adidas Solar Boost มาแทน Energy Boost !?
อย่างที่โพสต์ก่อนหน้านี้คุยกันไว้ ที่โพสต์ adidas Solar Boost จะมาแทน รุ่น Enerygy Boost ที่โพสต์ https://goo.gl/P9Ggo2 ว่า
“Solar” = “Energy” + “Supernova”
คือ เป็นการควบรุ่น ”กลาง” กับ ”กลางถึงสูง” ของ adidas รองเท้าวิ่ง “high cushioned trainer” มาเป็นกลุ่มเดียวกัน และแตกย่อยเป็นรุ่น
– Solar Boost
– Solar Glide
– Solar Glide ST
หรือ ให้เห็นภาพง่ายขึ้น
Solar Boost มาแทน Energy Boost
เป็น premium high cushioned neutral trainer หรือ รองเท้าที่รับแรงกระแทกสูงสุด หนา นุ่ม ทนทาน ซ้อมวิ่ง long run ความเร็วแบบ easy pace
Solar Glide มาแทน Supernova Glide
เป็น high cushioned neutral trainer หรือ รองเท้าที่รับแรงกระแทกสูงสุด หนา นุ่ม ทนทาน ซ้อมวิ่ง long run ความเร็วแบบ easy pace ที่ราคา และวัสดุที่ใช้ รองลงมาจาก Solar Boost
Solar Glide ST มาแทน Supernova Glide ST
เป็น stability version ของ Solar Glide
แน่นอนการจัดกลุ่มแบบนี้ ไม่รวมรุ่นพวก Ultra Boost ต่างๆ ที่ถือเป็น top of the line ใช้วัสดุทุกอยากที่ดีที่สุด
– – – – –
แล้วมาแทน Energy Boost จริงไหม ⁉
แบรนด์คงตั้งใจอย่างนั้น เอามาแทนในแง่ positioning เป็น premium cushioned neutral trainer รองเท้าที่รับแรงกระแทกสูงสุด หนา นุ่ม ทนทาน ซ้อม ทนๆ ใส่ได้ทุกวัน
“Major Change” ของ Energy Boost
ส่วนในมุมมองของเรา คือ ถ้ามาแทน ก็ถือเป็น major change เพราะต่างกันหลายจุดมาก
มาย้อนดู Energy Boost กันก่อนดีกว่า
Energy Boost สำหรับยุคก่อนจะมี Ultra Boost ออกมา ถือเป็น ตัวท็อปสุด สำหรับรองเท้าที่รับแรงกระแทกได้ดี (high cushion)
เป็นรุ่นที่ส่วนประกอบ ตามสเปคฟังดูดีมาก
มี Boost เยอะมากที่สุด และ มี torsion system แบบ dual หงายรองเท้าดู สังเกตก้านจะยื่นออกไปเยอะมาก ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง (ดูรูปเพิ่มได้ในคอมเม้น) ส่วนนี้ดีมาก ช่วงเสริมให้โฟมนุ่มๆอย่าง Boost
มีโครงสร้างขึ้นมาก และ บนโฟม Boost จะมีขอบทำจากโฟม EVA ให้เท้าไม่ปลิ้นออกด้านข้าง ลง Boost เต็มๆ
ใส่วิ่งจริง ต่างจากที่คาดไว้มากเลย
(เคยลองนานแล้ว จำได้ว่าไม่ชอบ ไม่เขียนรีวิวไว้ เลยจำรายละเอียดไม่ได้ พอจะเขียนรีวิว Solar Boost เลยไปหามาลองอีกที)
Upper เป็นผ้า mesh ทรงคล้าย Ultra Boost คือ เป็นแบบ bootie หรือ ลิ้นรองเท้าเป็นชิ้นเดียวกับกับรองเท้า เหมือนสวมถุงเท้า/รองเท้าใส่ในบ้าน และมีกรงพลาสติกช่วงกลางเท้า
ส่วนนี่ใช้ได้ “ชอบ” ยืดหยุ่นพอประมาณ ขณะที่ยังคงรักษาเท้าเรา ให้อยู่บนพื้นได้ดี
ยกเว้นกรงพลาสติก ที่เรา “ไม่ชอบ” ที่
– จำนวนรูรองเท้าน้อย คือ 4 รู + heel lock อีก 1 รู (ก็ยังมากว่า 4 รู แบบไม่มี heel lock ของ Ultra Boost)
– ยิ่งจำนวนรูน้อย แรงกดต่อจุด จะเยอะตาม (กระจายแรงกดได้น้อยกว่า) ทำให้มากดที่หลังเท้ามากขึ้นตาม (เทียบกับ Adios Boost ที่มี 7 รู + heel lock)
– กรงทำจากพลาสติก พอแรงกดมาก ก็ยิ่งไม่สบายหลังเท้า
ถัดมาส่วนของพื้น midsole ที่ทำจาก Boost หนาๆ เต็มแผ่น แบบมีขอบทำจากโฟมปรกติ ให้เท้าอยู่ในกรอบ (foot frame) ของพื้น Boost
ที่ ”ชอบ” คือ ลงเท้าแล้ว มั่นคงกว่า Ultra Boost ที่เท้าปลิ้นออกด้านข้างได้
ที่ ”ไม่ชอบ” คือ ได้ความ “นุ่ม เด้ง” ของพื้น Boost ไม่เต็มที่
– ขอบบังคับให้จุดลงเท้าจุดเดียว รู้สึกถึงความ “นุ่ม เด้ง” แค่ “จุด” นั้นของเท้า
– ต่างจาก Ultra Boost ที่ความ “นุ่ม เด้ง” จะรู้สึกได้ที่ “บริเวณ” ที่กว้างกว่า หรือกระทั่ง Pure Boost DPR ส่วนตัวก็ยังชอบมากกว่ารุ่น Energy Boost
ถัดมา ปัจจัยคลาสสิก ที่มากับรองเท้ากลุ่ม “หนา นุ่ม” คือ น้ำหนัก
12 ออนซ์ (340 กรัม) สำหรับ ไซส์ 10 US (9.5 UK) ถือว่า “หนัก” กลางๆ พอรับได้ เมื่อเทียบกับรองเท้ากลุ่ม high cushioned เหมือนกัน เช่น Asics Nimbus 20 ไซส์ 10 US มีน้ำหนัก 11.3 ออนซ์ (320 กรัม)
และ “หนัก” เลยเทียบกับรองเท้ากลุ่มอื่นๆ เช่น 8.7 ออนซ์ (247 กรัม) ของ adidas Pure Boost DPR ไซส์ 9.5 US ซึ่งอยู่ในกลุ่ม light weight trainer
สังเกตว่า “หนักไหม” ขึ้นอยู่ด้วยว่าเทียบกับ รุ่นอะไร อยู่หมวดหมู่รองเท้าเดียวกันไหม เหมือนรถ SUV จะให้เทียบกัน ก็ควรเทียบกับรถที่ “ประโยชน์ใช้สอย” แบบเดียวกัน
– – – – –
มาถึง Solar Boost กันบ้าง
พื้นทำจาก โฟม Boost เต็มแผ่น และหนาใกล้เคียงกับ Energy Boost และ มี torsion system แบบ dual ชนิดที่ก้านจะยื่นออกไปเยอะมาก ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ช่วงเสริมให้โฟมนุ่มๆอย่าง Boost มีโครงสร้างขึ้นมาก ส่วนนี้เหมือนกับ Energy Boost
และ บนโฟม Boost จะมีขอบทำจากโฟม EVA ให้เท้าไม่ปลิ้นออกด้านข้าง ลง Boost เต็มๆ ส่วนนี้คล้าย Energy Boost แบบทำได้ดีกว่า คือ ขอบ EVA ที่ใช้สูงกว่า และ ยืดหยุ่นมากกว่า
ตอนแรกกังวลเหมือนกันว่า ขอบที่สูงขึ้นมา จะมากดใต้เท้า จนระคายเคืองไหม โดยเฉพาะสำหรับคนเท้าแบนอย่างเรา เพราะเคยมีประสบการณ์ไม่ดีกับรองเท้าบางรุ่น ที่เป็นแบบนั้น พอวิ่งระยะเกิน 10 กม จะเริ่มระคายเคือง (เคยวิ่งฝืนวิ่งแบบนั้น ระยะ 21 กม จนพองใต้อุ้งเท้า แบบเดินไม่ได้หลังเข้าเส้นชัย)
พบว่า ส่วนนี้ของรุ่น Solar Boost ทำได้ดีเกินคาด ไม่ดันอุ้งเท้าเลย
แถมส่วนที่เป็น ข้อดีกว่า Energy Boost คือ ขอบที่ว่า พอมากับพื้นโฟม Boost ที่ป้านออก (มองจากด้านบน จะเห็นชัดมาก) ทำให้เท้าได้ความ “นุ่ม เด้ง” ได้ทั่วขึ้น ส่วนนี้รู้สึกเหมือน Pure Boost DPR แบบที่ “หนา นุ่ม” มากกว่า
(ส่วนตัวชอบ Pure Boost DPR มาก เคยรีวิวไว้ที่โพสต์ https://goo.gl/P6nPpN)
มาถึงช่วง กลางเท้า ที่เอา กรงพลาสติกออก แล้วแทนที่ด้วยแถบผ้าถัก ส่วนนี้ “ชอบ” ด้วยหลายปัจจัยเลย
– midfoot lockdown ทำได้ดีมาก กระชับ แบบไม่รู้สึกอึดอัด
– แรงกดจากการรัดเชือก กระจายได้ดี ไม่กดไปที่หลังเท้า
– ผสมวัสดุด้วยเส้นไย จากโครงการ Parley ที่รีไซเคิลพลาสติกจากมหาสมุทร ตรงนี้ได้คะแนน “ถูกใจ” เพิ่ม
มาถึงส่วนที่ “ไม่ชอบ” บ้าง
น้ำหนักรวมของรองเท้าหนัก หนักกว่าที่เราชอบ เราถนัด
และยิ่งเสริมด้วยความรู้สึก “ไม่สมดุล” ของรองเท้า คือ ส่วนบนของรองเท้า “เบา” เมื่อเทียบกับ พื้นที่ “หนา หนัก” ทำให้รู้สึกเหมือนถูกถ่วงเอาไว้ และจะรู้สึกชัดมาก เวลาวิ่ง ช่วง “ควงขา” ที่อาการ “bottom heavy” เป็นอุปสรรคพอสมควร
หลายคู่ ที่เคยทดลอง หลายคนบอก “ไม่สมดุลย์” แบบนี้เหมือนกัน เช่น Saucony Freedom ISO ที่บางคนบอกก็แบบนี้ แต่ส่วนตัวไม่คิดว่าเป็นอุปสรรคเท่าไร หรือ ถ้าเทียบกัน Solar Boost มีอาการแบบนี้ มากกว่า Freedom ISO มาก
ถัดมาคือ เนื้อผ้า upper ที่ออกแบบมาทรงมาดี ดูสวยงาม ลิ้นมีลูกเล่น เย็บติดกับด้านข้าง (gusseted) จนถึงครึ่งทาง ของช่วงกลางเท้า (ส่วนนี้ทำได้ดีกว่า Pure Boost DPR ที่มีอาการ ลิ้นรองเท้าเบี้ยว)
พอมาถึงการเลือกวัสดุที่เหมือนจะเป็น ยางสังเคราะห์ นีโอพรีน (neoprene) หรือ วัสดุที่ใช้ทำซองกันกระแทกคอมพิวเตอร์ laptop
ส่วนนี้ “ไม่ถูกใจ” การเลือกวัสดุ เพราะทำให้รองเท้าราคาป้าย 6,000 บาท “ดูไม่สมราคา”
และที่เป็นจุดที่ “ไม่ชอบ” ขนาดว่า ไม่เก็บรองเท้ารุ่นนี้ไว้ใช้ต่อ หรือ deal breaker เลย คือ วัสดุของผ้า upper “ร้อน ร้อนมาก” ขนาดใส่ในชีวิตประจำวัน ก็รู้สึกว่า “ร้อน ไม่ระบาย” อาจจะเป็นเรื่องส่วนตัวก็ได้ แต่ก็รองเท้าวิ่งรุ่นอื่นที่เลยทดลองมาก็ไม่เจอปัญหาเท่านี้ (รุ่นรองลงมาอย่าง Solar Glide ที่ทดลองเดินสั้นๆในช็อป ก็ไม่เป็นมากเท่า จากการใช้วัสดุคนละชนิดกัน)
– – – – –
ถึงตรงนี้ ถ้าจะให้อธิบาย Solar Boost สั้นๆ คงจะเป็น
รองเท้า Pure Boost DPR แบบพื้นหนาขึ้น นุ่มขึ้น + มี torsion system ประคองโครงสร้างของโฟม Boost
วิ่งเพซเรื่อยๆ ไม่เน้นความเร็ว สามารถใช้ได้ ถึงขนาด การวิ่งแบบเปลี่ยนทิศทางฉับพลัน เช่น city run ก็โอเค
รับแรงกระแทกได้ดีมาก แลกกับ น้ำหนักมีสูง (กว่ารองเท้าหมวดหมู่อื่น)
ก่อนตัดสินใจซื้อ แนะนำให้อย่างน้อย ทดสองสวมใส่เดินดูสัก 15 นาที ว่า “เท้าร้อน” ไหม
ระยะทาง วิ่งได้หมด 10 / 21 / 42 กม คู่นี้รับแรงกระแทกดีมาก
เพซ จริงๆก็ใส่ได้หมด ไม่ว่ามือใหม่ มือเก่า วิ่งช้า หรือวิ่งเร็ว
แต่สำหรับวิ่งทำความเร็ว น่าจะมีตัวเลือกอื่นอีกหลายรุ่น
เครดิต : #outrunTH
#trainracebeer #imagearist #adidas #solarboost adidas Running
ค้นหางานวิ่งทั่วไทย คลิกที่นี่