นโฟม Zoom X เหมือนกัน แต่คนละทรงกัน ทั้งหน้าเท้า กลางเท้า และส้นเท้า
– หน้าเท้ากว้างพอกัน แบบที่ VaporFly ทรงแหลมกว่า
– กลางเท้า VaporFly 4% ที่ว่าเรียวแล้ว (เรียวกว่า Zoom Fly ที่หลายคน ใส่ก็อุ้งเท้าล้นพื้นแล้ว) กลางเท้าของ VaporFly Elite เรียวขึ้นไปอีก
– ส้นเท้าก็เช่นกัน พื้นของ VaporFly Elite เรียวมากกว่า VaporFly 4% ขึ้นไปอีก
จุดที่เป็น tell tale sign หรือ จุดสังเกตที่เห็นชัดที่สุด คือ ความเชิดของพื้นช่วงส้นเท้า VaporFly Elite โค้งกว่า VaporFly 4% มากอย่างเห็นได้ชัด
ใครนึกภาพไม่ออก รุ่น Vapor Street Flyknit คือ รุ่น VaporFly Elite ที่ปรับวัสดุให้เป็น รองเท้าลำลอง
(ดูคลิปวิดีโอ ได้ที่โพสต์ https://goo.gl/WDg9hh และ รีวิวในแง่รองเท้าวิ่ง ได้ที่โพสต์ https://goo.gl/GrQ6k7)
ตัวอย่าง นักกีฬาที่ใส่ VaporFly Elite (เวอร์ชั่นปัจจุบัน ปรับรายละเอียดนิดหน่อย จากเวอร์ชั่นแรกที่ใช้ตอน Breaking 2 Project) ปี 2108 ฝ่ายชาย ก็จะมี Eliud Kipchoge (ตอนชนะ และทำสถิติโลกที่ Berlin) และ Mo Farah (ตอนชนะที่ Chicago และ ตอนได้ที่ 3 ที่ London)
VaporFly Elite เคยออกวางขาย (จำนวนจำกัดมาก) ที่ ฮ่องกง ลอนดอน เบอร์ลิน และ นิวยอร์ค และแน่นนอน หมดเกลี้ยงทันที
VaporFly FlyPrint
VaporFly Elite + 3D printing upper
ตอน Berlin Marathon 2017 ต้องบอกว่า ความคาดหวังสูงมาก ว่า Eliud Kipchoge จะทำลายสถิติโลก เพราะ โมเมนตัมกำลังมา ทำเวลาได้ดีมาก 2:00:25 ชม จาก Breaking 2 Project (ไม่ถือเป็น สถิติโลก)
ปรากฎว่า Berlin Marathon 2017 อากาศไม่เป็นใจ Eliud Kipchoge ชนะด้วยเวลา 2:03:32 ชม ช้าไปกว่าสถิติโลก ณ ตอนนั้น 35 วินาที (ขนาดฝนตก)
คอมเม้นหลักจาก Eliud Kipchoge คือ VaporFly Elite ที่ “ดี ดีมากๆ” อยู่แล้ว (จากประโยคสัมภาษณ์) ทำยังไง ให้ดีขึ้นไปอีก โดยเฉพาะในวันที่ “อากาศไม่เป็นใจ”
จาก Berlin Marathon 2017 เดือนกันยายน 2017 Nike เริ่มโปรเจค ตอนต้นปี 2018 โจทย์คือ เนื้อผ้า upper ที่ในวันที่อากาศชื้นหรือ ฝนตก “ระบายได้ดีขึ้น”
เนื้อผ้า Flyknit ยังถือว่า “อมน้ำ” มากไป สำหรับมาตรฐานของ Kipchoge ที่ทุกวินาที (ณ ขณะนั้น) คือ กำแพงระหว่างเค้า กับ สถิติโลก
ในระยะเวลาอันสั้น ปลายกุมภาพันธ์ ทีมดีไซน์ ส่ง prototype เวอร์ชั่น “D” ให้ Kipchoge และได้คอมเม้นกลับมา ดังนี้
1) เนื้อผ้า ช่วงข้อเท้า ดีแล้ว ไม่ต้องปรับอะไร
2) เนื้อผ้า ช่วงอุ้งเท้า ให้สานให้แน่นขึ้น
3) เนื้อผ้า ช่วงหน้าเท้า ควรมี ขอบอะไรที่เฟิร์มหน่อย มาปกป้องเท้า
4) พื้นดีอยู่แล้ว ไม่ต้องเปลี่ยน การยึดเกาะดี และ โฟม นุ่ม และรับแรงกระแทก ได้เพอร์เฟคอยู่แล้ว
5) ไม่มี พื้นยาง ช่วงส้นเท้า ดีแล้ว
6) ถ้าปรับทันตามนี้ จะใส่แข่งเดือนเมษายน (London Marathon 2018)
7) ช่วยแจ้งด้วย ว่าเวอร์ชั่นที่อัพเดทแล้วจะพร้อมเมื่อไร
ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2018
พอได้คอมเม้น ทีมดีไซน์ ก็ใช้เวลาอีกไม่กี่ชั่วโมง ปรับแบบ ก่อนจะส่ง prototype เวอร์ชั่น “E” ไปให้ Kipchoge ที่ซ้อมอยู่ที่เคนย่า ทดลอง และจบที่เวอร์ชั่น “F” ที่ Kipchoge ตกลงใช้แข่งที่ London Marathon กลางเดือนเมษายน 2018
3D printing
จะไป 3D printing ไม่ถึงกับเป็นเรื่องใหม่ นึกภาพ ใช้พลาสติก พิมพ์ออกมาเป็นโครงสร้าง 3 มิติ เช่น ในวงการสถาปนิก หรือ เห็นได้บ่อยหน่อยตาม expo ด้าน manufacturing
ในวงการผลิตรองเท้าวิ่งนะ เพราะในเฟส product development ใช้กันมานานแล้ว สำหรับการขึ้นรูปตัวอย่างรองเท้า (สร้างแม่พิมพ์ช้า และต้นทุนสูง โดยไม่รู้ product จะได้ใช้งานไหม)
ที่สำคัญไปกว่านั้น คือ การพิมพ์แบบ 3 มิติ การปรับแต่งได้ตามรูปเท้า และความต้องการของแต่ละคนได้เลย ทางเทคนิค (ส่วนทางปฎิบัติ และ ราคาอีกเรื่องนึงนะ)
บางแบรนด์ เอามาใช้กับรองเท้ากีฬาแล้วเหมือนกัน แต่จะเป็นรูปแบบ ขึ้นรูปโครงสร้าง พื้นรองเท้า มาใช้แทนพื้นโฟม เช่น พื้นของรองเท้าลำลองและวิ่ง ของ adidas ซีรีย์ 4D และ รองเท้าเทรนนิ่ง ของ Under Armour รุ่น ArchiTech Futurist
ส่วน Nike ใช้ 3D printing กับ ผ้า upper (เคลมว่าเป็นเจ้าแรกที่ทำแบบนี้) ปริ้น ออกมาแทนเส้นไยผ้า บางๆ ที่ละชั้น เป็นชิ้นส่วนหลักของ upper ที่เนื้อเหมือนเป็นตาข่ายพลาสติกบางๆ บางมาก เนื้อผ้าไม่ยืดหยุ่น (ต่างจากผ้า Flyknit ในรุ่น VaporFly Elite ที่ยืดหยุ่น)
แล้วมาเชื่อมกับ เนื้อผ้าที่ยืดหยุ่น เฉพาะช่วงหลังเท้า (ตรงที่ปรกติเป็นลิ้นรองเท้า)
จากที่ได้สัมผัสดู (ยังไม่ได้ลองวิ่ง) ส่วนตัวชอบ ชอบมากกว่า Flyknit ที่ยืดหยุ่นไปทั้งชิ้น
ผ้า FlyPrint คงรูปได้ดีกว่า เก็บให้เท้าเราอยู่บนพื้นรองเท้าได้ดีกว่า ไม่ล้นออกนอกพื้น (footbed) แล้วใช้ความยืดหยุ่น เฉพาะช่วงหลังเท้า ให้ความกระชับ ช่วงกลางเท้าและอุ้งเท้า
ชัดเจนจากคอมเมนท์ของ Kipchoge คือ ปรับแค่เนื้อผ้า จาก Flyknit เป็น “3D Top” ตามที่เรียกตอนนั้น
นอกจากเรื่อง “ไม่อมน้ำ” และ “โปร่ง ระบาย” ได้ดีขึ้นกว่า ผ้า Flyknit ยังได้เรื่องความเบา เพิ่มขึ้นไปอีก
เราไม่มี VaporFly Elite ให้เทียบน้ำหนัก แต่ที่เราเทียบได้ (น้ำหนักชั่งจริง) คือ เทียบกับ VaporFly 4% (ไซส์ 6 US ผู้ชาย / 7.5 US ผู้หญิง)
VaporFly 4% = 5.8 ออนซ์ / 164 กรัม
VaporFly 4% Flyknit = 5.4 ออนซ์ / 153 กรัม
VaporFly FlyPrint = 4.8 ออนซ์ / 136 กรัม
รุ่น VaporFly ทั้งหมดเป็นแนว racing คือ เน้นทำความเร็วที่สุด ความทนทานไม่ใช่เรื่องหลัก
พื้น outsole เป็นยางหลักๆ เฉพาะช่วงหน้าเท้า (ซึ่งทนใช้ได้เลย จากที่เห็นของ VaporFly 4%) ส่วนช่วงส้นเท้า แทบไม่มีพื้นยางเลย
โฟม Zoom X ใครที่เคยใช้แล้วจะเป็นว่า เนื้อโฟมจริงๆ เป็นสีขาวอมเหลือง ที่เห็นในรุ่น VaporFly 4% ว่าเป็นสีขาวที่สีที่ทาทับ (ไม่ใช่ pigment เม็ดสี ผสมมาเลย ในโฟม)
พอใช้งานไป พื้นจะถลอก โดยเฉพาะส้นเท้าด้านนอก จะเป็นชัดที่สุด ว่าถลอกก่อน
กรณีของ VaporFly FlyPrint สีนี้ พื้นโฟม Zoom X ที่เป็นสีดำ เป็นเหมือนฟิล์มบางๆ เคลือบบนเนื้อโฟม Zoom X อีกที ใช้งานก็ถลอกแน่นอน และจะยิ่งเห็นชัด (สีดำด้านนอก ตัดกับ เนื้อโฟมด้านใน)
อีกข้อสังเกตนึง คือ รุ่นนี้ Made in Korea หรือว่า จะเป็นฐานการผลิตแนว pilot line ของ รุ่นพวก prototype คล่องตัว สำหรับจำนวนไม่มาก และข้อมูลไม่รั่วไหล ก่อนที่จะ scale up ไปยังฐานการผลิตอื่นที่กำลังการผลิตในระดับ mass production
VaporFly Flyprint สีในรูป วางขายไปหนเดียว 50 คู่ ที่ Nike Town London ช่วง London Marathon 2018 ผ่านทาง app Nike+ Run Club
ราคาป้าย £500
ราคา resell ไปไกลกว่านั้นอีกมาก
#NikeRunningClub #Nike #NikeShoes #NikeThailand#TrainRaceBeer #ImaGearist #NRCBKK #Breaking2#Breaking2Project #NikeTH #NikeSEA #NikeRunningClub#VaporflyWW
Source
https://news.nike.com/…/eliud-kipchoge-3d-printed-nike-zoom…
หมายเหตุ
ใครสับสนว่ารุ่นไหนเป็นไหน หน้าตามันคล้ายกันหมด ไม่ต้องตกใจ คนเป็นกันเยอะ นอกจากหน้าตาคล้ายกันแล้ว ชื่อรุ่นก็ยังคล้ายกันอีก เรารวบรวมรุ่นต่างๆในซีรีส์ Breaking 2 Project ที่โพสต์ https://goo.gl/jKSKCw)