ไปวิ่งที่นี่เย็นแน่นอน มาราธอนที่ขั้วโลกเหนือ FWD North Pole Marathon
เบื่อไหมล่ะ กับสภาพอากาศร้อนอบอ้าวในเมืองไทย อยากลองไปวิ่งกันที่ขั้วโลกเหนือกันไหม มาทำความรู้จักกับการแข่งขันมาราธอน FWD North Pole Marathon กันดีกว่า
FWD North Pole Marathon เป็น 1 ในรายกายแข่งขันมาราธอนที่ หน่วยงาน AIMS Association of International Marathons and Distance Races ให้การรองรับในมาตรฐานระยะทาง 42.195 กิโลเมตร และเป็น การแข่งขันมาราธอนมาตรฐาน หนึ่งเดียวในโลกนี้ ที่วิ่ง “บน” น้ำ บนน้ำแข็งของมหาสมุทร อาร์คติค
FWD North Pole Marathon ได้รับการบันทึกจาก Guinness World Records ว่าเป็น การแข่งขันมาราธอนที่อยู่เหนือสุดของโลก และสื่อชั้นนำในวงการวิ่งอย่าง Runner’s World ตั้งสมญานามให้ race นี้ว่า ‘World’s Coolest Marathon’ เพราะอุณหภูมิตลอดการแข่งขันโดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ -30 องศาเซลเซียส
การแข่งขัน North Pole Marathon ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2002 เมื่อ Richard Donovan ชาวไอร์แลนด์ วิ่งบนเส้นทางนี้ด้วยตัวคนเดียว และต่อมา เขายังเป็นคนแรกที่พิชิต มาราธอน ที่ขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ (Antarctic Ice Marathon ) ปัจจุบันการแข่งขันได้ดำเนินมาเป็นปีที่ 17 ในปี 2019 แล้ว
สถิติที่น่าสนใจของรายการนี้
ตลอดการแข่งขัน 16 ครั้งที่ผ่านมา ผู้จัดงานไม่สามารถคาดการณ์เวลาของการแข่งขันได้เลย ทั้งนี้เนื่องจาก สภาพอากาศ และสภาพภูมิประเทศเส้นทางของการแข่งขันที่ปรับเปลี่ยนไปทุกๆ ปี แต่เชื่อหรือไม่ว่า 552 คน จาก 55 ประเทศ คือตัวเลข ของนักวิ่งมาราธอนที่พิชิตรายการนี้ได้ โดย 535 คนจบระยะมาราธอน ที่เหลือเป็น ระยะฮาล์ฟ
Thomas Maguire คือ บุรุษชาวไอร์แลนด์ ผู้พิชิตรายการนี้ได้เร็วที่สุด ในระยะมาราธอน เขาวิ่งได้ 3 ชั่วโมง 36 นาที 10 วินาที (pace 5.07 / km.) ในปี 2007 และในปี 2014 นักวิ่งสาวชาวเยอรมัน Anne-Marie Flammersfeld บันทึกสถิติของสตรีไว้ที่ 4 ชั่วโมง 52 นาที 45 วินาที (pace 6.56 / km.) สำหรับนักวิ่งที่ลงแข่งรายการนี้มากที่สุด โดยเขามาร่วมการแข่งขันตั้งแต่ปี 2004 เรื่อยมาจนถึงปี 2018 รวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง นั่นคือ Paul Grealish ชาวไอร์แลนด์
สามนักวิ่งพิการทางสายตาที่สามารถพิชิตรายการนี้ ได้แก่
1.Mark Pollock ชาวไอร์แลนด์ ปี 2004
2.Jamie Cuthbertson ชาวเยอรมัน ปี 2010 และ
3.Sui Wai Leung ชาวฮ่องกง ในปีที่ผ่านมา 2018
นอกจากนี้ในปี 2007 ยังมี William Tan ผู้เข้าแข่งขันในประเภท Wheelchair ที่สามารถจบระยะมาราธอนสุดหนาวเหน็บนี้ไปได้
ไม่มีใครแก่เกินที่วิ่ง
นักวิ่งสูงวัยที่สุดที่มาร่วมแข่งรายการนี้ คือ Michel Ribet จากฝรั่งเศส เขามีอายุ 78 ปี เมื่อมาท้าทายการแข่งขันนี้ในปี 2016 และผู้หญิงที่อายุมากที่สุด Kenwynne Barber จากสหราชอาณาจักร มาร่วมการแข่งขันในปี 2006 ตอนเธออายุ 66 ปี
หากคุณอยากไปร่วมการแข่งขันรายการนี้ต้องทำอย่างไร
สิ่งหนึ่งที่คุณต้องมีคือ ทุนทรัพย์ เพราะรายการนี้มีค่าสมัครการแข่งขันอยู่ที่ 16,000 EUR หรือประมาณ 563,360 บาท ซึ่งทางผู้จัดงานแจกแจงรายละเอียดไว้ครบถ้วนว่าเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนใดบ้าง
- ค่าเครื่องบิน ไปกลับ เดินทางจากเมือง Svalbard ประเทศนอร์เวย์ ไปยัง North Pole camp
- ค่าอุปกรณ์ และบริการอำนวยความสะดวกต่างๆ
- ค่าสมัครเข้าแข่งขัน FWD North Pole Marathon
- ค่าเดินทางโดยสารโดย Helicopter ในพื้นที่ขั้วโลกเหนือ
- โอกาสที่คุณจะได้ยืนอยู่ในจุดที่เหนือที่สุดของโลก
- ค่าเสื้อ เหรียญ Certificated และของที่ระลึกต่างๆ
- ภาพถ่ายจากช่างภาพมืออาชีพ
- การสนับสนุนทางการแพทย์ตลอดงาน
- ประกันอุบัติเหตุ เพื่อขนส่งผู้บาดเจ็บอย่างเร่งด่วน
ยังไม่ร่วมค่าเครื่องบินเดินทางจากกรุงเทพไปยัง นอร์เวย์ และค่าโรงแรมที่พักอื่นๆ ประมาณ 30,000 บาท รวมแล้ว คุณต้องใช้เงินประมาณ 600,000 บาท เพื่อให้ถูกจารึกว่าเป็น 1 ในผู้พิชิตมาราธอนที่ขั้วโลกเหนือ ส่วนการฝึกซ้อมไม่ได้มีอะไรยากเป็นพิเศษ สามารถประยุกต์การซ้อมมาราธอนประมาณ 15-20 สัปดาห์ได้เลย
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ถ้าเพื่อนๆ ที่สนใจอยากไปลงงานนี้ ลองแวะเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.npmarathon.com
และในปี 2019 นี้ เอฟดับบลิวดี ประเทศไทย (FWD Thailand) จะส่งตัวแทนคนไทยคนแรก คือ คุณ ป๊อก อิทธิพล สมุทรทอง (นักวิ่งที่วิ่งเคียงคู่กับพี่ตูนตลอดเส้นทาง เบตง – แม่สาย) ผู้ชายวัย 51 ที่จะไปเอาชนะความกลัว ไปร่วมวิ่งกับตัวแทนเอฟดับบลิวดี อีก 6 ประเทศ โดยการวิ่งครั้งนี้จะเป็นการสู้กับความหนาว และสู้กับตัวเอง Challenge ตัวเองอย่างแท้จริง (A race of your own) พี่ป๊อกจะออกเดินทางจากเมืองไทยเพื่อไปเตรียมตัว ในวันที่ 3 เมษายน 2019 แล้วทำการวิ่งจริงในวันที่ 9 เมษายน 2019 (Norway date and time)
คอยติดตามความท้าทาย และชมภาพบรรยากาศได้ที่ FWD Thailand
#FWDNorthPoleMarathon2019
#วิ่งส่งใจไปนอร์ทโพลทุกโลเพื่อน้อง
#FWDThailand