แผนซ้อมวิ่งฮาล์ฟมาราธอน 12 สัปดาห์ (Half Marathon/12 Weeks)
Andy Vernon นักกีฬาโอลิมปิก ได้เขียนแผนการซ้อมวิ่งฮาล์ฟมาราธอน 12 สัปดาห์ขึ้นมา แผนซ้อมถูกแบ่งออกเป็น 4 ช่วง มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มทักษะรอบด้าน และแผนนี้สามารถใช้ได้แม้แต่กับคนที่ไม่ค่อยได้วิ่ง
แต่ก่อนที่จะไปอ่านแผนการซ้อม ขอให้เพื่อนๆอ่านกฎที่คุณแอนดี้เค้าเขียนเอาไว้ก่อน
กฎการซ้อม
- ทุกวันที่แผนการซ้อมบอกว่าให้ฝึกวิ่ง (โดยไม่ได้ระบุว่าต้องวิ่งเข้มข้นระดับไหน) ให้เราวิ่งแบบ Easy และต้องวิ่งในระดับที่เรายังสามารถพูดคุยกับคนอื่นในขณะวิ่งได้ ซึ่งการวิ่งแบบนี้จะเป็นการวิ่งเพื่อสะสมระยะทาง มันจะช่วยเพิ่มความอึดและความแกร่งรวมไปถึงเป็นการฟื้นตัวหลังวันที่ซ้อมหนัก
- ต้องวอร์มอัพ (warm up) และคูลดาวน์ (cool down) ทุกครั้ง!
- ต้องใช้เพซที่แตกต่างกันระหว่างการวอร์มอัพและคูลดาวน์ , การวิ่งแบบ Easy และการวิ่งอื่นๆที่เร็วกว่านี้ ถ้าเราวิ่ง threshold ไม่ไหว แสดงว่าที่ผ่านมาเราวิ่งแบบ Easy เร็วเกินไป การกำหนดความต่างของเพซเป็นเรื่องที่สำคัญ เพซสำหรับวิ่ง 1 นาที จะต้องเร็วกว่าเพซสำหรับใช้ซ้อมวิ่ง 5 นาที ถ้าหากเราซ้อมทุกอย่างโดยใช้เพซเดียวกันหมด ก็ยากที่จะเห็นความเร็วที่เพิ่มขึ้นจากการซ้อม
- คำย่อ TP หมายถึงให้วิ่งในความเข้มข้นระดับ Threshold แผนการฝึกนี้ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านแอโรบิคและเพิ่มความทนทานต่อกรดแลคตริก ถ้าเจอคำว่า TP ก็แปลว่าระดับความเข้มข้นจะอยู่ที่ 80-85% จากประสิทธิภาพเต็มร้อยของเรา ในระหว่างที่ฝึกเข้มข้นระดับนี้เราจะสามารถพูดได้แค่ครั้งละ 3-4 คำเท่านั้น
- หากจำเป็นต้องพักมากกว่า 1 วัน ก็ควรพัก / ถ้าจำเป็นต้องวิ่งให้น้อยลง ก็ควรทำ / ถ้าต้องการเพิ่มเวลาวิ่ง ก็อย่าให้มันเยอะจนเกินเหตุ เพราะแผนการซ้อมนี้เน้นไปที่การเพิ่มระยะทางและระดับความเข้มข้นอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว
- ขอให้เพื่อนๆนักวิ่งทุกคนโชคดี สามารถไปถึงเส้นชัยและมีความสุขไปกับการวิ่ง
เคล็ดลับ
ถ้าไม่แน่ใจว่าตัวเองวิ่งที่ความเข้มข้นระดับไหนก็ให้ใช้วิธีนี้
1) วิ่งให้มันเร็วกว่าตอนที่วิ่ง Easy
2) วิ่งให้ช้ากว่าตอนที่เราเร่งความเร็วสูงสุด
การซ้อมช่วงที่ 1 (PHASE 1) ช่วงเริ่มต้น
ขอเตือนไว้ก่อนว่าการวิ่งเป็นกีฬาที่สร้างความตึงเครียดให้กับกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ ดังนั้นการซ้อมที่หนักมากเกินไป อาจจะทำให้เราเริ่มมีอาการบาดเจ็บในช่วงเริ่มต้นการแข่งมาราธอนจนอาจทำให้ต้องหยุดวิ่งได้ เราต้องค่อยๆฝึกร่างกายอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ร่างกายเริ่มที่จะมีความทนต่อความตึงเครียด โชคดีที่ร่างกายมนุษย์มีความสามารถในการปรับตัวสูง หากทำตามโปรแกรมการฝึกอย่างเคร่งครัด เราก็จะมีความพร้อมในการฝึกช่วงต่อไป
การซ้อมช่วงที่ 2 (PHASE 2) ช่วงสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพด้านแอโรบิค
ประสิทธิภาพด้านแอโรบิค คือความสามารถที่ร่างกายจะสามารถนำออกซิเจนไปใช้ในระหว่างการออกกำลังกายภายในเวลา 1 นาที ยิ่งร่างกายสามารถรับออกซิเจนและส่งไปยังกล้ามเนื้อได้มากเท่าไหร่ กล้ามเนื้อยิ่งทำงานได้นานขึ้น ก่อนที่เราจะรู้สึกเมื่อยล้านั่นเอง การฝึกในช่วงที่สองจะมีการวิ่งที่มีระยะทางมากกว่าเดิม และมีการฝึก TP (threshold) 2 ครั้งต่อสัปดาห์
การซ้อมช่วงที่ 3 (PHASE 3) ฝึกวิ่งฮาล์ฟมาราธอน
ช่วงนี้เราเน้นฝึกวิ่ง Steady (ใช้ความเร็วคงที่) และวิ่งระยะไกล โดยเราจะลงแข่งวิ่งฮาร์ฟมาราธอนในตอนสัปดาห์ที่ 12 พอดี ดังนั้นการฝึกช่วงที่ 3 จะเป็นช่วงที่ยากที่สุด ถ้าหากมีอาการบาดเจ็บให้หยุดการฝึกในวันนั้นไปเลย และถึงแม้ว่าจะหยุดพัก 1 สัปดาห์เต็ม ก็จะไม่ส่งผลเสียอะไรต่อการฝึกทั้งหมด 12 สัปดาห์ แต่ก็ควรพยายามฝึกชดเชยบ้าง
การซ้อมช่วงที่ 4 (PHASE 4) ช่วงสุดท้าย
จะเป็นช่วงที่ลดการฝึกลง เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวและพร้อมเข้ารับการแข่งขัน
“ขอให้เพื่อนๆนักวิ่งทุกคนโชคดี สามารถไปถึงเส้นชัยและมีความสุขไปกับการวิ่ง”
Andy Vernon นักกีฬาโอลิมปิก
ที่มา :
ไม่พลาดทุกกิจกรรม วิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา
กด #Seefirst และ #Following กันไว้ ที่
?facebook.com/wheretorunwhentoride
ค้นหางานแข่งวิ่ง ปั่นจักรยาน ไตรกีฬา ทั่วไทย
ง่าย สะดวก พร้อมบทความสาระดีๆ ที่
?www.vrunvride.com
อัพเดท Running, Cycling,
Triathlon, Gadget, Food ได้ที่
?instragram.com/vrunvride
มาซ้อม วิ่ง ?♂ปั่น ?♂ว่าย ?♂ให้สนุกกันที่
?strava.com/clubs/vrunvride
[AD]
?บัตรเครดิต KTC ตัวจริงเรื่องกีฬา
แลกรับส่วนลดเพิ่มสูงสุด 15% พร้อมแบ่งชำระ 0%
นานสูงสุด 10 เดือน ที่ Supersports ทุกสาขา
?
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming