น้ำมันปลาและโอเมก้า 3 (Omega 3) มีประโยชน์จริงหรือไม่
หลายคนคงเคยได้ยินข้อโต้แย้งในเรื่องการรับประทานน้ำมันปลาและโอเมก้า 3 กันมาบ้าง เสียงความคิดเห็นส่วนหนึ่งแนะนำให้ทานสองสิ่งนี้เป็นประจำเพราะมีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย แต่ก็มีบางความคิดเห็นที่เห็นต่างอ้างว่าการรับประทานสองสิ่งนี้ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ แล้วข้อเท็จจริงคืออะไรกันแน่? บทความนี้เราจะชวนมาอ่านข้อมูลงานวิจัยที่พูดถึงข้อโต้แย้งเรื่องนี้
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับน้ำมันปลา
- น้ำมันปลามี โอเมก้า 3 (Omega 3) วิตามิน A และ วิตามิน D
- โอเมก้า 3 ที่อยู่ในน้ำมันปลา อาจมีคุณสมบัติในการปกป้องดูแลหัวใจ และมีประโยชน์ทางสุขภาพในด้านอื่นๆ
แต่ผลการวิจัยกลับแสดงผลลัพท์ที่แตกต่างกันไป - การกินปลา คือวิธีที่ดีที่สุดที่เราจะได้รับน้ำมันปลาและโอเมก้า 3 และเป็นวิธีที่ดีกว่าการทานพวกอาหารเสริม
กรดไขมันโอเมก้า 3 คืออะไร
กรดไขมันโอเมก้า 3 คือไขมันที่พบได้ทั้งในพืชและเนื้อสัตว์ทะเล โดยจะมีอยู่สองประเภทที่พบได้มากในอาหารทะเลคือ
1) Eicosapentaenoic acid (EPA) – เป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด
มันจะช่วยสังเคราะห์สารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดและการอักเสบ
พวกปลาจะได้รับ EPA มาจากตะไคร่น้ำที่กินเข้าไป
2) Docosahexaenoic acid (DHA) – สำหรับมนุษย์แล้ว DHA เป็นส่วนหนึ่งของน้ำเชื้ออสุจิ จอตา (Retina)
เป็นส่วนประกอบของดวงตา เปลือกสมอง เราสามารถพบ DHA ได้ทั่วทั้งร่างกาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมอง ตา หัวใจ และในน้ำนมแม่
ประโยชน์ทางสุขภาพ
บางงานวิจัยได้ค้นพบประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพจากไขมันปลาและโอเมก้า 3 แต่บางงานวิจัยที่ทำการทดลองแล้วก็ยังไม่พบประโยชน์อะไรเลย ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละงานวิจัย
ต่อไปเรามาดูข้อมูลงานวิจัยที่พูดถึง 11 ประโยชน์ของน้ำมันปลาและโอเมก้า 3 กัน
1. โรคปลอกประสาทเสื่อม (Multiple sclerosis)
ว่ากันว่าน้ำมันปลานั้นดีต่อคนที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อม หรือโรค MS เนื่องจากมีคุณสมบัติในการปกป้องสมองและระบบประสาท แต่ก็มีบางงานวิจัยที่พบว่าน้ำมันปลาไม่ได้ช่วยอะไรเลย
2. มะเร็งต่อมลูกหมาก
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า การได้รับน้ำมันปลาควบคู่กับการทานอาหารไขมันต่ำ จะลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ แต่ก็มีงานวิจัยอื่นพบว่าระดับโอเมก้า 3 ที่สูงขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากให้สูงตาม
ผลการวิจัยที่เผยแพร่ลงในวารสาร Journal of the National Cancer Institute บอกว่า การได้รับน้ำมันปลาเป็นจำนวนมากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากขั้นสูง 70% และมะเร็งต่อมลูกหมากทั่วไป 43%
3. โรคซึมเศร้าที่เกิดหลังจากการคลอดบุตร
การรับประทานน้ำมันปลาในระหว่างการตั้งครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าที่เกิดหลังจากการคลอดบุตร นักวิจัยแนะนำให้รับประทานปลาที่มีโอเมก้า 3 สูง จำนวน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ถึงจะเห็นผลที่ดี และควรได้รับโอเมก้า 3 ที่มาจากปลาแทนที่จะได้รับจากอาหารเสริม เพราะจะทำให้ได้รับโปรตีนและแร่ธาตุอื่นๆ
4. สุขภาพจิต
ผลการวิจัยในปี ค.ศ.2007 พบว่า น้ำมันปลาสามารถช่วยคนวัยหนุ่มสาวที่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรมโดยเฉพาะกลุ่มคนที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD)
เด็กที่ได้รับ EPA ปริมาณ 8 กรัม และ DHA ปริมาณ 16 กรัมต่อวัน จะมีความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งวัดผลโดยผู้ปกครองและจิตแพทย์ที่เข้าร่วมการวิจัย
5. ช่วยเพิ่มความจำ
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร PLoS One พบว่า การได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นประจำ สามารถช่วยเพิ่มความจำได้ในกลุ่มผู้ใหญ่ที่ยังเป็นหนุ่มสาว แต่ก็มีบางงานวิจัยพบว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 ไม่ได้ช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้หญิงสูงอายุ
6. ประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือด
กรดไขมันโอเมก้า 3 อาจช่วยปกป้องหัวใจในช่วงที่เรามีปัญหาทางสุขภาพจิต ผลการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร American Journal of Physiology ระบุว่า คนที่ได้รับอาหารเสริมโอเมก้า 3 ต่อเนื่องกัน 1 เดือนจะมีสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้นในช่วงที่จิตใจต้องเจอกับความเครียด
ในปี 2012 นักวิจัยระบุว่า น้ำมันปลาสามารถช่วยต่อต้านอาการอักเสบได้ ช่วยให้อาการของโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจคงที่ได้
ในขณะที่อีก 20 งานวิจัยซึ่งมีอาสาสมัครรวมกันกว่า 70,000 คน กลับไม่พบหลักฐานว่า น้ำมันปลาช่วยลดโอกาสการเป็นโรคหัวใจ หัวใจวาย และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
สำหรับในกลุ่มคนที่มีขดเลือดในหัวใจซึ่งได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดและได้รับโอเมก้า 3 มีการวิจัยค้นพบว่า มันจะช่วยลดความเสี่ยงของอาการหัวใจวายเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับโอเมก้า 3
สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาแนะนำว่าควรรับประทานปลา โดยเฉพาะปลาที่มีโอเมก้า 3 อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อลดโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
7. โรคอัลไซเมอร์
ที่ผ่านมาเป็นที่เชื่อกันว่า น้ำมันปลาสามารถปกป้องเราจากโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่ผลการวิจัยในปี 2010 กลับพบว่ามันไม่ได้ช่วยอะไร ในขณะที่เมื่อปี ค.ศ.2007 มีผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Neurology พบว่า การรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 สามารถปกป้องเราจากภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์
8. ป้องกันการสูญเสียการมองเห็น
การวิจัยจากแคนาดาพบว่า การได้รับ DHA เป็นประจำจะช่วยป้องกันการสูญเสียการมองเห็นซึ่งเกิดจากความชรา
9. โรคลมบ้าหมู
ผลการวิจัยในปี 2014 ที่เผยแพร่ลงในวารสาร Journal of Neurology, Neurosurgery & Psychiatry บอกว่า ผู้ป่วยโรคลมบ้าหมูจะมีอาการชักน้อยลง หากได้รับโอเมก้า 3 ทุกวัน แต่รับประทานในปริมาณที่น้อย
10. โรคจิตเภท
ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications ค้นพบว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 ที่พบในน้ำมันปลาอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคทางจิตได้ หากได้รับไอเมก้า 3 ติดต่อกัน 12 สัปดาห์ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ในระยะยาว
11. การพัฒนาด้านสุขภาพของทารกในครรภ์
การวิจัยในปี 2008 พบว่า การได้รับโอเมก้า 3 อาจจะมีส่วนช่วยพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ นักวิจัยพบว่าเมื่ออาสาสมัครได้รับโอเมก้า 3 เป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกัน ทารกในครรภ์จะมีการพัฒนาในด้านประสาทสัมผัส ปัญญา กระดูก และกล้ามเนื้อ
อาหารที่มีโอเมก้า 3
ในเนื้อปลาที่มีไขมันปลาจะมีปริมาณไขมันอยู่ถึง 30% เลยทีเดียว แต่ว่าปลาบางชนิด เช่น ปลาคอด จะไม่ค่อยมีไขมันปลาอยู่ในเนื้อ แต่จะไปรวมกันที่ตับของพวกมัน ปลาที่มีไขมันปลาอยู่เยอะก็มี แองโชวี่ แฮร์ริ่ง ซาร์ดีน แซลมอน ปลาเทราต์ และปลาแมกเคอเรล
แหล่งโอเมก้า 3 ที่มาจากสัตว์ คือ ไข่ไก่ โดยเฉพาะกล่องที่เขียนว่ามีโอเมก้า 3
นอกนั้นยังมีผักก็มีโอเมก้า 3 อยู่ด้วย เช่น เมล็ดแฟลกซ์ น้ำมันเพริล สาหร่ายเกลียวทอง วอลนัท เมล็ดเชีย ใบโหระพาสด ผักใบเขียวเข้มอย่างผักขม ทารากอนแห้ง เป็นต้น
ความเสี่ยง
การรับประทานน้ำมันปลา น้ำมันตับปลา และอาหารเสริมโอเมก้า 3 อาจมีความเสี่ยงสำหรับคนบางคน
- โอเมก้า 3 อาจทำให้เลือดแข็งตัว และรบกวนยาต่อต้านอาการแข็งตัวของเลือด
- บางครั้งอาจมีผลข้างเคียงกับระบบทางเดินอาหาร เช่น การเรอ อาหารไม่ย่อย มีอาการท้องเสีย
- น้ำมันตับปลามีวิตามิน A และ D สูง หากทานมากเกินไปจะเป็นพิษต่อร่างกายได้
- คนที่แพ้อาหารประเภทปลาและหอย ก็อาจจะมีความเสี่ยงเมื่อได้รับโอเมก้า 3
- การได้รับน้ำมันปลามากๆ อาจจะทำให้เราได้รับพิษ ซึ่งมาจากมลภาวะในทะเลด้วย
องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาไม่มีการเข้าไปควบคุมคุณภาพหรือความบริสุทธิ์ของอาหารเสริม ดังนั้นควรซื้ออาหารเสริมจากแบรนด์ที่ไว้ใจได้เท่านั้น และหากเป็นไปได้เราก็ควรได้รับโอเมก้า 3 จากอาหาร
สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา แนะนำให้รับประทานกุ้ง ทูน่ากระป๋องเล็ก แซลมอน ปลาโพล็อค และปลาดุก เพราะมีปรอทน้อย และยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงเนื้อปลาฉลาม ปลาดาบ ปลาอินทรี ปลาไทล์ฟิช เพราะมีปรอทสูง
ตอนนี้ยังไม่มีบทสรุปแน่ชัดว่า การรับประทานน้ำมันปลาและโอเมก้า 3 มากขึ้น มีประโยชน์ต่อร่างกายจริงๆหรือไม่ แต่การรับประทานอาหารหลากหลายนั้นดีต่อสุขภาพแน่นอน ใครที่อยากจะซื้ออาหารเสริมก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุด
ที่มา : https://bit.ly/2yzc9ou
ไม่พลาดทุกกิจกรรม วิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา
กด #Seefirst และ #Following กันไว้ ที่
?facebook.com/wheretorunwhentoride
ค้นหางานแข่งวิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา ทั่วไทย
ง่าย สะดวก พร้อมบทความสาระดีๆ ที่
?www.vrunvride.com
อัพเดท Running, Cycling,
Triathlon, Gadget, Food ได้ที่
?instragram.com/vrunvride
มาซ้อม วิ่ง ?♂ปั่น ?♂ว่าย ?♂ให้สนุกกันที่
?strava.com/clubs/vrunvride
[AD]
?บัตรเครดิต KTC ตัวจริงเรื่องกีฬา
แลกรับส่วนลดเพิ่มสูงสุด 15% พร้อมแบ่งชำระ 0%
นานสูงสุด 10 เดือน ที่ Supersports ทุกสาขา
? bit.ly/CRCSPORTS
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming