ความนิยมของคำแนะนำที่ว่าคนเราควรเดินอย่างน้อยวันละ 10,000 ก้าว นั้นถือกำเนิดขึ้นในช่วงเวลาปี ค.ศ.1960 โดย ดร.โยชิโร่ ฮาทาโนะ ซึ่งมีความเป็นห่วงในเรื่องของจำนวนคนที่เป็นโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้นในประเทศญี่ปุ่น เขาจึงออกเดินทางเพื่อค้นหาวิธีการง่ายๆที่จะช่วยในการคำนวนแคลอรี่ที่ถูกเผาผลาญ เพื่อช่วยให้ผู้คนหันมาทำตัวแอคทีฟกันมากขึ้น , น้ำหนักลดลง และมีสุขภาพที่ดีมากขึ้น
โดยเขา และทีมวิจัยของเขาได้พบว่า ถ้าหากคนเราเพิ่มการเดินในแต่ละวันมากขึ้นจากที่เคยน้อยกว่า 5,000 ก้าวไปเป็น 10,000 ก้าวหรือมากกว่านั้น น่าจะช่วยเผาผลาญพลังงานเป็นจำนวน 20% ของปริมาณแคลอรี่ทั้งหมดที่ร่างกายรับเข้ามาในวันนั้น ซึ่งจะนำไปสู่การลดน้ำหนัก โดยทั้งคอนเซ็ปต์นี้ เครื่องนับก้าว (pedometer) ได้กลายเป็นที่นิยมไปทั่วโลกในเวลาต่อมาสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบ เมื่อเรามองสูตรนี้ในมุมมองของนักวิ่ง จำนวนก้าวที่คนแต่ละคน ต้องเดินนั้นควรขึ้นอยู่กับ ระดับสุขภาพ, น้ำหนัก, เป้าหมาย และสถานการณ์ในชีวิตของคนๆนั้น นี่คือ สิ่งที่เพื่อนๆ ทุกคนควรพิจารณาไปด้วยในตอนที่กำลังเดินอยู่
ถ้าหากเพื่อนๆเป็นนักวิ่งที่กำลังมีความต้องการที่จะลดน้ำหนัก และเป็นคนที่ซ้อมวิ่งละ 1-2 ไมล์ (1.6-3.2 กิโลเมตร) เป็นจำนวนสามวันต่อสัปดาห์ และมีการฝึก cross-training ในวันที่เหลือ , การตั้งเป้าหมายว่าจะเดินวันละ 10,000 ก้าวถือว่ามีประโยชน์ในการสร้างแรงบันดาลใจในการที่จะออกกำลังกายและเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี่ของเราเพื่อลดน้ำหนัก และเพื่อที่จะทำตามเป้าหมายให้สำเร็จในการลดน้ำหนัก , การตั้งเป้าเดินวันละ 10,000 ก้าวทุกวันก็ถือว่าเป็นวิธีการที่ดีสำหรับเรา
อย่างไรก็ตามถ้าหากเพื่อนๆเป็นนักวิ่งที่มีประสบการณ์ในการวิ่งสะสมระยะทางมามากแล้ว แต่ต้องนั่งติดเก้าอี้แทบจะตลอดเวลาในตอนอยู่ที่เรากำลังอยู่ในที่ทำงานเพื่อนๆก็ควรมีเป้าหมายในการเดิน 10,000 ก้าวต่อวันให้ได้ เพื่อให้ไปลดความเสี่ยงต่างๆที่สูงขึ้นเพราะชีวิตการทำงาน (เช่น การนั่งไม่ถูกท่า , อาการบาดเจ็บจากการที่กล้ามเนื้อและข้อต่อไม่มีความสมดุล , ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ เป็นต้น)
อ้างอิงข้อมูลจากทีมงานวิจัยของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยเท็กซัสตะวันตกเฉียงใต้ ในทุก 1 ชั่วโมงที่เรานั่งมันจะไปหักล้างผลดีจำนวน 8% ที่ได้จากการวิ่งหนึ่งชั่วโมง สมมุติว่าเมื่อเช้านี้เราวิ่งไป 1 ชั่วโมง แต่เรานั่งทำงาน 10 ชั่วโมง ก็จะไปลดประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพที่เราได้รับจากการวิ่งออกกำลังกายเมื่อเช้าไปถึง 80% ในกรณีแบบนี้จะเป็นการฉลาด ถ้าหากเรามีเป้าหมายในการเพิ่มจำนวนก้าวเข้าไปในช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำงาน เช่น การขึ้นลงบันได , เดินไปมาระหว่างคุณโทรศัพท์, เดินเป็นระยะไกลเพื่อเข้าห้องน้ำ, เดินไป จัดตารางประชุมไป , หรือไม่ก็ลุกขึ้นยืนและเดินสักร้อยก้าวในแต่ละชั่วโมง เป็นต้น
แม้แต่วันพักในตารางการซ้อมของเรา เราก็อาจจะทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวทั่วไป เช่น ใช้เวลา 20-30 นาทีในการเล่นโยคะ , เดินระยะสั้น ตามด้วยการใช้ Foam Rolling และการยืดตัว ก็จะสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อ และข้อต่อมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้โดยไม่ไปเพิ่มความตึงเครียดให้กับร่างกาย สามารถฟื้นตัวและฝึกไปพร้อมๆกัน
คอนเซ็ปต์ในการเดินวันละ 10,000 ก้าว จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการหันมาทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวเป็นประจำเพื่อการลดน้ำหนัก, ควบคุมน้ำหนัก และเพื่อสุขภาพโดยรวม สำหรับนักวิ่งแล้วคอนเซ็ปต์นี้ มันเป็นเหมือนเครื่องนำทางที่มีประโยชน์ที่สามารถเอาไปประยุกต์ให้เข้ากับแผนการซ้อม และชีวิตประจำวันของเรา
แหล่งที่มา :
ไม่พลาดทุกกิจกรรม วิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา
กด #Seefirst และ #Following กันไว้ ที่
facebook.com/wheretorunwhentoride
ค้นหางานแข่งวิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา ทั่วไทย
ง่าย สะดวก พร้อมบทความสาระดีๆ ที่
www.vrunvride.com
อัพเดท Running, Cycling,
Triathlon, Gadget, Food ได้ที่
instragram.com/vrunvride
มาซ้อม วิ่ง ปั่น ว่าย ให้สนุกกันที่
strava.com/clubs/vrunvride
[AD]
บัตรเครดิต KTC ที่สุดของคอกีฬาตัวจริง
รับส่วนลดแบรนด์กีฬาชั้นนำสูงสุด 25% Nike, ASICS, Under Armour สนใจสมัครบัตร
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming