ท้าความตาย – งานแข่งวิ่ง Spartathlon
นักวิ่งทุกคนตีมูลค่าหยาดเหงื่อของตัวเองเทียบเท่ากับ “ไฟดิปพิดีส” ผู้ส่งสารที่ต้องวิ่งจากเมืองมาราธอนไปยังเอเธนส์เป็นระยะทาง 42 กิโลเมตร เพื่อส่งข่าวชัยชนะของกรีกที่มีต่อพวกเปอร์เซีย ว่ากันว่ามันคือแรงบันดาลใจสำหรับการวิ่งมาราธอนในยุคปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม “ไฟดิปพิดีส” ก็ได้เสียชีวิตลงหลังจากที่ส่งสารเรียบร้อยแล้ว
ข้อเท็จจริงที่คนไม่ค่อยรู้มันเป็นเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น ก็คือ “ไฟดิปพิดีส” ต้องวิ่งไปสปาร์ต้าเพื่อขอให้สปาร์ต้าส่งกองทัพมาช่วยเอเธนส์ โดยเขาต้องวิ่งเป็นระยะทางทั้งหมด 246 กิโลเมตร หลังจากที่วิ่งตลอดทั้งคืนเขาก็ไปถึงสปาร์ต้าในวันต่อมา ที่แย่กว่านั้นคือทางสปาร์ต้าไม่ยอมส่งกองทัพไปช่วยทำให้ “ไฟดิปพิดีส” ต้องรีบวิ่งกลับไปส่งข่าวที่เอเธนส์ (เจอแบบนี้ไม่ตายได้ไง) ในระหว่างที่เขาวิ่งกลับไปว่ากันว่าเทพ “Pan” เทพแห่งธรรมชาติได้ปรากฏตัวต่อหน้าเขา ตามตำนานเล่าว่าเทพ Pan นี่แหละที่ช่วยให้กรีกชนะกองทัพเปอร์เซียมาได้
ย้อนกลับมาที่ยุค 80s “จอห์น โฟเดน” ผู้บัญชาการทหารบกของกองทัพอากาศอังกฤษและทหารอากาศของเขาได้พยายามพิสูจน์ว่า คนเราจะสามารถวิ่งได้ถึง 246 กม. ภายในเวลาหนึ่งวันครึ่งได้จริงหรือไม่ ซึ่งปรากฏว่าพวกเขาสามารถทำได้ และตัวจอห์นเองก็ใช้เวลาเพียง 36 ชั่วโมงเท่านั้น
จากนั้นเป็นต้นมาจึงมีการจัดงานวิ่งอัลตร้ามาราธอนขึ้นปีละครั้ง โดยใช้ระยะทางเท่ากันในช่วงเดือนกันยายนซึ่งเป็นเดือนเดียวกันกับที่ “ไฟดิปพิดีส” วิ่งจนตัวตาย และแน่นอนว่านักวิ่งก็ต้องวิ่งในช่วงกลางคืนด้วยเหมือนกัน
ในงานวิ่ง Spartathlon ครั้งแรกในปี ค.ศ.1983 มีนักวิ่งมาเข้าร่วมการแข่งขันเพียง 45 คนเท่านั้น ในปัจจุบันมีนักวิ่งกว่า 200 คนเข้าร่วมการแข่งขัน โดยผู้ชนะหลายคนมักจะเข้าเส้นชัยในเวลาใกล้เคียง 20 ชั่วโมงมากกว่า 30 ชั่วโมง ทางผู้จัดงานได้ให้คำนิยามของงานนี้ว่า “เป็นการแข่งวิ่งบนถนนที่ขรุขระและเต็มไปด้วยโคลน (ปกติฝนจะตกในวันแข่ง) , วิ่งข้ามฟาร์มองุ่นและโอลีฟ , วิ่งขึ้นเนิน และที่ท้าทายที่สุดคือต้องวิ่ง 1200 เมตรขึ้นไปบนภูเขา Parthenio ในค่ำคืนอันเงียบสงัด ซึ่งที่นี่เป็นภูเขาที่เต็มไปด้วยก้อนหินและพุ่มไม้ ตามตำนานเล่าว่าไฟดิปพิดีสได้พบกับเทพ Pan ที่นี่”
นักวิ่งอัลตร้ามาราธอนจะต้องผลักดันร่างกายตัวเองอย่างหนักและเป็นระยะเวลานาน จนมีอยู่หลายคนที่เห็นภาพหลอน และก็เป็นไปได้ว่า ไฟดิปพิดีส เองก็คงจะเห็นภาพหลอนเหมือนกัน ในความเป็นจริงแล้วภาพหลอนจะเกิดขึ้นได้เมื่อเกิดความเมื่อยล้าและการอดนอน
นักแข่งอัลตร้ามาราธอนชาวอเมริกันชื่อ “สก็อต จูเร็กส์” ซึ่งขนะการแข่งขัน Spartathlon มาแล้วสามครั้งในช่วงยุค 2000s ในหนังสือชีวประวัติของเขาชื่อ “Eat & Run : My Unlikely Journey to Ultramarathon Greatness” ได้อธิบายถึงอาการเริ่มมองเห็นภาพหลอนของเขาซึ่งเกิดขึ้นในช่วงท้ายการแข่งขันว่า “ในช่วง 48 กม. สุดท้าย บนถนนทางหลวงขนาด 2 เลน ที่มุ่งหน้าสู่สปาร์ต้า เขารู้สึกเหนื่อยมาก หลายครั้งที่รู้สึกเหมือนกำลังวิ่งขึ้นเนิน เขาต้องตบหน้าตัวเองเพื่อให้แน่ใจว่าตัวเองจะไม่หลับไป หลังจากนั้นก็เห็นภาพหลอนเป็นตากล้องกำลังนั่งยองๆกลางถนนและกำลังถ่ายรูปเขาอยู่ แต่พอเข้าไปไกล้ก็หายตัวไป ทำให้รู้ว่านั่นคือภาพหลอนนั่นเอง”
Spartathlon Medal
Spartathlon VDO
รายละเอียดการแข่งขัน
- ประเภทการแข่งขัน : วิ่งบนถนน
- สถานที่จัดการแข่งขัน : เอเธนส์ไปถึงสปาร์ต้า , ประเทศกรีซ
- ระดับความยาก : 7/10
- อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ : ภาวะขาดน้ำ , ประสาทหลอน
ช่องทางดูข้อมูลเพิ่มเติม
- เว็บไซต์ : www.spartathlon.gr
- เฟซบุ๊ก : SPARTATHLON
เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน
🏃 ♂ bit.ly/VRUNGROUP
.
[AD]
แจกจริง แจกหนัก GARMIN, SUUNTO, FITBIT 122 วัน 122 เรือน
เพียงใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต KTC คลิก bit.ly/ฺBNC122
.
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling#Triathlon#Swimming