adidas Pure Boost DPR [Performance Review]
สวยอย่างเดียว ??
ใส่วิ่งได้ด้วยไหม ??
ยี่ห้อ: adidas
รุ่น: Pure Boost DPR
จากที่ทำ on foot review ไว้ ที่ https://goo.gl/Cr5Fv2 เมื่อตอนรองเท้ารุ่นนี้ ออกใหม่ๆ ตอนนี้ ได้วิ่งเพิ่มมาหลายครั้งแล้ว เลยมาแชร์กัน
สภาพทดสอบ ระยะเกิน 40 กม. รวมถึง
1) easy pace ตามด้วย tempo pace
– งาน Uniqlo Run 2017
– พื้นผิว พื้นถนน คอนกรีต
– อากาศ ชื้น ไม่มีฝน อุณหภูมิ 30 องศา ผสมกับฝนตก จนพื้นถนนเปียก
2) Intervals
– พื้นผิว สังเคราะห์ ในสนามกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– อากาศ ชื้น ไม่มีฝน อุณหภูมิ 33 องศา
หมายเหตุ: รองเท้า ซื้อใช้เอง ไม่ใช่ sample ที่ Adidas ให้มาเพื่อรีวิว
☑ เป็นรองเท้า ทั้งวิ่งและเที่ยว คู่เดียวกันที่สวยมาก ชอบ !!
ตอนนี้มี 3 สีแล้ว
“เทา Solid Grey”
“Multi Colour”
“ชมพู Noble Ink”
และยังอยากได้สี “Trace Khaki” อยู่อีก
☑ แทบไม่เหลือความเป็น Pure Boost เลย คู่นี้วิ่งได้จริง และวิ่งสนุกด้วย !!
สนุกใกล้เคียง AdiZero Adios Boost เลย
☑ ส่วนผสมที่ลงตัว
– light weight
– non-stretch knitted upper
– semi-racing last (ทรงเท้า)
– พื้น Boost ที่บางกำลังดี
– low profile
– 8 mm heel drop
☑ ทำให้ได้รองเท้าวิ่งที่เบา และคล่องตัว
☑ แถมเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับคนเริ่มปรับมาสาย minimal
☑ และยังเป็นรองเท้าใส่เล่นที่สวยมาก !!
(เทียบกันแล้ว ตอนนี้ใส่รุ่นนี้ เดินเล่น & ในชีวิตประจำวัน บ่อยกว่า Nike Flyknit Racer มาก ทั้งที่ Nike Flyknit Racer ที่เคยเป็นรองเท้าวิ่ง ที่เอามาใส่”นอกเวลาวิ่ง”มากที่สุด)
☑ สารพัดประโยชน์ เล่นฟิตเนสได้ วิ่งได้ 10 กม. 15 กม. สบายๆ หรือจะมากกว่านั้นก็ได้ (ขึ้นกับการซ้อมของแต่ละคน)
☑ ราคาโอเค รับได้ (ไหม ??)
(สีใหม่ ปรับลงมาที่ 5,290 บาท จากเดิม 5,990-6,290 บาท เทียบกับ Nike Flyknit Racer ที่ราคา 5,500 บาท)
– นอกจากรุ่นนี้ รุ่นอื่นที่เป็นรองเท้าวิ่งรุ่นยอดนิยม เช่น AdiZero Boston, Adios, Ultra Boost รุ่นไหน ต่างกันยังไง ลองดูที่ https://goo.gl/L08jxx
คำโฆษณาของ adidas : “ทุกที่เป็นเส้นทางวิ่งของคุณ” “street run”
ส่วน คำว่า DPR นี่ @adidas Thailand ทาง adidas runner บอกว่า ย่อมาจาก “Deeper” ขณะที่ บางแหล่งบอก มาจาก “Deconstructed Pure Racer”
รุ่น Pure Boost ออกมาแล้ว หลายรุ่น เช่น 1.0 2.0 และ ZG (รวมถึง ZG Prime, ZG Raw) ทั้งหมด ออกมาในหมวดผลิตภัณฑ์ running ของ แบรนด์ Adidas Performance (โลโก้ 3 ขีด สีดำ) ที่เน้นการออกกำลังกาย ของค่าย Adidas ขณะที่อีกแบรนด์ ในค่ายเดียวกันคือ adidas Originals (โลโก้ trefoil ฟ้า) ที่เน้น lifestyle (หรือใส่เล่น เน้นสวยงาม)
จะว่าไป ทั้ง Pure Boost 1.0 & 2.0 แม้จะสวย และเป็นที่นิยมมาก (โดยเฉพาะ 1.0) จากกลุ่ม sneaker head กลับเป็นเหมือน เด็กหลงทาง ไปอยู่ผิดสายเรียน (ไม่ใช่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งดีกว่า แต่มันผิดฝาผิดตัว) ไปอยู่สาย running ทั้งที่ขาดจุดสำคัญหลักอย่างหนึ่งของการเป็นรองเท้าวิ่ง คือ เท้า โยกเยก ปลิ้นไปมา หลุดจากพื้นรองเท้า เวลาเคลื่อนไหวเร็วๆ (หรือกระทั่งใส่เดินเอง) นี่มาจากผ้ายืด ย้วยๆ ที่ไม่มีโครงสร้างเพียงพอ ให้เท้ายึดติดเป็นส่วนเดียวกันกับรองเท้า (foot lock down ไม่ดี)
Pure Boost ZG ออกมา หน้าตาดู “กีฬา” มากขึ้น แต่โดยรวมก็ยังขาดความเป็น รองเท้าวิ่ง จริงจังอยู่ ตามที่เคยรีวิวไว้ ที่นี่ https://goo.gl/WGVx9K
ต้นปีนี้ 2017 ออก Pure Boost 3.0 ออกมา ก็ดีขึ้น ในแง่ การเป็นรองเท้าวิ่ง ส่วน upper ใช้ผ้าถักแบบไม่ยืด (non-stretch) และการรัดเชือกให้เท้ายึดติดเป็นส่วนเดียวกันกับรองเท้า (foot lock down) ได้ดีขึ้น แม้ว่าบางคนจะไม่ชอบลิ้น ที่เป็นแบบพับซ้อนกัน พื้นส่วน Boost ตรงหน้าเท้า ป้านออก ทำให้รู้สึกมั่นคงมากขึ้น พอเริ่มวิ่งจริงจังได้บ้าง แต่วิ่งไม่มัน วิ่งไม่สนุก
☑ Light weight
– น้ำหนัก ค่อนข้าง เบา
– 9 ออนซ์ (255 กรัม) นี่จะใกล้เคียง Boston (กลุ่ม training / racing)
– เบากว่า กลุ่ม training เช่น Ultra Boost (11 ออนซ์) และ Ultra Boost Uncaged (10 ออนซ์)
– และ เบากว่า Pure Boost 3.0 (10 ออนซ์)
– หนักกว่า กลุ่ม racing เช่น Adios Boost (8 ออนซ์)
– ส่วนตัว อะไร ต่ำกว่า 10 ออนซ์ ก็ถือว่าไม่หนักแล้ว // ต่ำกว่า 8 ออนซ์ นี่ถือว่าเบา ถึง เบามาก
☑ Non-stretch knitted upper
– เนื้อผ้า upper เป็นผ้าถัก เนื้อบาง แบบ ไม่ยืด
– ต่างจากหลายรุ่น ที่ใช้ ผ้าถัก Prime Knit ที่มีความยืดหยุ่น (เช่น Ultra Boost)
– กลายเป็นเรื่องดี ที่ผ้าไม่ยืดหยุ่นนะ เวลาวิ่ง รู้สึกได้ว่ารองเท้ามีโครงสร้างมากพอ ให้เท้าเราไม่หลุด ล้นออกไปนอกพื้นรองเท้า
– ขณะเดียวกัน ก็ไม่มีโครงสร้าง อะไรเยอะมากไป หรือใช้วัสดุที่แข็ง มาให้รู้สึกว่า “บังคับ/บีบ” เท้าเราอยู่
☑ ทรงเท้า กึ่ง racing แบบ พื้นช่วงหน้าเท้ากว้าง
– ดูเผินๆจะเหมือน หน้าเท้ากว้างมาก แต่จริงๆ หน้าเท้าปรกติ คือกว้างกว่า รองเท้าวิ่งทั่วไป ของ adidas (เช่น AdiZero Boston Boost) เล็กน้อย แต่ไม่ถึงกว้างมาก (ดูรูปในคอมเม้น เทียบกับ รองเท้ายี่ห้อ หน้ากว้างสุดๆ แบบ Altra)
– ที่ดูหน้าเท้ากว้าง มาจากพื้น Boost ช่วงหน้าเท้า ที่ป้านออกเป็นฐานแบบสี่เหลี่ยมคางหมู
– ดีไซน์แนวนี้ หลังๆ มานี้ มีให้เห็นเรื่อยๆ ของรองเท้าที่เวลาลงหน้าเท้าแล้ว จะได้มีความมั่นคงขึ้น (เช่น Hoka One One Clifton) ในกรณี Pure Boost DPR จะเห็นชัดหน่อย
☑ กลางเท้า & ส้นเท้า กระชับ (snug) แนว racing
– ช่วงกลางเท้า กับส้นเท้า นี่แอบเรียวนิดๆ กลางเท้า มองด้านนอก เหมือนไม่มีโครงสร้างอะไรเลย มีแต่ แถบสี สามขีด เพื่อความสวยงาม
– แต่จริงๆซ่อน ช่วงกลางเท้า ที่เสริมด้วย โครง inner cage ทำจากผ้าแบบไม่ยืด ตรงด้านในรองเท้า เพิ่ม mid foot lock down
– ส่วนของ heel counter ที่ส้น มีก้อนๆ ที่มีไว้ เพื่อความสวยงามล้วนๆ
– heel counter ตัวจริง ถูกซ่อนไว้ในเนื้อผ้า มีความสูงกำลังดี และ แข็งดี ทำให้ส้นเท้ากระชับ ไม่หลุดส้น (heel slip) ไม่จำเป็นต้องใช้เชือกรูสุดท้าย (runner’s loop)
☑ ลิ้น & การร้อยเชือก น่าจะทำได้ดีกว่านี้
– ลิ้นทำด้วย วัสดุที่ดูเหมือนหนังกลับ บางมาก แทบไม่มี padding เลย
– ลิ้น มีจุดยึดจุดเดียว คือ ด้านหน้า (ตรงที่ต่อกับ vamp)
– ทั้งพับย่น และ โยก ซ้ายขวาน่าดู (tongue slide)
– เสียดาย น่าจะทำเป็น gusseted tongue คือยึดด้านข้างของลิ้น (มาสักครึ่ง ความยาวของลิ้น ก็ยังดี) ยิ่งถ้าเป็น spandex นะ แจ่มเลย (ลองดูของ New Balance Fresh Foam Zante V1)
– เชือกแบบแบน แบบ non-stretching ค่อนข้างลื่น ผูกแล้วคลายตัวง่าย
– รูร้อยเชือก มี ข้างละ 4 + runner loop
– จำนวนรู ข้างละ 4 นี่น้อยไป (กว่าที่เราชอบ) มันกระจายแรงกด ได้ไม่มาก รวมกับ ลิ้นที่บาง จะกดหลังเท้าเราพอดู แต่ก็ไม่แย่มาก
– แค่ถ้าเลือกได้ อยากได้ 7 รู/ข้าง + runner loop แบบ AdiZero Adios
– แถม คู่ที่ลอง 9.5 US (9.0 UK) เชือกสั้น จน ผูก runner loop ไม่ได้ เป็นแค่ 2 ใน 3 คู่ ที่เรามี
– เรื่องลิ้นโยกซ้ายขวา (tongue slide) แก้ได้ด้วยการร้อยเชือกให้ ไขว้รู ที่ลิ้น (ดูรูปในคอมเม้น) ช่วยยึดไม่ให้ลิ้นโยกได้ดี
– ส่วนนี้ เสียดาย ที่น่าจะทำให้ midfoot lockdown ได้ดีกว่านี้
☑ Good ground feel & quick turnover
☑ ปริมาณ Boost ที่กำลังดี + มีแผ่นรอง insole –> ไม่นุ่มยวบ
– รู้กันใช่ไหม ว่า Boost เป็นชื่อ ที่อาดิดาส เรียก โฟม “ชนิดนี้” ที่เป็นเทคโนโลยี ของบริษัท BASF
– เป็นการเอาเม็ดพลาสติก มาทำให้บวมขึ้น เหมือนทำป็อปคอร์น (บางคนเรียก e-TPU หรือ expanded TPU)
– Boost = ชื่อของชนิดของโฟม “ชนิดนี้”
– คุณสมบัติของ Boost แต่ละรุ่น ก็จะไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เช่น นุ่มไม่เท่ากัน เด้งไม่เท่ากัน
– ใครเคยลองใส่ Ultra Boost และ Ultra Boost ST นี่จะเห็นชัดเลย ชัดว่า โฟม Boost ของ Ultra Boost จะเด้ง นุ่ม (บางคนว่า”จม” หรือ “ยวบ”) ขณะที่ Ultra Boost ST นุ่ม แน่น (ไม่จม) เด้งไม่มาก
– โฟม Boost ของรุ่นนี้ เอนมาทาง Ultra Boost ST มากกว่า Ultra Boost อาจจะด้วยเพราะความหนาที่กลางๆ ไม่หนามากเหมือน Ultra Boost ไม่บางมากเหมือน Adios
– ไม่ใช่ว่าไม่ดี แค่มันแตกต่างกัน คือ ถ้าอยากเลือก หนานุ่ม ก็ไปทาง Ultra Boost เลย
– โฟม midsole มีโค้งรับกับอุ้งเท้าให้ มี arch support เล็กน้อย ไม่มากไป (ไม่มี medial post)
– เท้า neutral/high arch ใส่ได้
– เท้า flat ที่ไม่ต้องการ support ใต้อุ้งเท้ามาก ใส่ได้
– ชอบที่ รุ่นนี้มีแผ่นรองมาด้วย และหนาพอประมาณ (Ultra Boost แผ่นรองบางมาก ชอบพับ และหลุด ขณะที่ Pure Boost จะไม่มีแผ่นรอง)
– แผ่นรอง ทำหน้าที่เหมือน “ฐาน” ก่อนจะไปเจอ อะไรนิ่มๆ เด้งๆ แบบ Boost
– นึกถึง เตียงที่มี pocket spring เยอะๆ แล้วเรากระโดดขึ้นไปยืน สปริงจะรับน้ำหนักเราไม่กี่ตัว ถ้ามีแผ่นรอง สปริงหลายๆ ตัวจะช่วยกันรับน้ำหนักเรา
☑ ไม่มี Torsion แต่ก็ยังวิ่งสนุกอยู่
– Pure Boost (รวมถึง รุ่นนี้ด้วย) ไม่มี torsion
– torsion จะมีในรุ่น ที่วิ่งจริงจัง อย่าง Ultra Boost / Boston / Adios Boost
– มันเหมือนเป็น “โครง/แกน” ของพื้น และ ช่วยให้ พื้น มีทรงบ้าง ไม่ทรุด
– ยิ่งบางรุ่น โครงของ torsion จะยืดไปจนถึงหน้าเท้า ทำหน้าที่เป็น เหมือน speedboard ด้วย (ใครมี Adios หรือ Energy ลองดัดรองเท้าดู จะเด้งคืนได้ดีกว่า)
– รุ่นนี้ถึงไม่มี torsion ขาดความดีด (snappy) ไปบ้าง แต่ก็ยังวิ่งสนุกอยู่
☑ Low Profile + 8 mm Heel Drop = ground feel แนว (เกือบจะ) racing
– Low Profile คือ เท้าใกล้กับพื้น (นึกถึงรถโหลด) ให้เทียบกับ Pure Boost หรือ กลุ่มวิ่งจริงจัง อย่าง Ultra Boost, AdiZero Boston
– จะมีก็แค่ AdiZero Adios ที่เป็นสาย racing ที่จะใกล้เคียงกัน
– โฟม Boost ตรงหน้าเท้า หนาพอควร + กว้าง & ป้าน ออก ชอบ เหมาะกับ คนลงหน้าเท้า และ กระทันหันบ่อยๆ (adidas ถึงบอกว่า เหมาะกับวิ่ง city run)
– ลองเปรียบเทียบความหนาของโฟมดู (หน้าเท้า/ส้นเท้า) (ส้นเท้า – หน้าเท้า = heel drop)
Pure Boost DPR = 16/24 mm
Pure Boost = 18/26 mm
Ultra Boost = 19/29 mm
Ultra Boost Uncaged = 19/29 mm
AdiZero Adios = 17/27 mm
AdiZero Boston = 19/29 mm
– ส่วนตัว ชอบ เทียบความหนาตรงหน้าเท้า ด้วยความที่วิ่งลงหน้าเท้ามากกว่า
– บางคนที่ลงส้น อาจจะอยากเทียบความหนาตรงส้น
– 8 mm heel drop คือ ส้นเท้าสูงกว่าหน้าเท้า 8 มม. ถือว่า กลางๆ เทียบกับรองเท้าทั่วไป adidas (10 มม.) Nike (10 มม.) หรือ Asics (12 มม.)
– รองเท้ากลุ่ม natural (ท่าวิ่งธรรมชาติ) จะมี heel drop อยู่ 0 – 6 มม.
– 8 mm heel drop นี่เหมาะสำหรับคนที่อยากค่อยๆ ปรับมา ท่าวิ่งธรรมชาติให้มากขึ้น (แนว minimal หรือ กระทั่ง barefoot)
– เคยเขียน เกี่ยวกับ การปรับตัว มาวิ่งรองเท้า zero / low drop ตามลิ้งค์นี้ https://goo.gl/KBCmrR
– ถึงพื้นตรงหน้าเท้าจะหนาพอประมาณ แต่ยังได้ ground feel โอเคอยู่ เสริมให้ เร่งรอบขาได้ง่ายขึ้น (quick turnover / cadence)
☑ เข้าโค้งมั่นใจ
– พื้นยางด้านนอก (outsole) ทำจาก ยางของ adidas เอง ชื่อว่า Stretch Web ซึ่งก็มาหลาย
– หน้าตาคล้าย Continental ของรุ่นพวก Boston, Ultra Boost แต่ไม่ใช่
– ความหนึบน้อยกว่า แต่ก็เพียงพอสำหรับการวิ่ง ที่ลองมาหลากหลายพื้นผิว และสภาวะอากาศ (รวมถึงวันที่ฝนตก)
– ช่วงหน้าเท้า ทำพื้นยาง เลยแยกส่วนออกมา บริเวณขอบซ้ายและขวา อาดิดาส บอกเพื่อเพื่มการยึดเกาะเวลาเลี้ยวกระทันหัน
– ส่วนนี้ ไม่ได้รู้สึกว่า เป็นยางที่หนึบขึ้น แต่ชอบ ที่เป็นชิ้นแยกออกต่างหากเลย เป็นเหมือนการเพิ่ม flex groove เวลาเข้าโค้ง
☑ เท้าเรียวลดครึ่งไซส์ เท้ากว้างใส่ตรงไซส์
– บางโพย บอกว่า ควรลด 0.5 ไซส์ (เรื่องความยาว)
– คนที่เท้าเรียว ขยับลง 0.5 ไซส์ เพื่อความกระชับแนว racing ได้
– ส่วนตัว คิดว่า ใส่ตรงไซส์ เหมาะแล้ว สำหรับ overall fit (ผมเท้าแบน และ กว้าง)
– รุ่นนี้ ตามช็อปของเยอะอยู่ แนะนำให้ไปลองดีกว่า เท้าแต่ละคนไม่เหมือนกัน & ความชอบก็ไม่เหมือนกัน (และ quality control การผลิตก็ใช่ว่าจะเป๊ะ)
– หน้าเท้า upper ไม่ตื้นมาก เพราะมี toe bumper ที่มีโครงสร้างนิดๆ จากผ้า upper ที่ถักแน่นกว่าส่วนอื่น + internal toe bumper ที่ซ่อนอยู่เนียนๆด้านในรองเท้า
– ลองเทียบกับ รองเท้าพวก NMD PK ที่ช่วงหน้าเท้าจะตื้นมาก รัดนิ้วเท้า จนเห็นเป็นทรงเล็บเลย
– แต่ก็ยังถึงว่าค่อนมาทางตื้น เมื่อเทียบกับรองเท้าวิ่งทั่วไป
☑ สาระพัดประโยชน์
– เล่นฟิตเนสได้ พื้นไม่ยวบ
– วิ่ง city run หรือ easy pace ได้ยาวๆเลย 10 กม. 15 กม. สบายๆ มากกว่านั้น ก็ได้ (ขึ้นการซ้อมแต่ละคน)
– ใส่เดินเล่น ใส่ทำงาน (แนว smart casual) เก๋ๆ
หมายเหตุ
1) ผู้ลอง เท้ากว้าง 2E/4E บาน และ แบน
2) ปรกติ ใส่รองเท้าส่วนใหญ่ ตรงไซส์ คือ 9.5 US / 27.5 cm
3) รองเท้าในรูป ซื้อมาใช้เอง ไม่ใช่ sample จาก adidas
#outrunTH #trainracebeer #imagearist #adidasthailand
เครดิต : https://www.facebook.com/outrun.TH/posts/869641503200154