เป็นเรื่องที่วิทยาลัยเวชศาสตร์การกีฬาอเมริกันให้ความสนใจมาก เป็นเรื่องของความสมดุลที่ละเอียดอ่อนระหว่าง ภาวะ Oxidative Stress (ภาวะความไม่สมดุลของการเกิดอนุมูลอิสระ) และ การป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระ
ในขณะที่มันอาจดูเหมือนข้อแตกต่างง่ายๆ ระหว่าง ภาวะ Oxidative Stress และ สารต้านอนุมูลอิสระ แต่จริงๆแล้วมันซับซ้อนกว่านั้น เพราะภาวะ Oxidative stress สามารถสร้างความเสียหายแต่ในขณะเดียวกันก็ส่งสัญญาณให้ร่างกายเริ่มทำการปรับตัว , มีความฟิตมากขึ้น และส่งเสริมการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย อาหารเสริมที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระจะสามารถช่วยต้านภาวะนี้ได้แต่ถ้าทานมากไปก็จะไปขัดขวางสิ่งที่เราควรจะได้รับจากการออกกำลังกาย แล้วแบบไหนถึงจะเรียกว่าสมดุลล่ะ และบทความจากนี้ไป คือ 5 หัวข้อจากการประชุมของวิทยาลัยเวชศาสตร์การกีฬาอเมริกัน (American College of Sports Medicine)
1.การออกกำลังกายสามารถช่วยต้านสารอนุมูลอิสระหรือไม่
ใช่. เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการมีร่างกายที่ฟิต จะทำให้สารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายสามารถตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ประโยชน์ที่ได้รับนี้จะยังคงมีอยู่หลังจากการออกกำลังกายมานานหลายปีหรือไม่ การนำเสนอของนักวิจัยจากประเทศเอกวาดอร์ และประเทศสเปน ได้ทำการเปรียบเทียบกลุ่มชายสูงอายุ 3 กลุ่ม ซึ่งมีอายุเฉลี่ยประมาณ 60 ปี คือ 1.พวกที่ไม่ออกกำลังกาย 2.พวกที่ออกกำลังกายเพื่อสันทนาการ 3.พวกที่ออกกำลังกายมานานและเก่งระดับนักกีฬามือสมัครเล่น โดยพวกกลุ่มนักกีฬา (กลุ่มที่ 3) จะมีระดับ glutathione peroxidase (หน่วยวัดระดับการตอบสนองของสารต้านอนุมูลอิสระ) ที่สูงกว่า และมีระดับ malondialdehyde (หน่วยวัด Oxidative Stress) ที่ต่ำกว่า
2.การออกกำลังกายประเภทไหนดีที่สุด?
มีการวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์เทิร์นแอริโซนา ได้ทำการให้อาสาสมัครได้ฝึกปั่นจักรยานสองรูปแบบ คือ 70% ของ VO2max เป็นเวลา 30 นาที และแบบที่สองคือ ปั่นจักรยานแบบสุดแรง 1 นาที ทั้งหมด 7 รอบ โดยในแต่ละรอบจะตามด้วยการปั่นแบบเบาๆ 2 นาทีเพื่อฟื้นตัว (มีการวอร์มอัพ 9 นาที เพื่อทำเวลาให้เป็น 30 นาทีเท่ากัน และมีปริมาณการใช้ออกซิเจนเท่ากัน) การออกกำลังกายแบบ interval จะทำให้หน่วย antioxidant 2 ชนิดสูงขึ้น (superoxide dismutase และ glutathione reductase) โดยไม่ทำให้หน่วยวัดภาวะ oxidative stress (F2-isoprostanes) เพิ่มขึ้น ทำให้เห็นได้ว่าการออกกำลังกายแบบ interval เป็นทางเลือกที่ดีในการเปิดสวิตช์ให้สารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายทำงาน
3.การที่ภาวะ Oxidative Stress เพิ่มขึ้นนั้นไม่ดีใช่หรือไม่
คำตอบ คือ ใช่ และคำถามต่อไปคือ การวัดค่า oxidative stress สามารถใช้ในการประเมินความเสียหายได้หรือไม่มีการวิจัยจากมหาวิทยาลัย Quinnipiac ซึ่งมีการประเมินนักวิ่งหญิงในทุกสามสัปดาห์และเก็บข้อมูลในหลายเรื่อง , มองหาความเชื่อมโยงที่จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพ (และการลดประสิทธิภาพ) ตลอดทั้งฤดูกาล และก็พบความสัมพันธ์กันอย่างหนึ่ง จากวิธีการวัดค่า oxidative stress ที่เรียกว่า d-ROMs test ซึ่งปริมาณของอนุพันธ์ออกซิเจนที่ว่องไว (reactive oxygen) ใช้เป็นตัวทำนายถึงอาการบาดเจ็บที่กำลังจะเกิดขึ้นได้
ในการวิจัยแบบนี้ซึ่งมีการวัดค่าสิ่งต่างๆมากมายและมองหาการเชื่อมต่อของตัวแปรผลลัพธ์ที่แตกต่างกันมากมาย มันยากที่จะรู้ว่า สิ่งที่ค้นพบนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหรือแค่เรื่องบังเอิญ แต่ว่ามันก็ยังสมเหตุสมผลว่าการมีภาวะ oxidative stress ที่สูงสามารถเป็นตัวชี้วัดว่ามีการซ้อมออกกำลังกายที่มากเกินไป และมีโอกาสที่จะได้รับบาดเจ็บสูงขึ้น
4.เราสามารถควบคุมความสมดุลระหว่างภาวะ oxidative stressและ สารต้านอนุมูลอิสระได้หรือไม่
นักวิจัยของวิทยาลัย Skidmore ได้ทำการทดลองที่น่าสนใจขึ้นมา โดยให้อาสาสมัครทำการวิ่ง 5k ถึงสามรอบ รอบแรกได้รับยาหลอก รอบที่สองได้รับ เครื่องดื่มค็อกเทลสารต้านอนุมุลอิสระ (มีวิตามิน C , E และกรดอัลฟาไลโปอิค) เพื่อเปลี่ยนสมดุลให้ร่างกายมีสารต้านอนุมุลอิสระ ส่วนการวิ่งรอบที่สาม ให้วิ่งโดยได้รับออกซิเจน 100% เพื่อเปลี่ยนสมดุลให้ร่างกายมีภาวะ oxidative stress การวิ่งรอบที่หนึ่งและรอบที่สามให้ผลลัพธ์ที่ไม่ต่างกัน ส่วนการวิ่งรอบที่สองจะทำให้วิ่ง 5k ได้ช้าลง 3.1% ซึ่งผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการหายใจถี่ , ประสิทธิภาพในการวิ่ง และคุณภาพการรับรู้
5.สารต้านอนุมูลอิสระรบกวนการตอบสนองในการออกกำลังกายหรือไม่
Jeff Coombes นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ในประเทศออสเตรเลีย ได้ถูกเชิญให้มาพูดในหัวข้อ “อาหารเสริมที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระจะเป็นตัวส่งเสริมหรือขัดขวางการกำเนิดของกล้ามเนื้อโครงร่างของไมโตคอนเดรียกันแน่?” เพราะไมโตคอนเดรีย คือ สิ่งที่เพิ่มขึ้นจะช่วยเพิ่มความอึดในการออกกำลังกาย หัวข้อนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ
คำถามแรกเลย คือ ช่วยส่งเสริมหรือไม่ เขาก็ได้ให้คำตอบมาว่ามันไม่เคยมีหลักฐานว่าสารต้านอนุมูลอิสระช่วยส่งเสริมการกำเนิดของไมโตคอนเดรีย ส่วนคำถามที่สอง คือ มันไปขัดขวางการกำเนิดของไมโตคอนเดรียหรือไม่ เขาก็ได้กล่าวเน้นแนวคิดเกี่ยวกับฮอร์โมนว่า เราต้องการให้เกิดภาวะ oxidative stress นิดหน่อย เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายปรับตัว แต่มันมีความสมดุลที่ละเอียดอ่อนระหว่างน้อยเกินไป และมากเกินไป นั่นหมายความว่าการระงับภาวะ oxidative stress ด้วยสารต้านอนุมุลอิสระจะทำให้เกิดผลกลับตาลปัตรได้ง่าย แล้วหลักฐานช่วยบอกอะไรเราบ้าง? Jeff Coombes ได้กล่าวว่ามีผลการวิจัย 3 ตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าสารต้านอนุมูลอิสระไม่ได้ช่วยเพิ่มการกำเนิดของไมโตคอนเดรีย แต่มี 6 งานวิจัยที่แสดงผลลัพธ์ทางด้านลบ “ซึ่งยังไม่แน่ชัด” แต่ก็สามารถใช้เป็นแนวทางได้ Jeff Coombes ยังได้เน้นถึงหลักฐานที่แข็งแกร่งมากๆ ว่าการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเป็นประจำ สามารถส่งผลด้านลบต่อสุขภาพร่างกายได้ เช่น เพิ่มโอกาสเป็นโรคหัวใจล้มเหลว , มะเร็งต่อมลูกหมาก และการเสียชีวิตทุกสาเหตุในกลุ่มคนบางกลุ่ม
แหล่งที่มา :
ไม่พลาดทุกกิจกรรม วิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา
กด #Seefirst และ #Following กันไว้ ที่
facebook.com/wheretorunwhentoride
ค้นหางานแข่งวิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา ทั่วไทย
ง่าย สะดวก พร้อมบทความสาระดีๆ ที่
www.vrunvride.com
อัพเดท Running, Cycling,
Triathlon, Gadget, Food ได้ที่
instragram.com/vrunvride
มาซ้อม วิ่ง ปั่น ว่าย ให้สนุกกันที่
strava.com/clubs/vrunvride
[AD]
บัตรเครดิต KTC ที่สุดของคอกีฬาตัวจริง
รับส่วนลดแบรนด์กีฬาชั้นนำสูงสุด 25% Nike, ASICS, Under Armour สนใจสมัครบัตร
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming