คนส่วนใหญ่มักจะใส่ใจเรื่องไขมันและคาร์โบไฮเดรต แต่ โปรตีนซึ่งมีหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อต่างหากที่นักวิ่งไม่ควรที่จะมองข้าม เพราะมีงานวิจัยล่าสุดที่พบว่าการเพิ่มปริมาณการทานโปรตีนจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคทางคาร์ดิโอเมตาบอลิก (โรคหัวใจ , เบาหวาน และอื่นๆ) , ช่วยในการลดน้ำหนัก , เพิ่มการสังเคราะห์กล้ามเนื้อ , ซึ่งจะช่วยให้นักกีฬามีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
ทางกองทัพของสหรัฐอเมริกาได้ทำการตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงในวารสาร The Journal of Nutrition ว่า ได้มีการเฝ้าสังเกตการบริโภคโปรตีนของคนที่อยู่ในวัยกลางคน 23,000 คน และมีคำแนะนำปริมาณการรับโปรตีนในแต่ละวัน โดยมีสูตรคำนวนดังนี้คือ 0.8 คูณด้วยน้ำหนักตัว นอกจากนั้นยังพบว่ามีคนอเมริกันจำนวนน้อยมากที่ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ

นักวิจัยของกองทัพได้พยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการบริโภคโปรตีนกับระดับสุขภาพ พบว่าการได้รับโปรตีนในปริมาณมากจะมีความเชื่อโยงกับการมีค่า BMI ที่ต่ำ , มีรอบเอวที่เล็กลง , มีระดับไขมันดีเพิ่มขึ้น ซึ่งผลลัพธ์จะสามารถเห็นเด่ชัดมากขึ้นในกลุ่มอาสาสมัครที่มีน้ำหนักเกิน และนักวิจัยก็สรุปออกมาว่าคนแต่ละคนควรได้รับโปรตีน 1-1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ยังมีงานวิจัยอื่นจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดโดยมีการเฝ้าติดตามสังเกตอาสาสมัครจำนวน 120,000 คน เป็นเวลานานถึง 16 ปี เพื่อที่จะดูว่าการบริโภคโปรตีนและค่าดัชนีน้ำตาล จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักในระยะยาวอย่างไร ซึ่งก็มีการพบว่าโปรตีนชนิดต่างๆ รวมไปถึงค่าดัชนีน้ำตาลที่ต่างกันออกไปจะส่งผลลัพธ์ในการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักที่ต่างกันออกไป
โดยทั่วไปแล้วค่าดัชนีน้ำตาลที่สูงจะมีความเชื่อมโยงกับการมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในปริมาณมาก และค่าดัชนีน้ำตาลต่ำก็ทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นน้อยกว่า ส่วนโปรตีนที่มาจากเนื้อปลา , ถั่ว , โยเกิร์ต จะมีความเชื่อมโยงกับการมีน้ำหนักเพิ่มน้อย ในขณะที่โปรตีนจากเนื้อแดงจะทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า

ผู้ที่เขียนรายงานผลการวิจัยได้ให้คำแนะนำว่า เรามีทางเลือกสองทาง ซึ่งก็สามารถทำทั้งสองทางเลือกได้พร้อมกันเลยคือ เน้นทานโปรตีนที่ช่วยต่อต้านการเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก เช่น ปลา , ถั่ว , โยเกิร์ต ส่วนอีกทางเลือกคือให้ลดปริมาณการทานคาร์โบไฮเดรตลง ซึ่งการวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition และในรายงานฉบับเดียวกันก็ได้ทำการรีวิวความเชื่อมโยงของการบริโภคโปรตีนกับน้ำหนักตัวและระดับสุขภาพ พบว่า
“การบริโภคโปรตีนในปริมาณมาก ช่วยปรับปรุงระดับความอยากอาหาร , การคุมน้ำหนักตัว , ระดับความเสี่ยงในการเป็นโรคทางคาร์ดิโอเมตาบอลิก , หรือระดับสุขภาพ”
ซึ่งก็ได้มีการแนะนำสูตรคำนวนปริมาณการรับโปรตีนต่อวันดังนี้คือ 1.2-1.6 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม รวมไปถึงควรมีโปรตีนในอาหารแต่ละมื้อประมาณ 25-30 กรัม (ในกลุ่มคนที่ไม่ทานอาหารเช้า , คนที่ชอบทานซีเรียล ก็มักจะได้รับโปรตีนในช่วงเช้าในระดับที่น้อย)
สำหรับนักกีฬา การรับประทานโปรตีนในช่วง 1-2 ชั่วโมงก่อนการเข้านอน อาจช่วยในการสังเคราะห์กล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร The Journal of Nutrition
ในการวิจัยเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์กับกลุ่มอาสาสมัครที่เน้นฝึก Strength Training พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากกับกล้ามเนื้อกระตุกเร็วประเภทที่สอง แต่อย่างไรก็ตามนักวิจัยชาวดัตช์ได้มีการวัดการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อกลุ่มควอดริเซ็บ ซึ่งมีความสำคัญต่อนักวิ่ง ก็พบว่ามันส่งผลดีต่อนักวิ่งเช่นกัน
ที่มา : https://bit.ly/2Pb5w5B
เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน
🏃 ♂ bit.ly/VRUNGROUP
.
[AD]
แจกจริง แจกหนัก GARMIN, SUUNTO, FITBIT 122 วัน 122 เรือน
เพียงใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต KTC คลิก bit.ly/ฺBNC122
.
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling#Triathlon#Swimming