วันอาทิตย์, กันยายน 24, 2023
  • Login
  • หน้าแรก
  • บทความ
    • วิ่งมาราธอน
    • ปั่นจักรยาน
    • ไตรกีฬา
    • สุขภาพ
  • Review
  • News
  • Training
  • Stories
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี
  • หน้าแรก
  • บทความ
    • วิ่งมาราธอน
    • ปั่นจักรยาน
    • ไตรกีฬา
    • สุขภาพ
  • Review
  • News
  • Training
  • Stories
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี
No Result
View All Result
Home Fitness & Health

Athlete’s Heart ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวที่เกิดจากการเล่นกีฬา

Thip by Thip
09/07/2019
in Fitness & Health
0
Athlete’s Heart ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวที่เกิดจากการเล่นกีฬา
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Athlete’s Heart ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวที่เกิดจากการเล่นกีฬา

เมื่อเราออกกำลังกาย เราคาดหวังให้กล้ามเนื้อ เช่น ไหล่ อก หน้าท้อง ชัดเจนกลายเป็น Six Pack ที่ใครเห็นก็น่าหลงใหล แต่อย่าลืมว่ามีอีกหนึ่งกล้ามเนื้อที่ขยายใหญ่ขึ้นได้เช่นกัน นั่นคือ กล้ามเนื้อหัวใจ

หากเราออกกำลังกายคล้ายกับนักกีฬา ตัวอย่างเช่น มีการออกกำลังกายหนักทุกวันมากกว่า  1 ชั่วโมงขึ้นไป ก็อาจทำให้เราเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวที่เกิดจากการเล่นกีฬา หรือ Athlete’s Heart ได้

Athlete’s Heart เกิดจากอะไร?

ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อเราออกกำลังกาย ทำให้หัวใจมีการสูบฉีดเลือดมากขึ้นกว่าเวลาปกติ อัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก ความดันโลหิตจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายและล่างขวาหนาตัวขึ้น เพื่อรองรับการทำงานหนักนั่นเอง ถือเป็นกลไกการปรับตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ไม่ได้จัดเป็นโรคร้ายแรงแต่อย่างใด

หากเป็น Athlete’s Heart จะตรวจพบอะไรได้บ้าง?

หากไปตรวจร่างกายจะพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจในขณะนั่งพักจะต่ำกว่าคนทั่วไป หรืออยู่ประมาณ 40-60 ครั้งต่อนาที (คนทั่วไปมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ 60-80 ครั้งต่อนาที) เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดีมาก จึงไม่จำเป็นต้องบีบตัวหลายครั้ง แต่เลือดก็ยังไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ตามปกติ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติได้

สามารถแยกโรค Athlete’s Heart กับโรคกล้ามเนื้อหัวใจโตชนิดอื่นได้หรือไม่?

ถึงแม้ athlete’s heart จะจัดอยู่ในกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจโตเช่นเดียวกับโรคอื่นๆ แต่จะไม่มีอาการใดๆที่ร่างกายแสดงออกมา เนื่องจากเป็นกลไกการปรับตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเท่านั้น หากเป็นโรคหัวใจชนิดอื่นๆ มักมีอาการผิดปกติร่วมด้วย และสามารถแยกความแตกต่างได้จากการตรวจวินิจฉัยพิเศษต่างๆ เช่น การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (ECHO)

หากเป็น Athlete’s Heart สามารถหายเป็นปกติได้หรือไม่?

เมื่อหยุดออกกำลังอย่างหนักเป็นเวลา 3-6 เดือนแล้ว กล้ามเนื้อหัวใจจะสามารถกลับคืนสู่ปกติเองได้

เราควรออกกำลังกายอย่างไร จึงจะดีต่อสุขภาพอย่างแท้จริง

งานวิจัยหนึ่งพบว่า หากนักกีฬาสกีฝึกสกีให้ไกลขึ้นและเร็วขึ้นกว่าเดิมไปมาก อาจก่อให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นการออกกำลังกายหนักจนเกินไป จึงเป็นการส่งผลเสียต่อหัวใจยิ่งกว่าเดิม รู้อย่างนี้แล้วอย่าเพิ่งโยนรองเท้าผ้าใบทิ้งไปเสียก่อนนะ เพราะอย่างไรก็ตามการออกกำลังกายนั้นส่งผลดีมากกว่าผู้ที่ไม่ออกอยู่แล้ว โดยช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวาน เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และทำให้จิตใจปลอดโปร่ง อารมณ์ดีอีกด้วย

หากเราต้องการมีสุขภาพดี ไม่ได้เป็นนักกีฬาที่ต้องแข่งขันกับใคร แนะนำให้การออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง ที่ยังสามารถพูดคุยเป็นคำได้ในขณะกำลังออกกำลังกาย  เลือกวิธีการออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง เดิน หรือว่ายน้ำ เต้นแอโรบิคอย่างน้อยประมาณ 150 นาทีต่อสัปดาห์ แต่ไม่ควรออกกำลังกายหนักเกิน 300 นาทีต่อสัปดาห์

แต่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนตัวของแต่ละคนด้วย บางคนอาจเกิดโรค บางคนอาจไม่เกิดก็ได้ ส่วนการเล่นกีฬาอย่างหนัก เช่น ปั่นจักรยาน เล่นฟุตบอล รวมไปถึงการวิ่งกลางแจ้งที่ต้องอาศัยความทนทานมากๆ (endurance) จะก่อให้เกิดอันตรายต่อหัวใจได้มากกว่าการออกกำลังกายในฟิตเนส

หากในระหว่างออกกำลังกายมีอาการใจสั่น หน้ามืด เวียนศรีษะ หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก จุกแน่นลิ้นปี่ ให้หยุดการออกกำลังกายทันที เพื่อลดโอกาสการเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้นได้

อ้างอิง

  • Robert Fagard. Athlete’s heart. Heart. 2003 Dec; 89(12): 1455–1461.
  • David L Prior, Andre La Gerche. The athlete’s heart. http://dx.doi.org/10.1136/heartjnl-2011-301329
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิง นฤมล เชาว์สุวรรณ. โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่ไม่ได้เกิดจาก กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด Non-ischemic cardiomyopathy . https://www.rcrt.or.th/RCRT2018/ handouts/by_session_type_and_room/204/204_20_10.30_นฤมล.pdf . 25/06/2019

เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน
? ‍♂️ bit.ly/VRUNGROUP
.
[AD]
แจกจริง แจกหนัก GARMIN, SUUNTO, FITBIT 122 วัน 122 เรือน
เพียงใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต KTC คลิก Bit.ly/KTCBNC122

.
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Tags: athleteAthlete’s HeartExercise Effectนักกีฬาผลกระทบจากการออกกำลังกายออกกำลังกาย
Previous Post

วิ่งรอบโลก : Athens Classic Marathon – ประเทศกรีซ

Next Post

วิ่งรอบโลก : Istanbul Marathon – ประเทศตุรกี

Thip

Thip

Related Posts

อาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

7 รายชื่อ อาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อช่วยลดอาการอักเสบ

13/09/2023
ความจำของกล้ามเนื้อ (Muscle Memory) คืออะไร ทำงานยังไง

ความจำของกล้ามเนื้อ (Muscle Memory) คืออะไร ทำงานยังไง

28/06/2023
พฤติกรรมการทานอาหาร ที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่าช่วยลดน้ำหนักได้จริง

5 พฤติกรรมการทานอาหาร ที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่าช่วยลดน้ำหนักได้จริง

15/03/2023
ซุปเปอร์ฟู้ด (Superfoods) ที่จะช่วยชะลอวัย

6 ซุปเปอร์ฟู้ด (Superfoods) ที่จะช่วยชะลอวัยสำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป

11/03/2023
เคล็ดลับง่ายๆ เพื่อลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น

6 เคล็ดลับง่ายๆ เพื่อลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น

01/03/2023
เอ็นโดรฟินคืออะไร และ 5 วิธีในการเพิ่มเอ็นโดรฟิน

เอ็นโดรฟินคืออะไร และ 5 วิธีในการเพิ่มเอ็นโดรฟิน

27/02/2023
Next Post
วิ่งรอบโลก : Istanbul Marathon – ประเทศตุรกี

วิ่งรอบโลก : Istanbul Marathon – ประเทศตุรกี

ติดตาม และร่วมสนุกไปกับเรา

  • 15.8k Subscribers
  • 1.4k Followers

เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน

บทความน่าสนใจ

สารพัดเรื่องของ กรดโฟลิก (folic acid) ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

สารพัดเรื่องของ กรดโฟลิก (folic acid) ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

by Thip
15/04/2020

6 ท่าออกกำลังกายง่ายๆที่จะทำให้วิ่งได้ดีมากขึ้น

6 ท่าออกกำลังกายง่ายๆที่จะทำให้วิ่งได้ดีมากขึ้น

by Thip
10/06/2019

Adidas เปิดตัวรองเท้าวิ่ง Limited Edition รุ่น Adizero Japan 3 รองเท้าที่ออกแบบโดยคนญี่ปุ่น เพื่อคนญี่ปุ่น

Adidas เปิดตัวรองเท้าวิ่ง Limited Edition รุ่น Adizero Japan 3 รองเท้าที่ออกแบบโดยคนญี่ปุ่น เพื่อคนญี่ปุ่น

by Thip
24/02/2019

‘ซิกน่า’ ส่งออนไลน์แคมเปญ “#เราไม่ทิ้งรัน” กระตุ้นให้คนไทยไม่หยุดออกกำลังกาย พร้อมลุ้นรับรองเท้าในฝัน

‘ซิกน่า’ ส่งออนไลน์แคมเปญ “#เราไม่ทิ้งรัน” กระตุ้นให้คนไทยไม่หยุดออกกำลังกาย พร้อมลุ้นรับรองเท้าในฝัน

by VRUN VRIDE
23/04/2020

6 วิธีง่ายๆที่จะช่วยป้องกันอาการปวดหัวเข่าระหว่างวิ่ง

6 วิธีง่ายๆที่จะช่วยป้องกันอาการปวดหัวเข่าระหว่างวิ่ง

by Thip
21/04/2019

สมัครบัตรเครดิต KTC REV รับส่วนลดสูงสุด 25% แบรนด์ Nike, HOKA, Saucony, REV RUNNR

KTC REV CREDIT CARD
วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี

วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี รวบรวมทุกรายการ วิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา ครอบคลุมทุกรายการแข่งขันไว้ที่นี่ พร้อมข่าวสารวงการวิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา รองเท้าวิ่ง จักรยานเสือหมอบ รถไตรกีฬา ให้เรื่องกีฬาใกล้ตัวคุณ ต้องการประชาสัมพันธ์กิจกรรม การแข่งขันวิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของท่าน

ติดต่อเรา: vrunvride@gmail.com

แท็กยอดนิยม

5K adidas ASICS cycling Exercises Fun Run Health Marathon Nike Nutrition Other Running Road Cycling run runner running Running Guide Running Plan Running Program running shoes Running Training Plan Smart watch workout การวิ่ง งานวิ่ง งานแข่งวิ่ง จักรยาน ตารางซ้อมวิ่ง ท่าออกกำลังกาย นักปั่น นักวิ่ง ปั่นจักรยาน มาราธอน รองเท้าวิ่ง ลดน้ำหนัก วิ่ง วิ่งมาราธอน สุขภาพ ออกกำลังกาย อาดิดาส แผนซ้อมวิ่ง โปรแกรมซ้อมวิ่ง โปรแกรมฝึกวิ่ง โภชนาการ ไตรกีฬา ไนกี้

ประเภทยอดนิยม

  • Cycling (172)
  • Fitness & Health (348)
  • News (779)
  • Review (126)
  • Running (842)
  • Stories (201)
  • Training (349)
  • Triathlon (109)
No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • บทความ
    • วิ่งมาราธอน
    • ปั่นจักรยาน
    • ไตรกีฬา
    • สุขภาพ
  • Review
  • News
  • Training
  • Stories
  • ติดต่อเรา

© WHERE TO RUN WHEN TO RIDE : วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
Loading...