[Initial Review] Nike Zoom Fly Flyknit ???
รุ่นที่ major change ของรุ่น racing ยอดนิยมเดิมอย่าง Zoom Fly จากที่เคยลงข้อมูลเบื้องต้น ไว้ที่โพสต์ https://goo.gl/Pr3L3D (ถ้ายังไม่เคยอ่าน แนะนำเลย)
คราวนี้ ลองมาดู first impression ในมุมมองของเรากันบ้างดีกว่า
– – – – –
☑️ Zoom Fly รองเท้าวิ่งสาย racing
Zoom Fly เป็นรองเท้าแนว racing เน้นทำความเร็ว “วิ่งเร็วสนุก” ขณะที่ “วิ่งช้าไม่สนุกเลย” และ คอนเซ้ปพยายามลดน้ำหนักให้เบาที่สุด แลกกับความทนทานที่ลดลง (สำหรับการลงเท้าบางแบบ)
จุดเด่น คือ พื้นโค้ง (rocker shape) ถ่ายน้ำหนัก (foot transition) ได้ราบรื่นมาก
ออกแบบ แนวสุดโต่ง ไม่ใช่ racing แนวที่เคยออกแบบกันมา (racing ปรกติมักจะพื้นบางๆ) นี่พื้นหนา คอนเซ็ปท์แนวเดียวกันกับ VaporFly Elite ที่ใช้ในโครงการ Breaking2 หรือ วิ่งมาราธอนให้เร็วกว่า 2:00 ชม
ถ้าปรับตัวเข้ากับได้ ความเร็วได้ (เพซ 6:00 นาที/กม หรือเร็วกว่า) วิ่งสนุกมาก
ถ้าปรับตัวไม่ได้ หรือ เพซช้า (เพซ 7:00 นาที/กม หรือช้ากว่า) วิ่งไม่สนุกแน่ เหมือน รองเท้าเท้าเป็นภาระมากกว่าตัวช่วย ไม่แปลกถ้าจะไม่ชอบ
(ใส่เดิน ก็ไม่สบาย เหมือนหน้าจะทิ่มตลอด)
ขยายความเรื่อง พื้นทรงโค้ง และ smooth foot transition หมายถึง จากจุดที่สัมผัสพื้น (landing) ไม่ว่าจะลงเท้าตรงไหน ไปสู่หน้าเท้า จังหวะเท้าพ้นจากพื้น (toe off) ได้ราบรื่น และ ผลพลอยได้ คือ รอบขา (cadence) ดีขึ้น ยิ่งประยุกต์ใช้ร่วมกับท่าวิ่งแนว neutral running หรือ pose method โน้มตัวไปข้างหน้า ควงขาให้ทัน วิ่งเพซเร็วหน่อย สนุกมาก
เรื่อง foot transition ไม่ใช่เรื่องใหม่ ตัวอย่างที่ชอบคือ คลิปนี้ ของ Pearl Izumi https://youtu.be/Q8l6xW50dnc น่าเสียดาย ที่ Pearl Izumi เลิกทำสินค้าประเภทวิ่งไปแล้ว
☑️ major change จาก Zoom Fly เดิม
รุ่นใหม่คงโครงเดิมของรุ่นเดิม แล้วมี major change ตามนี้
พื้นโฟม Lunarlon —> React
ผ้า mesh + Fly Wire —> Flyknit
แผ่น carbon ผสม nylon —> carbon fiber ล้วน
ถ้าจะให้ สรุปสั้น คือ Zoom Fly Flyknit ที่หลายคนคิดไว้ว่า คือ Zoom Fly เดิม เปลี่ยนมาใช้ ผ้าถัก Flyknit แค่นั้น
ยังมี การเปลี่ยนโฟม ให้ “นุ่มขึ้น หนึบขึ้น เด้งขึ้น” พร้อมใช้งานตั้งแต่แกะกล่อง (ไม่ต้องนวดให้โฟมนิ่มเหมือน Zoom Fly เดิม)
และ ปรับจาก แผ่น carbon ผสม nylon และมาใช้ carbon fiber (ไม่ผสม nylon) ซึ่งเป็นวัสดุ ที่แข็งขึ้น ดีดขึ้น
☑️ พื้นโฟม Lunarlon —> React เต็มเท้า
โครงสร้างรุ่นนี้ เหมือนรุ่นเดิม คือ มีโฟม 2 ส่วน โครงนอก (carrier) กับ แกน (core) ประกบกันโดยมีแผ่น แผ่น carbon ผสม nylon แทรกตรงกลาง (ดูรูปประกอบ)
รุ่นเดิม โครงนอก เป็น โฟม Lunarlon ที่ออกแนว “แน่น เฟิร์ม” แล้วเริ่ม “นิ่มขึ้น” หลังใช้ไปราว 50 กม ส่วนแกน ทำจากโฟม React แนว “นุ่ม หนึบ เด้ง” (ดูข้อมูลเพิ่มที่หมายเหตุ)
รุ่นใหม่ โครงนอก เป็น โฟม React “นุ่ม หนึบ เด้ง” กว่า โฟม Lunarlon ในรุ่นเดิม แค่จับๆกดๆด้วยมือก็รู้สึกได้ชัดเจนแล้ว ใส่วิ่งก็รู้สึกชัดว่า “นุ่ม หนึบ เด้ง” กว่าเดิม ส่วนแกนยังไม่ชัดเจนว่าทำจากโฟมอะไร (น่าจะ React)
อารมณ์ “คล้าย” Epic React ทั้งที่ Zoom Fly Flyknit หนากว่ามาก
– Epic React พื้นหนา 18/28 มม
– Zoom Fly พื้นหนา 23/33 มม
และ “ใกล้เคียง” Vapor Street แบบมีโครงสร้างกว่า และไม่ยวบเท่า
ส่วนนี้ชอบมาก วิ่งสนุกขึ้น ชัดเจน
☑️ ผ้า mesh + Fly Wire —> Flyknit
ก่อนอ่านต่อ อยากให้อ่านประโยคถัดไป แล้วฝากให้คิดเล่นๆ
Flyknit = ดีขึ้น เสมอไป จริงไหม ??
.
.
.
.
.
รุ่นเดิมเป็น ผ้า mesh บุ 2 ชั้น เสริมด้วย โครงช่วงอุ้งเท้าที่เรียกว่า Flywire
รุ่นใหม่ แทนผ้า mesh กับ Flywire ด้วย ผ้าถัก Flyknit นึกภาพ Epic React Flyknit
หรือ ถ้าให้ใกล้เคียงที่สุด คือ ผ้า Flyknit ที่ใช้เป็น upper ของรุ่น Vapor Street ที่เป็นรองเท้าเวอร์ชั่นลำลอง ของ VaporFly Elite รุ่นที่ Eliud Kipchoge ใส่ทำสถิติโลก (เคยรีวิว Vapor Street ไว้ ว่าวิ่งได้ไหม ที่ลิ้งค์นี้ https://goo.gl/SFDbb2)
ข้อที่ชอบ คือ ได้ความกระชับ นึกภาพใส่กางเกง compression ก็จะเข้ารูปเรา มากกว่ากางเกงขาสั้น
ข้อที่ไม่ชอบ คือ Flywire หายไป ส่วนนี้สำคัญกับ midfoot lockdown หรือ ความกระชับขอบอุ้งเท้า ซึ่งเป็นส่วนหลัก ที่ทำให้เท้ากับรองเท้าเป็นหนึ่งเดียวกัน
รุ่นใหม่พยายม ทดแทนด้วยความกระชับขอเนื้อผ้า ซึ่งเหมือนจะเวิร์ค ในช่วงที่ท่าวิ่งเรายังเป๊ะอยู่ พอเริ่มหมดแรง ลงเท้าเริ่มเพี้ยน เท้าจะปัดมากกว่าเดิม มีโอกาสเท้าเคลื่อน หลุดจาก foot frame (พื้นรองเท้า) ได้มากกว่า รุ่นเดิม โดยเฉพาะเวลาที่วิ่งทำความเร้ง
สังเกตว่า VaporFly 4% เดิม และ Zoom Fly SP ก็มีระบบ Dynamic Fit สำหรับ กระชับอุ้งเท้า (ชอบมาก) แล้ว VaporFly 4% Flyknit ที่ออกมาใหม่ก็เอาออก เจอเรื่อง midfoot lockdown เหมือนกันไหม
เปรียบเทียบ midfoot lockdown ของแต่ละรุ่น
Zoom Fly = Flywire
Zoom Fly SP = Dynamic Fit
VaporFly 4% = Dynamic Fit
Zoom Fly Flyknit = ?
VaporFly 4% Flyknit = ?
ในแง่เนื้อผ้า Flyknit ของ Zoom Fly Flyknit แล้ว จะใกล้เคียง Vapor Street มากกว่า Epic React Flyknit คือใช้เส้นด้ายที่หนากว่า (นิดหน่อย) และกระด้างกว่า
ถ้าใส่แบบไม่ใส่ถุงเท้า ไม่สบาย โดยเฉพาะบริเวณรอบข้อเท้า (ใส่ถุงเท้ามีขอบช่วยได้) ตรงด้านหลังของเอ็นร้อยหวาย ก็เช่นกัน แต่ไม่มากเท่า Epic React ที่ห่วง pull tab สาก และเย็บเข้าไปด้านในรองเท้า (ส่วนตัว คิดว่า คือ design flaw หรือ ออกแบบพลาดของ Epic React เลยส่วนนี้)
☑️ Heel slip ?
ด้วยความเป็นผ้าถัก Flyknit ทั้งชิ้น ไม่มี heel cup (โครงพลาสติก ล็อคส้นเท้า) แม้จะมี แผ่นบุด้านในช่วงรอบข้อเท้าบ้าง การล็อคส้นเท้า จะไม่ดีเท่ารุ่นที่มี heel cup และรุ่นนี้เชือกรองเท้าก็ไม่มีรูเพิ่ม (runner’s loop) สำหรับล็อคส้นเท้าด้วย
จะว่าไป ก็ไม่ถึงกับหลุดส้น (heel slip) อารมณ์ระแวงมากกว่า ในการวิ่งหนแรกๆ ความรู้สึกคล้ายกับตอนที่ใส่ Epic React และ Vapor Street หนแรก
☑️ แผ่น carbon ผสม nylon —> carbon fiber ล้วน
เรื่องนี้หลายคนตื่นเต้น เพราะเหมือนได้ใช้ วัสดุเกรดเดียวกับตัวท็อป VaporFly 4%
และ จากที่เคยจับ “แผ่น” ทั้งสองแบบ ก่อนประกอบ ก็ต่างกันจริงๆ แผ่น carbon ผสม nylon ก็ว่าแข็งมากแล้ว ส่วนแผ่น carbon fiber ล้วน แข็งสุดๆ
เทียบกันเหมือนเอา ช่วงล่าง (suspension) ของรถรุ่นท็อปมาใส่
ส่วนตัว ในการใช้งานจริง ยังไม่รู้สึกถึงความแตกต่างมากนัก (ใครที่ลองแล้ว แชร์ประสบการณ์กันได้นะครับ)
☑️ Neutral racing shoe with narrow footbed
มีถามกันมาเยอะ เท้าบาน เท้าแบน ใส่ได้ไหม ?
Zoom Fly ตั้งแต่รุ่นแรกแล้ว เป็น รองเท้าแนว neutral racing shoe คือ racing + neutral
แยกทีละส่วน
รองเท้าแนว racing หมายถึง รองเท้าทำความเร็วซึ่ง Nike ทำรองเท้าแนว racing ที่เน้นการลงเท้าช่วงหน้าเท้า มากกว่า รุ่นนี้ พื้นรองเท้าช่วงอุ้งเท้าแคบ รวมถึง หน้าเท้าทรง แคบ เรียว มาตลอด รุ่นนี้ก็เช่นกัน
รองเท้า แบบ neutral คือ ไม่มี support สำหรับคนเท้าพลิกเข้าใน (over pronation) คนเท้าแบน (ไม่ทุกคน) คือ กลุ่มที่มักต้องการ support ด้านในของเท้า (หรือ ที่มักเจอคือ อุ้งเท้า)
แน่นอนว่า Zoom Fly ด้วยความเป็น neutral + racing shoe ผลคือ
– ไม่มี support เท้าด้านในเลย
– พื้นช่วงกลางเท้าแคบ คนเท้าแบน อุ้งเท้าจะลอย (ไม่มีพื้นรองเท้า ใต้อุ้งเท้า)
– หน้าเท้า เรียว แคบ
ถ้าอ่านส่วนนี้แล้ว มีบางส่วนไม่เข้าใจ ถามได้ครับ เข้าใจเพราะมีศัพท์เฉพาะทางเยอะ
ส่วนเพื่อนๆ เท้ากว้าง เท้าแบน อ่านเข้าใจแล้ว แต่ก็ยังอยากลองอยู่ดี …
ลองเถอะครับ
#จะได้หายคาใจ ???
☑️ Light weight
ส่วนประกอบหลักอย่างนึง ของ รองเท้า racing คือ ความเบา จะเบามาก จะเบาน้อย ก็ขอให้เบาไว้ก่อน
Zoom Fly (10.5 US) = 9.1 ออนซ์ (257 กรัม)
Zoom Fly Flyknit (10 US) = 9.1 ออนซ์ (257 กรัม)
Zoom Fly SP (10.5 US) = 8.5 ออนซ์ (240 กรัม)
แต่ละคู่มีน้ำหนักต่างกันบ้าง เป็นเรื่องปรกติ ของ manufacturing tolerances หรือ ความคลาดเคลื่อน (ที่ยอมรับได้) ของการผลิต
☑️ พื้นไม่ทน ไปไว ?
รองเท้าแนว racing น้ำหนักเบา อะไรไม่จำเป็นก็ตัดออก เลยแลกกับความทนทานที่น้อยลง อย่าง Zoom Fly ก็เช่นกัน หน้าเท้ามียางเต็มแผ่น ส่วนส้นเท้า แทบไม่มียางเลย (ส่วนตัว คิดว่ายางที่เห็นอาจจะเป็นโฟม outsole grade EVA ด้วยซ้ำ ไม่ทนมาก) รุ่นนี้ ก็ใช้แบบเดิม
Zoom Fly รุ่นเดิม หลายคนบอกว่าพื้นไม่ทน ที่สักเจอกัน คือ พื้นส้นเท้าด้านนอกถลอก จากบางคนลงส้นบางคนลากเท้า (สังเกต วิ่งแล้วเสียงจะดัง ฟึดๆๆ) หรือ เท้าปัด เท้าสะบัด จังหวะควงขา
รุ่นใหม่ เปลี่ยนโฟม จาก Lunarlon เป็น React บางคนบอก น่าจะทนขึ้นไหม (ตามที่ Nike เคยโปรโมท ว่า React นุ่มกว่า เด้งกว่า ทนกว่า Lunarlon)
ส่วนตัวคิดว่า น่าจะเหมือนเดิม คือ ถ้ารุ่นเดิม ถ้าเคยถลอกยังไง รุ่นใหม่ก็จะถลอกอย่างนั้น (ความทน ความหมายของ Nike คือ ใช้ไปแล้ว ไม่ยวบ ไม่ใช่ทนต่อการถลอก)
Zoom Fly พื้นไปไวไหม ส่วนตัวที่เจอ เรื่องถลอกที่ส้น ก็ไม่มากนะ (ขึ้นกับการลงเท้า) อย่างที่เคยลงไว้
– คลิปวิดีโอ เปรียบเทียบพื้น Zoom Fly หลังใช้งาน ไป 200 กม (คู่ที่ใช้ส่วนตัว) https://goo.gl/oS6mgo
– รูปถ่ายเปรียบเทียบ Zoom Fly หลังใช้งานไป 1,300 กม https://goo.gl/P7YVzH
– รูปถ่ายเปรียบเทียบ Zoom Fly SP หลังใช่งานไป 1,500 กม https://goo.gl/kyQu4p
☑️ True to Size – ใส่ตรงไซส์ได้เลย
การเลือกไซส์รองเท้า มีหลายปัจจัยมาก โดยเฉพาะรุ่นนี้ที่ทำด้วยผ้าถักแบบยืดหยุ่น แต่ละคนชอบ “ความกระชับ” ไม่เหมือนกัน ถ้าได้ลองเองจะดีที่สุด ลองดูความเห็นพอเป็น guideline
ส่วนตัว ใส่ตรงไซส์ Nike ปรกติที่ใส่ ไม่ต้องเผื่อเหมือน Zoom Fly รุ่นแรก ช่วงแรกจะรู้สึกกระชับหน่อย ใส่ไปเรื่อยๆจะชินขึ้น
ก่อนลองใส่ครั้งแรก แนะนำให้ คลายเชือกแบบให้สุด ทุกรู ก่อนลอง นึกภาพว่าไม่ให้เชือกตึงเลยสักช่องเดียว แล้วใส่เหมือนใส่ถุงเท้า
ตัวอย่างไซส์รองเท้าวิ่งที่ใส่ (เท้ากว้าง 2E และ เท้าแบน)
Pegasus 35 = 10 US
Pegasus 35 Turbo = 10 US
Zoom Fly = 10.5 US
Zoom Fly SP = 10.5 US
Vapor Street Flyknit = 10 US
Epic React Flyknit = 10.5 US
VaporFly 4% = 10 US
Lunar Epic = 10 US
Lunar Flyknit 3 = 10 US
เทียบกับรองเท้าค่ายอื่น
adidas Ultra Boost = 10 US
adidas Adios Boost = 10 US
adidas Sub 2 = 10 US
adidas Pure Boost DPR = 9.5 US
adidas Prime Boost = 10 US
Asics Nimbus 20 = 10 US
On Cloud = 9.5 US
Newton = 10 US
Hoka One One = 10 US
Under Armour = 10 US
Saucony Freedom ISO = 10.5 US
Saucony Freedom ISO 2 = 10 US
Brooks Lavitate = 10 US
เรื่องไซส์ ยังไงถ้ามีโอกาสได้ลองเองจะดีที่สุด
ทางเลือกนึง คือ สั่งออนไลน์ จากเว็บไซต์ Nike Thailand ที่สามารถคืนได้ แถมคืนฟรีด้วย สำหรับสมาชิก Nike+ (ซึ่งก็สมัครฟรี)
☑️ เทียบกับ Epic React Flyknit หรือ Pegasus Turbo
คนละแนวกันเลย
Epic React Flyknit และ Pegasus 35 Turbo เป็นรองเท้าแนว light weight trainer “เบา นุ่ม วิ่งสนุก” ใช้งานได้อเนกประสงค์ วิ่งระยะสั้น ระยะไกล วิ่งช้า วิ่งเร็ว ได้หมด
ใช้ได้ตั้งแต่ คนเพิ่งหัดวิ่ง ไปยัน นักวิ่งมืออาชีพ
ตัวอย่าง เช่น คุณบุญถึง นักวิ่งมาราธอนทีมชาติไทย ก็ใส่ Pegasus 35 Turbo แข่งเอเชี่ยนเกมส์ที่ผ่านมา หรือ นักวิ่งมาราธอนระดับโลก Mo Farah ก็เคยเห็นใช้ Pegasus 35 Turbo ซ้อม
ขณะที่ Zoom Fly Flyknit เป็นรองเท้าแนว racing ใส่วิ่งเร็วสนุก วิ่งช้าไม่สนุกเลย
เทียบกับถ้าใช้งาน วิ่งเร็ว Zoom Fly Flyknit สนุกกว่า
วิ่งเพซช้า Zoom Fly Flyknit ไม่สนุกเลย
(แถม พื้นโค้งๆ หนาๆ ถ้าเพิ่งหัดวิ่ง โอกาสไม่ชอบมากกว่าชอบ)
โดยสรุป ตามคาด คือ เป็น major upgrade ของ Zoom Fly รุ่นเดิม
– ชอบพื้น React “นุ่ม หนึบ เด้ง” ดีกว่ารุ่นเดิมชัดเจน
– แผ่น carbon fiber plate ยังไม่รู้สึกถึงความแตกต่างมากนัก
– ผ้า Flyknit หลายคนน่าจะชอบ กระชับ
ส่วนตัวอยากได้ upper แบบ Zoom Fly SP หรือ VaporFly 4% รุ่นแรก มากกว่า เพราะให้น้ำหนักเรื่อง midfoot lockdown (สำคัญเวลาทำความเร็ว)
เป็นรองเท้า neutral racing shoe ทรงเรียว และ ไม่มี support อุ้งเท้า (จำเป็นสำหรับคนเท้าแบนบางคน)
น้ำหนักเบา ใกล้เคียงรุ่นเดิม ใส่ตรงไซส์ได้ (ไม่ต้องเผื่อไซส์เหมือนรุ่นที่แล้ว)
พื้นโค้ง และ หนา สำหรับคนไม่เคยใช้รุ่นเดิม อาจจะต้องใช้เวลาปรับตัวช่วงแรกนิดนึง
วิ่งเร็วสนุก วิ่งช้ามีตัวเลือกอื่นที่วิ่งสนุกกว่า
วางขายเมืองไทย พฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม นี้
☑️ Nike shop
☑️ Supersports
☑️ Ari Running Concept Store
☑️ ออนไลน์ ทางเว็บไซต์ Nike Thailand
ผู้ชาย :
“Black / Crimson / Orange” ตามรูป
“Pure Platinum / Crimson” https://goo.gl/qGLRXR
ผู้หญิง :
“Glacier Blue / Teal” https://goo.gl/J81cMX
ราคาป้าย 5,800 บาท (รุ่นเดิม 5,500 บาท)
#nike #nikerunning #nikeshoes #nikethailand #NikeTH #nikeSEA#NRCBKK Nike+ Run Club Nike Supersports Playground360Sports Revolution
หมายเหตุ
โพสต์นี้ เขียนตอนได้ใส่วิ่งไปได้ระยะไม่มากพอที่จะเป็น performance review ตัวเต็ม แต่เชื่อว่าหลายคนอยากรู้ข้อมูลเบื้องต้นกันแล้ว เลยมาแชร์ first impression กัน ใครได้ลองใช้งานแล้ว มาแชร์ประสบการณ์กันได้นะครับ
ใครที่เคยใช้ Lunarlon ยุคนานมาแล้ว (ก่อนปี 2015) ให้ลืมภาพ Lunarlon ยุคเดิมที่ “นุ่มมาก” และ “ยวบ & ไม่เด้งคืนตัว” โฟม Lunarlon หลังๆ มาปรับเป็น “แน่น”
ส่วนตัวใช้ Zoom Fly รุ่นเดิม (ดูรูปในคอมเม้น) ซ้อม และแข่ง Osaka Marathon 2017 ปีที่แล้ว
รุ่น Zoom Fly เดิม Nike พูดถึงแค่ โฟม Lunarlon เพิ่งมา มาบอกว่า มีใส่ React มาด้วย เป็นแกน ที่ถูกหุ้มโฟม Lunarlon อีกที (นาที 4:01 https://youtu.be/Upll4oiliw4) ไม่นานมานี้ และ จากที่เคย model แยกชิ้นส่วน ก็ยืนยันว่าเป็นแกน React
และ อย่าลืมว่า รองเท้าที่ “ดีที่สุด” สำหรับคนอื่น ไม่ใช่รองเท้าที่ “เหมาะที่สุด” สำหรับเราเสมอไป
อ่านเพิ่มเติม
ใครยังสับสนกับรุ่นที่ชื่อคล้ายกัน
Zoom Fly // Zoom Fly SP // Vaporfly 4% // Vaporfly 4% Elite // Vapor Street
เราเปรียบเทียบให้ไว้แล้วที่โพสต์ https://goo.gl/fw5Vkq
ส่วนความเหมือนความต่าง ของ Zoom Fly และ Zoom Fly SP (รวมถึง Zoom Fly SP Fast) https://goo.gl/N1tSMR
Zoom Fly รุ่นพิเศษ Mercurial FlyKnit Off-White
https://goo.gl/Hs1sTj
Vapor Street ในแง่ ถ้าลองเอามาใส่วิ่ง
https://goo.gl/x34AUT