วันพฤหัสบดี, กันยายน 28, 2023
  • Login
  • หน้าแรก
  • บทความ
    • วิ่งมาราธอน
    • ปั่นจักรยาน
    • ไตรกีฬา
    • สุขภาพ
  • Review
  • News
  • Training
  • Stories
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี
  • หน้าแรก
  • บทความ
    • วิ่งมาราธอน
    • ปั่นจักรยาน
    • ไตรกีฬา
    • สุขภาพ
  • Review
  • News
  • Training
  • Stories
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี
No Result
View All Result
Home Review

adidas Ultra Boost 2019 “Refract” ⚪️???

OUTRUN by OUTRUN
29/01/2019
in Review
0
adidas Ultra Boost 2019 “Refract” 
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

adidas Ultra Boost 2019 “Refract” ⚪️???

All New | New Boost Foam | New PrimeKnit 360

3D Heel Frame | Better Midfoot Lockdown | New Torsion System

major change หนแรก ของ Ultra Boost รองเท้าแนว “หนา นุ่ม เด้ง” ที่ใน 5 ปีมานี้ ต้องยอมรับว่า เป็น benchmark ของ นักวิ่งสาย high cushion เปลี่ยนไปเยอะ เปลี่ยนไปมากเลย

1) New Boost Foam - แน่นขึ้น ยวบน้อยลง

1) New Boost Foam – แน่นขึ้น ยวบน้อยลง

ที่ผ่านตา จะเห็นพูดถึง โฟม Boost มากขึ้น 20% ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าสนใจ จะได้ “หนา นุ่ม เด้ง” มากขึ้นไปกว่าเดิมอีก

ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่เรืองใหม่ ปี 2017 เคยออกมาแล้ว รุ่น EQT Support 93/17 โฟม Boost หนามาก หนาสุดๆ หนากว่า Ultra Boost เยอะมาก (ดูรูปประกอบในคอมเม้น) สิ่งที่ตามมา นอกจากความ “หนา นุ่ม เด้ง” ที่เพิ่มขึ้น คือ “หนัก ยวบ” มากขึ้นไปด้วย

ใช่ ที่รุ่น EQT Support 93/17 เป็นรองเท้าลำลอง (เราก็ไม่วาย แอบเอามาลองวิ่งอยู่ดี และก็วิ่งไม่สนุกตามคาด) ยังไงก็สะท้อนอยู่ดี ว่าโฟม Boost เดิม ถึงจะ “หนา นุ่ม เด้ง” ยังไง ก็มีจุด “เหมาะสม” ที่ไม่ควรมากเกินไป ไม่อย่างนั้นจะต้องแลกกับ “หนัก ยวบ” ที่เพิ่มขึ้นตาม

โจทย์นี้ ถ้าทำแบบเดิม ก็ได้ผลลัพธ์แบบเดิม คำถามคือ จะเปลี่ยนอะไรได้บ้าง

ทางนึงคือ ปรับความหนาของ Boost ให้บางลง ก็เบาลง และยวบน้อยลง เช่น Adios Boost รุ่นที่ส่วนตัว ใช้วิ่งระยะ 10-21 กม กำลังดีมาก ทำความเร็วได้ แต่สำหรับ บางคนก็ว่า “นุ่ม รับแรงกระแทก” ที่ลดลง น้อยไปกว่าที่ตัวเองชอบ (ปรกติเลยนะ ที่แต่ละคน จะชอบต่างกัน)

คราวนี้ adidas มาด้วย โฟม Boost โฉมใหม่เลย

คราวนี้ adidas มาด้วย โฟม Boost โฉมใหม่เลย

New Boost Foam แน่นขึ้น ยวบน้อยลง แล้วของแถมคือ เบาลงด้วย

ประเด็น เบาลง ทำให้เพิ่มความหนาขึ้น จาก Ultra Boost ได้มากขึ้นไปอีก อย่างที่ adidas พูดไว้ คือ โฟม Boost มากขึ้น อีก 20% ได้ “หนา รับแรงกระแทก” ได้มากขึ้น เป็นของแถม โดยน้ำหนักแทบจะเท่าเดิม

Ultra Boost 9.5 UK / 10 US = 330 กรัม (11.6 ออนซ์)
Ultra Boost 19 9.5 UK / 10 US = 340 กรัม (12.0 ออนซ์)

ใช่ ที่ว่าก่อนหน้านี้ adidas เคยออกโฟม Boost ที่เบาลง เบาลงมาก ชื่อ Boost Light ที่ใช้ในรองเท้าวิ่งแนว racing รุ่น AdiZero Sub 2

แต่ถือว่าคนละวัตถุประสงค์กันเลย Boost Light เบามากจริง (Adios sub 2 ไซส์ 9.5 UK / 10 US = 165 กรัม / 5.9 ออนซ์) ขณะเดียวกัน ความนุ่ม ความเด้ง การรับแรงกระแทก ก็ลดลงมาก ขนาดที่เทียบกับรองเท้าแนว racing อย่าง Adios Boost ก็ยังต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเลย

2) ผ้า PrimeKnit 360 - การถักแบบ 3D knitting

2) ผ้า PrimeKnit 360 – การถักแบบ 3D knitting

มองเผินๆ อาจจะคิดว่า ก็ผ้าถัก PrimeKnit ปรกติ ที่ adidas ใช้มาพักนึงแล้ว กับรองเท้ารุ่นในกลุ่ม premium สุดของแบรนด์

PrimeKnit หมายถึง การถัก และใช้ส่วนผสมของด้ายหลายชนิดกันไปแล้วแต่รุ่น แต่ละรุ่นที่เรียกว่า PrimeKnit ก็มีความแตกต่างกันออกไป

สิ่งที่เหมือนกันของ PrimeKnit แต่ละรุ่นที่ผ่านมา คือ เป็นการถัก เพื่อขึ้นรูป ผ้ารอบๆเท้าเรา (หรือเรียกว่า upper) ที่หลายคนชอบกัน บอกว่าใส่สบายเหมือนใส่ถุงเท้า (sock like fit)

3D design —> 2D pattern + strobel —> 3D Last

ถึงตรงนี้ ต้องขอย้อนกลับไปเบสิคของการออกแบบรองเท้าวิ่ง (คล้ายกับการตัดเสื้อ) ที่จะเริ่มต้นด้วยการ ออกแบบไม่ว่าจะด้วยการวาดด้วยมือ หรือ ใช้คอมพิวเตอร์ เป็น 3 มิติ

ต่อด้วยการ “แกะแบบ” 3 มิติ ให้เป็น pattern 2 มิติ (เหมือนการตัดเสื้อ) หลายๆ ชิ้น ที่เอามาประกอบกัน ด้วยการเย็บ หรือ เชื่อมด้วยความร้อน (heat bonding) จะได้ ผ้า upper

จากนั้นเอา ผ้า upper ไปเย็บต่อเข้ากับ วัสดุอีกชิ้นที่เป็นพื้นของผ้า upper พื้นนี้เรียกว่า strobel โดย strobel ทำได้จากวัสดุหลายชนิด ในรองเท้าวิ่งมักใช้เป็นผ้า (อีกผืนนึง)

(ถ้าเรา ถอดแผ่นรอง insole ออก จะเห็น พื้น strobel)

ถึงตรงนี้ ผ้า upper 2 มิติ เย็บเข้ากับ พื้น strobel แล้วเอาไปขึ้นรูป 3 มิติ กับโครงเท้า (หรือเรียกว่า last) ก่อนเอาไปประกอบกับ พื้นให้เป็นรองเท้า (โฟม) อีกที

จะเห็นได้ว่า ถึงเป็น ผ้า PrimeKnit ที่หลายคนเรียกว่า ใส่สบายเหมือนใส่ถุงเท้า (sock like fit) ไม่ใช่การขึ้นรูปแบบ 3 มิติ เป็นการถักผ้า upper เป็น 2 มิติ และเอามาเย็บกับพื้น strobel ก่อนจะขึ้นรูปเป็น 3 มิติอีกทีนึง

ที่ต่างจากการขึ้นรูป “ถุงเท้า” ที่ขึ้นรูปเป็น 3 มิติเลย ที่จะเข้ากับทรงเท้าเราได้มากกว่า

นี่แหละจุดต่างของ PrimeKnit 360 ที่ขึ้นรูปเป็นชิ้นเดียวเลย ‼️

ใครมี รองเท้า Ultra Boost 2019 ถอดแผ่นรอง insole มาดูจะเห็นได้เลยว่าเป็นการถักขึ้นรูป แบบชิ้นเดียว อย่างเห็นได้ชัด (เราสันนิษฐาน จากรอยเย็บ ว่า ยังมีแผ่น strobel อยู่แต่จะอยู่ใต้ PrimeKnit 360 อีกที) และเป็นที่มาว่า เราเห็นด้วยเลยที่ adidas เรียกเนื้อผ้าว่า “ไร้รอยต่อ” หรือ seamless ของจริง

บางคนอาจจะผ่านตา ว่า Ultra Boost 2019 ลดจำนวน ส่วนประกอบ จาก 17 ชิ้น ของ Ultra Boost เดิม มาเหลือ 4 ชิ้น (ส่วนตัวจะเรียกว่า 5 ชิ้นมากกว่า) การขึ้นรูปแบบใหม่ของ PrimeKnit 360 นี่แหละ เป็นจุดสำคัญ

adidas Ultra Boost 2019 “Refract” 005

อีกจุดนึงที่สำคัญ ของ PrimeKnit 360 คือ การขึ้นรูปด้วยผ้าที่ยืดหยุ่นต่างกันในแต่ละส่วน อันนี้น่าสนใจ

การขึ้นรูป 3 มิติแบบถุงเท้า ปรกติจะใช้เนื้อเนื้อที่มีความยืดหยุ่นเท่ากันทั่วถุงเท้า คือ ยืดหยุ่นมาก ก็ยืดหยุ่นมากทั้วถุงเท้าเลย ส่งผลให้ “ย้วย” เกินไปสำหรับจะมาใช้เป็นโครงสร้างของรองเท้าวิ่ง

adidas สร้างขึ้นรูปแบบ true sock construction โดยที่ความยืดหยุ่น (และไม่ยืดหยุ่น) ต่างกันในแต่ละโซน ตามความจำเป็นของของแต่ละโซน adidas เรียกว่า motion weave

เช่น

ช่วงหน้าเท้า ต้องการให้ยืดหยุ่นปานกลาง พอให้สบายเท้า ขณะเดียวกันยัง “รักษาทรง” สามารถเก็บให้เท้า ไม่ปลิ้น ไม่ล้น ออกนอกพื้นรองเท้า มากจนเกินไป (เราลงเท้าไม่ได้สมบูรณ์แบบ เท้าเรามีเลื่อนตอน ระหว่างวิ่ง)

ส่วนช่วงกลางเท้า ยืดหยุ่นมาก เพื่อให้สวมใส่ / ถอดรองเท้าได้ง่าย และ ระหว่างใส่รองเท้าเนื้อผ้าโอบอุ้งเท้ากระชับ (ส่วนตัวให้ความสำคัญกับความกระชับช่วงกลางเท้า/อุ้งเท้ามาก)

ช่วงกลางเท้าของรุ่นนี้ นอกจากเนื้อผ้าที่กระชับมากกว่า Ultra Boost รุ่นก่อนมาก ยังมีแผ่นผ้าพลาสติกบางๆ โอบรอบกลางเท้าอีกที

ส่วนนี้ชอบกว่า Ultra Boost รุ่นเดิมมาก

รุ่นเดิมด้วยเนื้อผ้าช่วงกลางเท้าที่ไม่ยืดหยุ่น ความกระชับจะได้จาก กรงพลาสติก (3 แถบ ตามโลโก้ของ adidas) การรัดเชือก ถ้ารัดผ่อนไป อุ้งเท้าก็ไม่กระชับ รัดแน่นไปกรงพลาสติก (มี รูร้อยเชือก 4 รู อยู่บนขอบของ กรงพลาสติก 3 แถบ) ก็จะกดหลังเท้ามากไป

การที่รุ่นใหม่ ใช่เป็นแผ่นผ้า กระจายแรงกด บนหลังเท้าได้ดีกว่า (ถ้าเลือกได้อยากเพิ่ม จำนวนรู ให้มากขึ้น ยิ่งเยอะ ยิ่งกระจายแรงกดได้ดีขึ้น เช่น Adios Boost มีรูร้อยเชือก 8 รู)

แผ่นผ้าพลาสติกที่ว่า ที่มองเผินๆ เหมือนโปร่ง เป็นรูพรุน แต่จริงๆเป็นลายของผ้าพลาสติก (ดูรูปเพิ่มเติมได้ในคอมเม้น)

ทรงของ ผ้า PrimeKnit 360 ช่วงหลังเท้า ตรงข้อเท้าด้านหน้า เป็นอีกจุดนึงที่ต่างไปจากเดิม รุ่นเดิม ผ้า upper เชิดขึ้น หลบข้อเท้าด้านหน้าได้ดี (เย็บเข้ากับผ้าอีกชิ้น ให้มีโครงสร้าง และ เชิดขึ้น) ส่วนรุ่นใหม่จุดนี้ เนื้อผ้าเข้ามาพิงกับข้อเท้าด้านหน้าตลอดเวลา (น่าจะมาจาก เป็นผ้าถักชิ้นเดียวเต็มผืน ไม่มีโครงสร้างเพิ่มเติมส่วนนี้ให้เอียงหนีข้อเท้าด้านหน้า) เนื้อผ้าก็ถือว่านุ่มอยู่ (ต่างจากบางรุ่นที่ขอบผ้าคมกว่าอย่างเห็นได้ชัด) เอาให้ชัวร์ ป้องกันการเสียดสี ก็ใส่ถุงเท้าที่สูงพ้นส่วนนี้ ก็จะได้สบายใจ

3) New 3D Heel Clip + Torsion System

3) New 3D Heel Clip + Torsion System

ส้นเท้าของรุ่นเดิม เป็นแผ่นพลาสติก (adidas เรียก heel clip) ช่วยเก็บให้ส้นเท้าไม่ปลิ้นซ้ายขวาเวลาวิ่ง และด้านหลังเว้าลง หลบไม่ให้เอ็นร้อยหวายระคาย มองจากด้านหลังจะคล้ายผีเสื้อ (adidas เรียกว่า butterfly design)

รุ่นใหม่ ทรงคล้ายเดิม ที่เปลี่ยนไปคือขึ้นรูปพลาสติกแบบใหม่ จากแผ่นพลาสติกทึบเต็มแผ่น เปลี่ยนเป็นแถบพลาสติกกึ่งโปร่งแสงเป็นขอบ แล้วเล่นสีเล่นลวดลายด้านเส้นพลาสติกอีกชั้นนึก (เข้าใจว่าเป็น 3D printing) แล้วเรียกว่า heel frame

ส่วนนี้ชอบความสวยงาม ของรุ่นใหม่ และเปิดให้ designer มีลูกเล่นสีจุดนี้เพิ่มได้อีก

ส่วนในแง่การใช้งาน น่าจะเป็นการลดน้ำหนักรวมของรองเท้าเป็นหลัก ส่วนตัวชอบ internal heel counter แบบมีทรงและเฟิร์มหน่อย อย่างใน Adios Boost มากกว่า เนื่องจากส่วนตัว ส้นเท้าเรียว ถ้าส้นเท้าไม่กระชับ ก็เสี่ยงจะส้นหลุด (heel slip)

Torsion System คือ ศัพท์ที่ adidas ใช้เรียกโครงพลาสติก ที่เสริมโครงสร้างให้โฟม โดยเฉพาะช่วงใต้อุ้งเท้า และให้โฟมให้รักษาทรงได้ โดยเฉพาะเวลาที่โฟมบิดตัว

ในรุ่นเดิมใช้ ชิ้นส่วนพลาสติก เน้นที่กลางเท้า แล้วมีแฉกออกไปแต่ก็ครอบคลุมพื้นที่ไม่มาก

ด้วยความที่ Ultra Boost 2019 ใช้พื้นทรงเดียวกันกับรุ่น Speed Factor AM4 ตอนแรกคาดว่าจะใช้ Floating Torsion Bar เหมือนกัน ส่วนตัวคิดว่า Flouting Torsion Bar ที่น่าสนใจมาก คือ ใช้ฝังไว้ในโฟม Boost เลย (มองจากด้านล่าง หรือ มองผ่าน strobel ก็เห็น set up นี้ได้ชัดเจน) ไม่ได้เอามาอยู่ใต้โฟมอีกที (อยู่ระหว่างโฟมกับพื้นยาง) เหมือนรุ่นอื่น 

Ultra Boost 2019 ปรับมาเป็นลูกผสมคล้าย Ultra Boost เดิม ช่วงกลางเท้า ส่วนหน้าเท้า ก้านยื่นออกไปมากขึ้นมาก คล้าย Energy Boost หรือ Adios Boost  ช่วยเวลาดีดเท้าไปด้านหน้า

Ultra Boost 2019 มีกำหนดการ เปิดตัวทางการทั่วโลก (global launch) เดือน กุมภาพันธ์

Ultra Boost 2019 มีกำหนดการ เปิดตัวทางการทั่วโลก (global launch) เดือน กุมภาพันธ์

โดยมี 4 สีพิเศษ limited edition ออกมาก่อน global launch ช่วงนี้ คือ

1) Laser Red
2) Dark Pixel
3) Refract
4) Oreo

สี Laser Red หรือบางคนเรียก สี OG วาวขายไปที่เมืองนอก บางประเทศ ก่อนปีใหม่ และ ขายหมดทันที เมืองไทย adidas Thailand ยืนยันแล้ว ว่ามาข้าหน่อย แต่มาแน่ จะวางขาย วันที่ 21 กุมภาพันธ์ อย่างน้อย คือ ที่เว็บไซต์ adidas Thailand

สี Dark Pixel หรือ บางคนเรียก Black Multi Colour วางขายช่วงปีใหม่ หลายประเทศ เมืองไทยก็เช่นกัน (จำนวนน้อยมาก ขายที่ adidas Brand Center @ CTW) และ ขายหมดทันที

สี Refract หรือ บางคนเรียก White Multi Colour (ในรูป) สีนี้มาจาก นึกภาพ เอาแสง ผ่าน ปริซึม (prism) พาดลงบนรองเท้าสีขาว Triple White จะเห็นการกระจายแสงผ่านปริซึม เป็นเฉดสีต่างๆ ไล่ตั้งแต่ สีแดง (มุมหักเห มากที่สุด) ไปจนถึงสีม่วง (มุมหักเห น้อยที่สุด)

รวมถึง หลังฝนตก แสงแดด หักเหผ่านละอองฝน ??

เป็นเฉดสี ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง หรือ ที่เรียกกันว่า สายรุ้ง ???

การหักเหของแสงนี้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า “Refraction”

adidas Ultra Boost 2019 “Refract” 008

สี Refract นี้ เมืองไทย ขายก่อนอเมริกาอีก เมืองไทยและบางประเทศวางขายแล้ว โดยที่อเมริกามีกำหนดวางขายเดือนหน้า (13 กุมภาพันธ์)

เมืองไทย ทั้งชายและหญิง วางขายที่

adidas Brand Center @ CTW

Ari Running Concept Store @ CTW

และ ออนไลน์ ที่เว็บไซต์ adidas Thailand

https://m.adidas.co.th/th/ultraboost-19-shoes/B37708.html

ราคา 7,300 บาท

ส่วนตัว เลือกไซส์เท่ากับ Ultra Boost เดิม ในแง่ความยาวเทียบเท่ากันได้ จะมีความกระชับช่วงกลางเท้า ที่รุ่นใหม่ กระชับมากขึ้น แต่ก็ไม่จำเป็น ถึงทำให้ต้องปรับไซส์

เรื่องไซส์ นอกจากความยังมีอีกหลายปัจจัยมาก เป็นไปได้ แนะนำให้ไปลองเองได้ จะดีที่สุด

#outrunTH

#3stripes #3stripestyle #adidas #adidasrunners #adidasrunning#adidasThailand #PrimeKnit #PrimeKnit360 #UltraBoost#UltraBoost19 #UltraBoost2019 adidas adidas Running adidas Runners

adidas Ultra Boost 2019 “Refract” 009

หมายเหตุ

ต้องไม่ลืมว่า Ultra Boost 2019 เป็นรองเท้าวิ่งกลุ่ม high cushion คือ รับแรงกระแทกได้ดี น้ำหนักเบา ไม่ใช่จุดเด่นของรองเท้าแนวนี้ ต่างจากรองเท้าแนว racing เช่น Adios Boost / Prime Boost หรือ แนว racer trainer (ใส่ซ้อมได้ ใส่แข่งได้) ที่จะเบาลง แลกกับ การรับแรงกระแทก (cushion) ที่ลดลง ขึ้นกับวัตถุประสงค์แต่ละคน

อีกสีนึงที่วางขายแล้ว คือ สี True Pink เป็นสีเฉพาะของผู้หญิงก็วางขายแล้ว และตอนนี้ ก็ยังมีที่ เว็บไซต์ adidas Thailand

https://m.adidas.co.th/th/ultraboost-19-shoes/F35283.html

รองเท้าวิ่งซีรีย์ AM4 ผลิตที่โรงงานคอนเซ็ปท์ Speed Factory คือ โรงงานเน้น “การผลิตความเร็วสูง” ที่ตอนนี้มี 2 ที่ทั่วโลก เยอรมัน และ อเมริกา (อ่านเพิ่มได้ที่ https://goo.gl/nJa6KY)

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Tags: adidasadidas Ultra Boost 2019All NewOUT RUNRefract
Previous Post

Nike Zoom VaporFly 4% Flyknit “Ekiden Pack”

Next Post

Nike Zoom VaporFly FlyPrint

OUTRUN

OUTRUN

Related Posts

พาเพื่อนสายวิ่งไปลองปั่นจักรยานที่ สนามลู่ปั่นจักรยานเจริญสุขมงคลจิต

พาเพื่อนสายวิ่งไปลองปั่นจักรยานที่ สนามลู่ปั่นจักรยานเจริญสุขมงคลจิต

24/09/2022
ปวดหลังล่าง

สายปั่นจักรยาน หรือ สายวิ่ง ฟิตหนักแล้ว ปวดหลังล่าง ทำอย่างไรดี?

16/07/2022
10 อันดับ จักรยานยอดนิยม ปี 2022 (อัปเดตล่าสุด กุมภาพันธ์)

10 อันดับ จักรยานยอดนิยม ปี 2022 (อัปเดตล่าสุด กุมภาพันธ์)

01/03/2022
10 อันดับ จักรยานยอดนิยม ปี 2022 (อัปเดตล่าสุด มกราคม)

10 อันดับ จักรยานยอดนิยม ปี 2022 (อัปเดตล่าสุด มกราคม)

26/01/2022
10 อันดับ จักรยานยอดนิยม ปี 2021 (อัปเดตล่าสุด ธันวาคม)

10 อันดับ จักรยานยอดนิยม ปี 2021 (อัปเดตล่าสุด ธันวาคม)

31/12/2021
10 อันดับ จักรยานยอดนิยม ปี 2021 (อัปเดตล่าสุด พฤศจิกายน)

10 อันดับ จักรยานยอดนิยม ปี 2021 (อัปเดตล่าสุด พฤศจิกายน)

30/11/2021
Next Post
Nike Zoom VaporFly FlyPrint 001

Nike Zoom VaporFly FlyPrint

ติดตาม และร่วมสนุกไปกับเรา

  • 15.9k Subscribers
  • 1.4k Followers

เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน

บทความน่าสนใจ

6 กระบวนท่าที่จะช่วยให้ฝึกท่า Mountain climbers ได้ในระดับเซียน

6 กระบวนท่าที่จะช่วยให้ฝึกท่า Mountain climbers ได้ในระดับเซียน

by Thip
24/12/2019

โปรแกรมฝึกวิ่งมาราธอน 16 สัปดาห์

โปรแกรมฝึกวิ่งมาราธอน 16 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่ต้องการทำเวลาภายใน 3 ชั่วโมง 45 นาที

by Thip
30/08/2023

“อาดิดาส เอาท์เล็ต” ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เปิดแล้ววันนี้ที่ เซ็นทรัล วิลเลจ

“อาดิดาส เอาท์เล็ต” ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เปิดแล้ววันนี้ที่ เซ็นทรัล วิลเลจ

by VRUN VRIDE
28/09/2019

“บ๋อม”กวีญา ไอดอลสายวิ่งสาวเหนือผู้น่าฮัก

“บ๋อม”กวีญา ไอดอลสายวิ่งสาวเหนือผู้น่าฮัก

by VRUN VRIDE
18/07/2019

8 เคล็ดลับในการวิ่งฮาล์ฟมาราธอนให้เร็วกว่าเดิม

8 เคล็ดลับในการวิ่งฮาล์ฟมาราธอนให้เร็วกว่าเดิม

by Thip
26/10/2021

สมัครบัตรเครดิต KTC REV รับส่วนลดสูงสุด 25% แบรนด์ Nike, HOKA, Saucony, REV RUNNR

KTC REV CREDIT CARD
วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี

วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี รวบรวมทุกรายการ วิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา ครอบคลุมทุกรายการแข่งขันไว้ที่นี่ พร้อมข่าวสารวงการวิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา รองเท้าวิ่ง จักรยานเสือหมอบ รถไตรกีฬา ให้เรื่องกีฬาใกล้ตัวคุณ ต้องการประชาสัมพันธ์กิจกรรม การแข่งขันวิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของท่าน

ติดต่อเรา: vrunvride@gmail.com

แท็กยอดนิยม

5K adidas ASICS cycling Exercises Fun Run Health Marathon Nike Nutrition Other Running Road Cycling run runner running Running Guide Running Plan Running Program running shoes Running Training Plan Smart watch workout การวิ่ง งานวิ่ง งานแข่งวิ่ง จักรยาน ตารางซ้อมวิ่ง ท่าออกกำลังกาย นักปั่น นักวิ่ง ปั่นจักรยาน มาราธอน รองเท้าวิ่ง ลดน้ำหนัก วิ่ง วิ่งมาราธอน สุขภาพ ออกกำลังกาย อาดิดาส แผนซ้อมวิ่ง โปรแกรมซ้อมวิ่ง โปรแกรมฝึกวิ่ง โภชนาการ ไตรกีฬา ไนกี้

ประเภทยอดนิยม

  • Cycling (172)
  • Fitness & Health (348)
  • News (781)
  • Review (126)
  • Running (842)
  • Stories (201)
  • Training (349)
  • Triathlon (109)
No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • บทความ
    • วิ่งมาราธอน
    • ปั่นจักรยาน
    • ไตรกีฬา
    • สุขภาพ
  • Review
  • News
  • Training
  • Stories
  • ติดต่อเรา

© WHERE TO RUN WHEN TO RIDE : วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
Loading...